ใครจ้องล้วงข้อมูลเราอยู่บ้างในโลกออนไลน์ กับ 5 วิธีป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์

เราใช้เครื่องมือออนไลน์กับทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่งาน ธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงการดูแลสุขภาพ นั่นก็หมายความว่าข้อมูลมากมายเสี่ยงที่จะถูกอาชญากรไซเบอร์ขโมยเอาข้อมูลระบุตัวตนไปโดยใช้ “มัลแวร์เรียกค่าไถ่” เพื่อเอาข้อมูลเป็นตัวประกัน หรือกวาดเอาเงินจากบัญชีธนาคารคุณไปจนเกลี้ยง

สหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณไปกว่าหนึ่งแสนล้านเหรียญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลจากอาชญากรที่จ้องจะขโมยข้อมูล ประธานาธิบดีโดนัลด์ เจ. ทรัมป์กล่าวว่า ประเด็นนี้เป็น “ปัญหาใหญ่” ในขณะที่เข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ American Technology Council เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยคณะกรรมการดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำให้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยของรัฐบาลมีความทันสมัยขึ้นและปกป้องเทคโนโลยีนั้นจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญต่อภาครัฐเพียงเท่านั้น เทคนิคทั้งห้าข้อต่อไปนี้จะช่วยปกป้องคุณบนโลกออนไลน์ได้

Illustration of hands using smartphone1. คอยระวังอยู่เสมอเมื่อใช้อีเมล

อย่าคลิกลิงก์ในเนื้อความอีเมล เว้นแต่ว่าคุณจะรู้จักผู้ที่ส่งอีเมลนั้นมา บรรดาแฮกเกอร์พยายามหลอกล่อให้คนคลิกลิงก์ปลอมที่ดูสมจริง แต่แท้ที่จริงแล้ว ลิงก์เหล่านั้นจะดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือเชื่อมไปยังหน้าเว็บเพจที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคล ยกตัวอย่างเช่น แฮกเกอร์อาจจะส่งอีเมลมาโดยทำให้ดูเหมือนว่าอีเมลนั้นส่งมาจากร้านค้าโปรดของคุณ เมื่อได้อีเมลลักษณะนี้ คุณไม่ควรคลิกเข้าไปในลิงก์นั้น แต่ให้เข้าไปดูข้อมูลที่หน้าโฮมเพจของร้านค้านั้นโดยตรงโดยเปิดเบราว์เซอร์หรือแท็บหน้าใหม่ขึ้นมา

ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ คุณก็ไม่ควรเปิดไฟล์แนบในอีเมลใดที่ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จักเช่นกัน และก็ไม่ควรตั้งให้มีการดาวน์โหลดไฟล์แนบอัตโนมัติในอีเมลด้วย

Illustration of person, lock and password symbols2. ตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะ

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้โปรแกรมจัดการหัสผ่าน (password manager) อย่างเช่น โปรแกรม LastPass 1Password หรือ Keeper โปรแกรมเหล่านี้จะตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อนสำหรับเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปดูและช่วยให้คุณจัดการรหัสผ่านเหล่านี้ได้ง่าย

แต่ถ้าคุณไม่ได้ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน คุณควรตั้งรหัสผ่านโดยให้มีทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์รวมอยู่ด้วย และไม่ควรใช้รหัสผ่านเดิมสำหรับการเข้าใช้เว็บไซต์มากกว่าหนึ่งเว็บไซต์

Illustration of woman using smartphone3. ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

โดยปกติแล้ว บริษัทและหน่วยงานภาครัฐจะไม่ถามข้อมูลรหัสผ่านของคุณ เพราะฉะนั้นอย่าให้รหัสผ่านทางอีเมลหรือทางโทรศัพท์เป็นอันขาด ถ้าคุณได้รับอีเมลที่มีลิงก์เพื่อลงชื่อเข้าใช้ อย่าคลิกลิงก์ในอีเมลนั้น แต่ให้เข้าเว็บไซต์เองจากเบราว์เซอร์และลงชื่อเข้าใช้จากหน้าเว็บไซต์นั้น

หากอยู่ดี ๆ มีบริษัทติดต่อคุณและขอให้คุณให้ข้อมูลส่วนตัว อย่าหลวมตัวให้ข้อมูลเป็นอันขาด แต่ให้วางสายไปและติดต่อบริษัทนั้นทางโทรศัพท์หรือเว็บไซต์โดยตรงเพื่อยืนยันว่าทางบริษัทมีการขอข้อมูลมาจริงหรือไม่

Illustration of laptop and tablet4. ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ

อัพเดทซอฟท์แวร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอทั้งในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ต และถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้การยืนยันตัวตนสองชั้นหรือเรียกว่า two-factor authentication วิธีนี้เป็นการลงชื่อเข้าใช้ที่ต้องการมากกว่าการใส่รหัสผ่านและชื่อผู้เข้าใช้ แต่จะต้องใส่ข้อมูลที่มีคุณคนเดียวเท่านั้นที่รู้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่จะพิสูจน์ว่าคนที่พยายามลงชื่อเข้าใช้งานเป็นคุณจริง ๆ ไม่ใช่คนอื่นที่พยายามสวมรอยเป็นคุณนั่นเอง

Illustration of hand holding smartphone with warning symbol5. คอยสังเกตความผิดปกติอยู่เสมอ

หากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตคุณมีบริการส่งข้อความหรืออีเมลแจ้งเตือน ก็ให้คุณเปิดใช้บริการนั้น เพราะถ้าหากบัญชีของคุณถูกคนอื่นสวมรอยใช้ อย่างน้อยคุณก็จะได้รับการแจ้งเตือนทันที แต่หากคุณไม่สามารถใช้บริการข้อความแจ้งเตือน คุณควรตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในบัญชีอยู่เสมอว่ามีค่าใช้จ่ายใดที่ไม่ใช่ของคุณหรือไม่

Graphics by Julia Maruszewski/ Doug Thompson/ State Department