เฉลิมฉลองประวัติศาสตร์เสรีภาพทางศาสนาร่วมกัน

เฉลิมฉลองประวัติศาสตร์เสรีภาพทางศาสนาร่วมกัน โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ในฐานะอเมริกันชนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ต่างแดนและสร้างครอบครัวในต่างประเทศ ผมมีโอกาสมองเห็นประเทศของผมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและซาบซึ้งในเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญของเรา หนึ่งในเสรีภาพที่สำคัญที่สุดเหล่านั้นคือเสรีภาพในการนับถือศาสนา และเฉกเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านานในการเคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนา ในปีนี้ ไทยเฉลิมฉลองครบรอบ 142 ปีแห่งการประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2421 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดเห็นว่าศาสนาใดจะถูกต้อง ก็ถือตามชอบใจของผู้นั้น ผิดถูกก็อยู่แก่ผู้ที่ถือศาสนานั้นเอง” แนวคิดที่ทรงพลังนี้ได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับของไทยนับแต่นั้นมา ด้วยตระหนักถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาตร์ที่สำคัญยิ่งนี้ ผมจะเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาในวันนี้เพื่อเป็นเวทีให้ผู้นำประมาณ 15 คนจากสถาบันศาสนา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาร่วมกันสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับความเคารพสิทธิในเสรีภาพทางศาสนาและความเชื่อที่ไทยมีมายาวนาน ตลอดจนศึกษาโอกาสและความท้าทายในการยกระดับความปรองดองระหว่างความเชื่อในปัจจุบัน การประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาเกิดขึ้นไม่นานหลังจากผู้เผยแผ่ศาสนาชาวอเมริกันกลุ่มแรกเดินทางมาถึงไทยในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เหล่าบุรุษและสตรีผู้มีศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้านี้ได้ทำงานร่วมกับพี่น้องชาวไทยเพื่อจัดตั้งสถาบันทางการแพทย์ขึ้นทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจรักษาผู้ป่วยหลังทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด คนกลุ่มนี้ยังได้สร้างโรงเรียน เช่น โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนสตรีแห่งแรก ๆ ทางภาคเหนือของไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยพายัพ ซึ่งได้ฝึกอบรมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ นักกฎหมาย และนักบวชชาวไทย บุรุษและสตรีเหล่านี้มีศรัทธาที่ต่างกัน หากแต่มารวมตัวกันด้วยความเคารพในเสรีภาพทางศาสนาและเจตนารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียวในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน บรรพบุรุษของคนกลุ่มนี้ยังช่วยทำให้ความมุ่งมั่นในการผดุงไว้ซึ่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาของสหรัฐฯ ... อ่านเพิ่มเติม»

เสริมสร้างความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ

ผมทำงานในโลกธุรกิจมากว่า 20 ปี จึงเข้าใจดีถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการที่คู่ค้าที่ไว้ใจได้มาพบเจอกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าคุณจะกำลังเจรจาข้อตกลงทางธุรกิจที่มีผลประโยชน์สูงหรือกำลังสร้างโครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาค ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่คุณเลือกที่จะทำงานด้วย จากรากฐานความสัมพันธ์กว่า 2 ศตวรรษ สัปดาห์นี้ไทยและสหรัฐอเมริกาได้ก้าวไปอีกขั้นในการทำงานร่วมกันใกล้ชิดกว่าเดิม ซึ่งยกระดับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและเปี่ยมพลวัตของเรา เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีดอน ปรมัตถ์วินัย และเจ้าหน้าที่จากอีก 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เปิดตัวความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) ครั้งใหม่ โดยต่อยอดจากความร่วมมือหลายทศวรรษ รวมถึงเงินช่วยเหลือ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐที่อเมริกามอบให้ภายใต้ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (LMI) มากว่า 11 ปี ในการยกระดับการดำเนินงานของเราครั้งนี้ สหรัฐฯ จะส่งเสริมการเชื่อมโยงและการพัฒนาในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ด้วยโครงการริเริ่มใหม่ ๆ มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ การทำงานร่วมกันภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวจะขยายขอบเขตครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ ความมั่นคง ธรรมาภิบาล สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเหมาะสมกับการรับมือปัญหาที่เราเผชิญร่วมกันในภูมิภาค ตั้งแต่ภัยแล้งรุนแรงจนถึงการค้ายาเสพติด ไทยมีโอกาสดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในการเก็บเกี่ยวผลของการยกระดับความร่วมมือนี้ ประเทศของเราทั้งสองได้หล่อเลี้ยงมิตรภาพที่มีความเชื่อใจ โปร่งใส และผลประโยชน์ร่วมกันมากว่า 200 ปี ไทยในฐานะศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาค ... อ่านเพิ่มเติม»

