การประชุมธุรกิจอินโด-แปซิฟิก: เจ้าหน้าที่รัฐบาลยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะเสริมสร้างความผูกพันทางด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
- เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561 สมาชิกคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าที่อาวุโส ได้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้นำนักธุรกิจอเมริกันและบุคคลสำคัญต่างชาติในการประชุมทางธุรกิจอินโด-แปซิฟิก ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี
- บรรดาผู้นำจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน องค์กราเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) บรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าได้พูดคุยกันในที่ประชุม
- เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่า การลงทุนของสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ดีสำหรับธุรกิจ และดีสำหรับโลก
- เจ้าหน้าที่รัฐบาลประกาศว่าความริเริ่มใหม่นี้มุ่งที่จะผลักดันการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคและการสนับสนุนโอกาสในการส่งออกของสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น
- เจ้าหน้าที่รัฐบาลยืนยันการสนับสนุนบทบัญญัติ Better Utilization of Investments Leading to Development Act (BUILD) เพื่อปฏิรูป ปรับปรุงให้ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการเงินเพื่อการพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเท่าตัว
ยุทธศาตร์การลงทุน: รัฐบาลทรัมป์ ประกาศเงินทุนจำนวน 113.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อริเริ่มโครงการเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
- ความริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ เหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่:
- การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค
- การปรับปรุงการเชื่อมต่อระบบดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
- การส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน
- การเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการเข้าถึง
- ความเป็นหุ้นส่วนด้านการเชื่อมต่อระบบดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Digital Connectivity and Cybersecurity Partnership) จะอาศัยความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิตอลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
- เครือข่ายการดำเนินงานและความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Transaction and Assistances Network) จะจัดตั้งหน่วยงานเพื่อประสานความพยายามระหว่างหน่วยงานในการประเมินโครงการต่าง ๆ รวมถึงให้คำชี้แนะด้านการเงินเพื่อการพัฒนา และการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
- เอเชีย เอดจ์ – (Asia EDGE – Enhancing Development and Growth through Energy) –จะส่งเสริมความมั่นคงและการเข้าถึงด้านพลังงานด้วยการส่งเสริมการส่งออกของสหรัฐฯ และสนับสนุนนโยบายทางการตลาด
- กระทรวงการค้าพาณิชย์ของสหรัฐ จะดำเนินการผ่านโครงการแอคเซสเอเซีย (Access Asia) ที่มุ่งเน้น 25 แผนงานและพันธกิจการค้าประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อเชื่อมโยงบริษัทอเมริกันกับตลาดในแถบอินโดแปซิฟิก
ความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วน: รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศความร่วมมือทางเศรษฐกิจครั้งใหม่กับประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และมองโกเลีย
- บรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) ได้ออกแถลงการณ์ความร่วมมือกับญี่ปุ่นและออสเตรเลีย โดยเมื่อไม่นานมานี้ ญี่ปุ่นเพิ่งจัดตั้งกองทุนมูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในระดับภูมิภาค
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ได้มอบสถานะการค้าเชิงยุทธศาสตร์ระดับ 1 ให้แก่อินเดีย ทำให้บริษัทอเมริกันสามารถส่งออกสินค้าด้านเทคโนโลยีชั้นสูงได้คล่องตัวมากขึ้น
- องค์กรมิลเลนเนียมแชลเลนจ์ (The Millennium Challenge Corporation) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐฯ จะดำเนินการจัดหาเงินจำนวน 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามข้อตกลงให้แก่มองโกเลีย เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่เมืองอูลานบาตอร์
- องค์กรการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Trade and Development Agency) ได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานใหม่ในอินเดียและได้เปิดตัวโครงการความร่วมมือด้านก๊าซธรรมชาติเหลวกับประเทศญี่ปุ่น
- สหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มการสนับสนุนสถาบันสำคัญในระดับภูมิภาค รวมถึงอาเซียน เอเปก ข้อริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และสมาคมแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IORA)