ทูตสหรัฐฯ ชื่นชมความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายหลังเยือนสามเหลี่ยมทองคำ

จากกลางอากาศ ผมเห็นแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ไหลคดเคี้ยวผ่านป่าทึบ สีน้ำตาลอ่อนของสายน้ำตัดกับแมกไม้เขียวขจีที่ปกคลุมแนวเขาซึ่งทอดยาวเกือบถึงริมน้ำ แม้จะบินอยู่บนเฮลิคอปเตอร์ห่างจากพื้นดินขึ้นไปหลายร้อยฟุต แต่ผมก็ยังอดรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับแม่น้ำโขงไม่ได้ โชคดีที่ได้มาเห็นภาพแบบนี้ในช่วงฝนชุกที่สุด แม้ระดับน้ำจะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงนี้ของปี แต่ก็ได้ฟื้นตัวจากสถานการณ์ในเดือนก่อน ๆ ที่แม่น้ำสายนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมากจนแทบจะจำไม่ได้ เพราะภัยแล้งที่เกิดจากการควบคุมบรรดาเขื่อนต้นน้ำ สัปดาห์นี้ ผมได้รับเกียรติให้เดินทางไปยังสามเหลี่ยมทองคำร่วมกับพลตำรวจโท ชินภัทร สารสิน ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนหุ้นส่วนใกล้ชิดของเราจากหน่วยงานรัฐบาลไทย เพื่อเยี่ยมชมฐานปฏิบัติการดอยช้างมูบและจุดชมวิวต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผมเห็นเมียนมาและลาวจากอีกฟากของแม่น้ำได้ น่าเสียดายที่ความสวยงามของภูมิภาคนี้มักถูกบดบังด้วยข่าวและรายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สัตว์ป่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาเสพติด แต่สิ่งที่คนได้ยินน้อยกว่าข่าวสารเหล่านั้นคือความร่วมมือที่ดีเยี่ยมระหว่างหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ และไทย รวมทั้งความคืบหน้าในการคุ้มครองพลเมืองของเราทั้งสองประเทศ แม้จะมีความท้าทายดังกล่าว แต่สหรัฐฯ และไทยก็ได้ร่วมกันต่อต้านองค์กรอาชญากรรมผ่านการสืบสวนสอบสวนและปฏิบัติการด้านการบังคับใช้กฎหมาย ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ไทยได้ตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนมากกว่าประเทศใดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปริมาณที่ยึดได้ในปี 2561 และ 2562 คือ 116 ตัน นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ยังรายงานว่า ปริมาณเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด (ยาบ้า) ที่ไทยยึดได้ยังสูงขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงเวลา 5 ปี นั่นคือ จาก 113 ล้านเม็ดในปี 2557 เป็น ... อ่านเพิ่มเติม»

การธำรงไว้ซึ่งสิทธิอธิปไตยของรัฐทั้งมวล

การธำรงไว้ซึ่งสิทธิอธิปไตยของรัฐทั้งมวล โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ขณะโลกกำลังมุ่งเน้นความสนใจไปที่การต่อสู้กับโรคโควิด-19 สาธารณรัฐประชาชนจีนกลับฉวยโอกาสเมื่อชาติอื่น ๆ ไม่ทันระวัง ยกระดับการกระทำรุกรานในทะเลจีนใต้ ยุทธวิธีการบีบบังคับ บ่อนทำลาย และให้ข้อมูลบิดเบือนในทะเลจีนใต้ทำให้เกิดคำถามว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนอาจใช้วิธีการดังกล่าวในส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างไรบ้าง เมื่อวันที่ 1 เมษายน ทางการจีนประกาศดำเนินโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า “Blue Sea 2020” ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล โดยระบุว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อ “ยกระดับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล” แต่เหตุการณ์ในวันต่อมาได้สะท้อนถึงเป้าหมายที่แท้จริงเมื่อเรือของจีนจมเรือประมงเวียดนาม ทางการจีนได้เสริมกำลังของฐานทัพหลายแห่งรอบหมู่เกาะสแปรตลี (Spratly Islands) ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท ด้วยการส่งเครื่องบินเข้าไปประจำการเพิ่ม และจัดตั้ง “สถานีวิจัย” หลายแห่ง ตลอดจนส่งเรือสำรวจแหล่งพลังงานและกองเรือรบติดอาวุธลงพื้นที่เพื่อข่มขวัญผู้ประกอบการน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งมาเลเซีย และยั่วยุอินโดนีเซียโดยการส่งเรือประมงและเรือคุ้มกันจำนวนหลายร้อยลำเข้าไปยังน่านน้ำรอบเกาะนาทูนา (Natuna Island) ของอินโดนีเซีย ทางการจีนเตือนว่าผู้ใดก็ตามที่ต่อต้านคำกล่าวอ้างอธิปไตยอันน่าขันของจีนเหนือทะเลจีนใต้นั้น “จะต้องประสบกับความล้มเหลว” การกระทำเหล่านี้เข้ากับแบบแผนอย่างหนึ่ง นั่นคือ เมื่อจีนเข้าไปที่ใด เราก็คาดได้เลยว่าจะได้เห็นประเทศนี้ไม่เคารพกฎ สร้างชุดความจริงของตนเองขึ้นมา และไม่รักษาสัญญาที่เคยให้ไว้มากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวไทยเองก็เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจนจากภัยแล้งที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ในแม่น้ำโขง ซึ่งขัดกับคำมั่นที่จีนเคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะแบ่งปันทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ให้กับประเทศปลายน้ำ แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เรากลับเห็นหลักฐานว่าการสร้างเขื่อนจำนวนมากที่ต้นน้ำของจีนทำให้บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำสามารถควบคุมการไหลของน้ำมายังปลายน้ำเพื่อผลประโยชน์ที่มากขึ้น ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันลดลงต่ำสุดในรอบทศวรรษ สัมพันธ์กับการตัดสินใจของจีนในการกักน้ำไว้ที่ต้นน้ำ รัฐบาลไทยได้คัดค้านแผนการระเบิดแก่งและขุดลอกแม่น้ำโขงของจีน ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกต้องยิ่ง ... อ่านเพิ่มเติม»

ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน

ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “เราจะรู้ว่าใครเปลือยกายว่ายน้ำก็ต่อเมื่อน้ำลงแล้วเท่านั้น” โชคร้ายที่ต้นปี 2563 เป็นช่วงน้ำลงสำหรับบรรดาบริษัทระดับโลกที่ถูกถาโถมด้วยการล็อกดาวน์เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่จีนและลุกลามไปสู่การปิดหรือจำกัดการดำเนินกิจการของบริษัทในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก วิกฤตการณ์นี้เผยให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทานในบริษัทระดับโลกจำนวนมาก อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์มักกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในโลกธุรกิจ หลายกิจการในสหรัฐอเมริกา ไทย และทั่วโลกกำลังมองไปยังอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น และวางแผนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจและกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมหลังช่วงวิกฤตนี้ผ่านพ้นไป ส่วนสำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ บริษัทต่าง ๆ กำลังทบทวนการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง รวมทั้งคุ้มทุนในเวลาเดียวกัน ห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยมีอยู่ในนานาประเทศที่เป็นมิตรและพันธมิตรซึ่งต่างยึดมั่นในความโปร่งใส โอกาสที่เป็นเอกเทศ และตลาดเสรีที่ปราศจากการครอบงำของรัฐ ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อถือได้มีอยู่ในนานาประเทศที่สื่อมีเสรีภาพและความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ซึ่งต่างยึดถือหลักนิติธรรมและหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงมีอยู่ในนานาประเทศที่บริษัทต่าง ๆ ปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์หรือการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา ความยึดมั่นในเสรีภาพ หลักนิติธรรม และระบบตุลาการที่เป็นอิสระทำให้สหรัฐอเมริกามีบรรยากาศการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ ซึ่งดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก ทว่าบริษัทที่ต้องการเข้าถึงตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นมีตัวเลือกที่เด่นชัดเพื่อขยายการลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก บริษัทอเมริกันกำลังให้ความสนใจประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่อื่น ๆ เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเซียนที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความคุ้มทุน โอกาสในอนาคตดูสดใสยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากอาเซียนจะกลายเป็นตลาดระดับภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะร้อยละ 50 ... อ่านเพิ่มเติม»

รักษ์แม่โขง: สายโลหิตทางเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงทั้งภูมิภาค

รักษ์แม่โขง: สายโลหิตทางเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงทั้งภูมิภาค บทความแสดงความคิดเห็นโดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ผมได้ยินถึงความงามของแม่น้ำโขงครั้งแรกเมื่อนานมาแล้วก่อนที่จะย้ายมาอยู่เอเชีย ชาวอเมริกันและชาวไทยต่างให้ความเคารพแม่น้ำในประเทศของเราเหมือนกัน ผมเติบโตขึ้นใกล้กับแม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในขนบประเพณีของอเมริกา และเป็นเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์ของเรา ในภาษาของชนพื้นเมืองอเมริกันที่ตั้งชื่อแม่น้ำสายนี้ “มิสซิสซิปปี” หมายถึง “บิดาแห่งสายน้ำ” ส่วนคำว่า “แม่น้ำ” ในภาษาไทย หมายถึง “มารดาแห่งสายน้ำ” อันสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง แม่น้ำโขงไม่ใช่สมบัติของประเทศใดประเทศหนึ่ง แม่น้ำโขงไหลผ่านจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งยังนำมาซึ่งธาตุอาหารและแหล่งดำรงชีวิต ตะกอนในแม่น้ำโขงหล่อเลี้ยงปลาในท้องน้ำ และสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินริมฝั่งแม่น้ำ ฝูงปลาและผืนดินนั้นเองก็หล่อเลี้ยงผู้คนจำนวน 70 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่างประสบภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบทศวรรษ และแม้ว่าภัยแล้งดังกล่าวอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า แม่น้ำโขงเผชิญกับการสร้างเขื่อนจำนวนมากที่ตอนบน ซึ่งขัดขวางการไหลของกระแสน้ำมายังลุ่มน้ำโขงตอนล่าง นอกจากนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงยังถึงจุดต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ มาตรวัดน้ำในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้บันทึกระดับน้ำต่ำสุดเท่าที่เคยมีมาเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามข้อมูลจากดาวเทียมบ่งชี้ว่าปริมาณน้ำบริเวณต้นน้ำในจีนมีอยู่เหลือเฟือ ทำให้เกิดข้อกังขาสำคัญๆ รวมทั้งคำถามที่ว่าเหตุใดจึงไม่มีน้ำในปริมาณที่มากกว่านี้ไหลมาจากจีนขณะที่ประเทศในลุ่มน้ำโขงประสบกับความขาดแคลนอย่างมาก องค์กรภาคประชาสังคมของไทยแสดงความกังวลเกี่ยวกับความพยายามของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสร้างเขื่อนและระเบิดแก่งแม่น้ำโขงระหว่างไทยและลาว แต่กลับถูกสั่งสอนด้วยสัญญาว่าจะมี “ทางออกที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์” ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม รัฐบาลไทยทราบข้อกังวลเหล่านี้ ... อ่านเพิ่มเติม»

การต่อสู้กับโรคโควิด-19: ความท้าทายล่าสุดของความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทย

การต่อสู้กับโรคโควิด-19: ความท้าทายล่าสุดของความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทย โดย นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในปีนี้ วันอนามัยโลก (7 เมษายน) เวียนมาครบรอบอีกครั้งหนึ่งในช่วงที่สถานการณ์กำลังตึงเครียดเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมนุษยชาติกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ในแต่ละวัน มียอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่จีนจนถึงอิตาลี สหรัฐอเมริกาจนถึงไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่ง วันอนามัยโลก ปี 2563 นี้จึงเป็นโอกาสพิเศษในการยกย่องและสรรเสริญบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ช่วยดูแลให้โลกปลอดภัย และผมขอร่วมชื่นชมผู้ที่เสี่ยงชีวิตของตน ณ เวลานี้เพื่อปกป้องพวกเราทุกคนจากโรคร้ายนี้ ท่ามกลางข่าวที่น่าเศร้าใจ เรายังพอเห็นประกายแห่งความหวัง ระบบสาธารณสุขของไทยซึ่งมีความเป็นเลิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น กำลังระดมบุคลากรที่มีความสามารถและทรัพยากรต่างๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 20 ของพนักงานสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานทูตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปฏิบัติหน้าที่ด้านสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานภาคีของไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสำนักงานนอกสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยมานาน 4 ทศวรรษ ทั้งยังตั้งอยู่ภายในกระทรวงสาธารณสุขด้วย CDC ได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือกว่า 133 ล้านเหรียญสหรัฐแก่กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานครในหลากหลายโครงการด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ ... อ่านเพิ่มเติม»

บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี

ในบทความแสดงความคิดเห็นที่เผยแพร่ในสื่อไทยเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เรียกร้องให้สาธารณรัฐประชาชนจีนดูแลชีวิตให้ปลอดภัย ไม่ใช่รักษาหน้าของตนเอง ครั้งหนึ่งมาร์ก ทเวน นักเขียนชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง เคยกล่าวไว้ว่า “คำโกหกสามารถเดินทางได้ครึ่งค่อนโลก ขณะที่ความจริงเพิ่งจะเริ่มสวมรองเท้า” คำกล่าวนั้นเป็นจริงอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ในยุคสื่อสังคมของโลกปัจจุบัน น่าเศร้าที่เรามักจะเห็นข้อมูลเท็จไปถึงผู้รับสารในวงกว้างผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเพียงชั่วพริบตาเดียวอยู่เสมอ แม้กระนั้น เราทั้งหลายควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลเผยแพร่ข้อมูลทฤษฎีสมคบคิดที่ประสงค์ร้ายและเป็นภัย เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ที่ผ่านมา เมื่อโฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวหาสหรัฐอเมริกาอย่างผิดๆ ในเรื่องเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อเท็จจริงที่ว่าการระบาดเริ่มจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย และที่ว่ารัฐบาลจีนทราบเรื่องนั้นก่อนใคร เป็นความจริงอย่างไม่มีข้อสงสัย เป็นไปได้ว่าไวรัสโคโรนาแพร่กระจายอยู่ในเมืองอู่ฮั่นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน และรายงานของสื่อที่น่าเชื่อถือระบุว่ารัฐบาลจีนทราบเกี่ยวกับการระบาดในเมืองนั้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนปีที่แล้ว แพทย์ชาวจีนผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลพยายามรักษาผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ อย่างแข็งขัน ขณะเดียวกันพวกเขาได้แจ้งเจ้าหน้าที่มณฑลและรัฐบาลจีนถึงการอุบัติของเชื้อไวรัส “คล้ายซาร์ส” ชนิดใหม่นี้ รัฐบาลจีนมีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญในการให้ข้อมูลอย่างโปร่งใสและครบถ้วนเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญของจีนทราบ แม้กระนั้น ทางการจีนกลับแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ล่าช้า จึงทำให้การรับมือในระดับโลกล่าช้าออกไปด้วย และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ ทางการจีนดำเนินการอย่างเข้มงวดในการตรวจสอบและลงโทษประชาชนชาวจีนผู้กล้าหาญที่พยายามจะบอกความจริง นายหลี่ เหวินเหลียง จักษุแพทย์ผู้ซึ่งติดเชื้อและเสียชีวิตจากไวรัสนี้ในเวลาต่อมา ถูกทางการหูเป่ยซักถามและบังคับให้ลงชื่อสารภาพว่าเขาปล่อย “ข่าวลือที่ไม่จริง” ทางการจีนทำทุกวิถีทางเพื่อปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่แพทย์ชาวจีนพยายามช่วยชีวิตผู้คนที่กำลังเจ็บป่วยนับสิบ นับร้อย ไปจนถึงนับพันรายอย่างกล้าหาญในเวลานั้น เมื่อเวลาอันมีค่าผ่านไปหลายสัปดาห์และความรุนแรงของการระบาดปรากฏเด่นชัด เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนจึงเตรียมการอย่างครอบคลุมเพื่อปกป้องประชากรของตนเอง โดยเลือกที่จะให้ข้อมูลเช่น genetic sequence data เพียงบางส่วนเท่านั้น และยังคงบ่ายเบี่ยงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากนานาประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ ร้องขอการเข้าถึงและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หากว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ทำสิ่งที่ถูกต้องและแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ดังกล่าว ... อ่านเพิ่มเติม»
แสดงมากขึ้น ∨