กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
สำนักงานโฆษก
สำหรับเผยแพร่ทันที
เอกสารข้อมูล
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง
ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562
ตัวแทนธุรกิจและผู้นำรัฐบาลกว่า 1,000 คน จากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พบปะกันในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อส่งเสริมมูลค่าการลงทุนที่มีคุณภาพสูง สนับสนุนความโปร่งใส หลักนิติธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำ
ผู้บริหารของบริษัทสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมเกือบ 200 คน เป็นตัวแทนของบริษัทที่มีนวัตกรรม ทรงอิทธิพล และได้รับความไว้วางใจเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีรายได้รวมมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทเหล่านี้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมูลค่าปีละ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังช่วยให้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่สร้างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารของบริษัทกว่า 600 แห่งจากประเทศอื่นๆ ในอินโด-แปซิฟิกเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ผู้แทนสำคัญที่เข้าร่วมการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ วิลเบอร์ รอสส์, ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายการเติบโตทางเศรษฐกิจ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม คีธ แครช, ประธานกรรมการบริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐอเมริกา (EXIM) คิมเบอร์ลี่ รี้ด, รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) โธมัส ฮาร์ดี, รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) เดวิด โบฮิเกียน และรองผู้บริหารองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) บอนนี่ กลิกค์ การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับหอการค้าสหรัฐฯ, สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน และหอการค้าไทย
รัฐมนตรีรอสส์นำคณะผู้แทนธุรกิจจากบริษัทของสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุม Indo-Pacific Business Forum เพื่อศึกษารายละเอียดข้อตกลงการค้าต่างๆ หลังจากนั้น จะเดินทางต่อไปยังอินโดนีเซียและเวียดนาม บริษัทในคณะผู้แทนธุรกิจ ประกอบไปด้วย AES Corporation, Baxter International, Bechtel, Bell Textron, Boeing, Capstone Turbine Company, Cheniere Energy, Citi, Honeywell International, LNG Limited/Magnolia LNG, Lockheed Martin, Qualcomm, Securiport, Sierra Nevada, Tellurian, Tesla และ Varian Medical Systems รวมถึงสภาบริษัทวิศวกรรมอเมริกัน (American Council of Engineering Companies)
ปลัดกระทรวงแครชนำการอภิปรายแบบคณะในหัวข้อ “Fostering a Vibrant Digital Economy in the Indo-Pacific” โดยคณะผู้เข้าร่วมได้หารือกันเกี่ยวกับวิธีที่นวัตกรรมและผู้ประกอบการในเศรษฐกิจดิจิทัลจะผลักดันให้เกิดการเติบโตในภูมิภาคได้ สมาชิกคณะอภิปรายประกอบไปด้วยตัวแทนจากบริษัท HP, Inc., Underwriter Laboratories และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)
เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ และตัวแทนภาคธุรกิจมุ่งเน้นข้อตกลงทางการค้าและข้อริเริ่มใหม่ๆ ระหว่างการประชุม ดังนี้
ข้อตกลงการค้าใหม่ของสหรัฐฯ ในอินโด-แปซิฟิก
- นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือบริษัทของสหรัฐฯ กว่า 9,000 แห่ง
ในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 7,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนั้นเป็นการชนะประมูลโครงการของรัฐมูลค่า 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทเอกชนของสหรัฐฯ - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยังช่วยบริษัทในอินโด-แปซิฟิกกว่า 2,500 แห่งหาโอกาสการลงทุนในสหรัฐฯ
นำให้เกิดการลงทุนจากภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในสหรัฐฯ มูลค่า 18,000 ล้านเหรียญ - ศูนย์สนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนบริษัทผู้ส่งออกอเมริกันที่ต้องการ ์ ท าธุรกิจกับโครงการของภาครัฐ โดยปัจจุบันมีบริษัทส่งออกที่ก าลังด าเนินการอยู่ในอินโด-แปซิฟิกจ านวน 412 โครงการ คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 631,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีศักยภาพการส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ ประมาณ 491,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- รัฐบาลเวียดนามอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมแบบใช้กังหันก๊าซกำลังการผลิต 2.2 กิกะวัตต์ของ AES Corporation ในเดือนกันยายน ปี 2562 คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 เมื่อคำนวณมูลค่ารวมกับสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว Son My มูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โรงผลิตไฟฟ้าแห่งนี้มีมูลค่าการลงทุนทั้งหมดเกือบ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคตของภาคพลังงานในเวียดนาม ผ่านการใช้พลังงานผสมผสานอย่างหลากหลาย
- บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส ประจำประเทศไทย ผู้ผลิตโพลีเอสเตอร์และโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลตรายใหญ่ ได้ประกาศซื้อสินทรัพย์ปิโตรเคมี มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์จากบริษัท Huntsman Corporation รวมทั้งโรงงาน 3 แห่งในเท็กซัส
- GE Power ในนิวยอร์ก ประกาศสร้างโรงผลิตไฟฟ้ามูลค่า 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งจะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน 700,000 หลังภายในปี 2565 นอกจากนี้ ยังสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ มูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่เมือง Meghnaghat ใกล้กับธากา ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2564 และสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ไต้หวัน ซึ่งจะสร้างมูลค่าการส่งออกให้สหรัฐฯ เป็นเงิน 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- APR Energy ในรัฐฟลอริดาลงทุนในโรงผลิตไฟฟ้ากำลังผลิต 300 เมกะวัตต์ ที่ท่าเรือเมืองธากา และจะทำให้เกิดตำแหน่งงานที่ยั่งยืนในบังกลาเทศกว่า 100 ตำแหน่ง
- Warburg Pincus ลงทุนเงินจำนวน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐในบริษัท Converge ICT ที่ฟิลิปปินส์ เพื่อขยายบริการบรอดแบนด์ที่มีคุณภาพในภูมิภาคต่างๆ ฟิลิปปินส์ที่ยังไม่มีบริการและมีบริการน้อยกว่าความต้องการใช้งาน
- Boeing จะปล่อยดาวเทียม “Kacific” ขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศที่มีอาณาเขตห่างไกลอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ราคาถูกคุณภาพสูง อีกทั้งได้เชื่อมต่อและมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัลด้วย
- เมื่อเร็วๆ นี้ Excelerate ในเท็กซัส ได้เปิดใช้งานหน่วยกักเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำที่สถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว Summit เพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเข้าของบังกลาเทศเป็น 2 เท่า เพิ่มเติมจากการลงทุนในสถานีก๊าซธรรมชาติเหลวแบบลอยน้ำ Moheshkhali มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งแรกของบังกลาเทศ
- Coca-Cola ประกาศแผนการลงทุนในบังกลาเทศจนถึงปี 2567 มูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทสร้างงาน 29,300 ตำแหน่งทั่วประเทศ และประมาณการว่าพนักงาน Coca-Cola หนึ่งตำแหน่งช่วยให้เกิดตำแหน่งงานอื่นๆ อีก 48 ตำแหน่งในบังกลาเทศ
การดำเนินงานของสหรัฐฯ และพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง
- ตั้งแต่ตอนต้นของรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ลงทุนเพื่อสนับสนุนเสาเศรษฐกิจในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกไปแล้วกว่า 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ บรรษัทการเงินเพื่อการพัฒนาของสหรัฐฯ (U.S. Development Finance Corporation) หรือ DFC ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย Better Utilization of Investment Leading to Development (BUILD) Act ปี 2561 จะสนับสนุนเงินเพิ่มเติมเพื่อยกระดับการลงทุนของภาคเอกชนในตลาดที่กำลังเกิดใหม่ DFC เป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินงานด้านเศรษฐกิจในอินโด-แปซิฟิก โดยให้เงินทุนเพื่อการพัฒนาจำนวน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ USAID ได้ลงทุนไปแล้วเกือบ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน ระบบดิจิทัล การค้า และการปกครอง ทั้งนี้ ประมาณหนึ่งในสามของเงินทุนจากฝั่ง USAID มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายกิจกรรมการค้าและการแข่งขันในประเทศต่างๆ เช่น บังกลาเทศ เมียนมา ลาว มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
- สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียประกาศแนวคิด Blue Dot Network โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และให้การรับรองโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล สหรัฐฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตร เช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) ซึ่งมีประสบการณ์การดำเนินงานหลายปีและมีประวัติการลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูง
- ความร่วมมือไตรภาคีเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Trilateral Infrastructure Partnership) ระหว่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ประกาศโครงการร่วมทุนริเริ่มหลายโครงการในปี 2562 โดยความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศเจ้าบ้าน ผู้ให้ทุนรายอื่น สถาบันการเงิน และภาคเอกชน รวมถึงโครงการมากมายที่สนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าในประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea Electrification Partnership) ซึ่งมีมูลค่า
สูงถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ - องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยคาดว่าข้อตกลงนี้จะขับเคลื่อนการลงทุนมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปฏิรูปและขยายภาคพลังงานของเอเชียออกไป
- สหรัฐฯ และญี่ปุ่นลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เพื่อบริหารจัดการเงินทุนจากญี่ปุ่นเพิ่มเติมจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลวในภูมิภาค ผ่านทางโครงการ Asia EDGE ของสหรัฐฯ อันส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินงานร่วมหลายฝ่ายระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นผ่านการระดมทุนสำหรับโครงการต่างๆ จากทั่วทั้งภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
- EXIM และองค์กรรับประกันการส่งออกและลงทุนแห่งประเทศญี่ปุ่น (NEXI) ลงนามข้อตกลงการร่วมให้สินเชื่อ (Co-Financing Agreement) เพื่อขยายขอบเขตความสามารถของ EXIM ในการดำเนินการประกันภัยต่อให้แก่ NEXI จึงเป็นการเพิ่มโอกาสอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการร่วมให้สินเชื่อและความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เพื่อการพัฒนาโครงการก๊าซธรรมชาติเหลวต่างๆ
- กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ USAID ได้มอบเงินทุนเพิ่มเติมจำนวน 47.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับเครือข่ายการดำเนินงานและความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (ITAN) ในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง
- กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ USAID ให้เงินทุนจำนวน 26.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐกับโครงการหุ้นส่วนการเชื่อมโยงด้านดิจิทัลและความมั่นคงทางไซเบอร์ (Digital Connectivity and Cybersecurity Partnership) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและสร้างศักยภาพให้กับประเทศพันธมิตรในอินโด-แปซิฟิก
- กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาเงินทุนและการสร้างตลาดโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Finance and Market Building Agreements) กับเกาหลีใต้และสิงคโปร์ เพื่อดึงดูดเงินทุนจากภาคเอกชน พัฒนาตลาดตราสารหนี้และตลาดทุนในประเทศ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือของระบบสาธารณูปโภค และจูงใจผู้ลงทุนสถาบันให้ลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานในตลาดเกิดใหม่ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
- นอกจากนี้ USTDA ยังลงนามในข้อตกลงสนับสนุนเงินให้เปล่าแก่ Virgo Group บริษัทด้านวิศวกรรมและบริการของอินเดียแห่งหนึ่ง เพื่อนำร่องใช้งานเทคโนโลยีแปรรูปโดยใช้ความร้อนภายในเวลารวดเร็ว (Rapid Thermal Processing) จากบริษัท Envergent Technologies ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเปลี่ยนของเสียทางการเกษตรให้กลายเป็นน้ำมันชีวภาพในรัฐปัญจาบ ซึ่งจะลดมลพิษทางอากาศ และสร้างแหล่งพลังงานใหม่ขึ้นในอินเดีย
- บรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) ลงทุนกับการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมจำนวน 6 แห่ง มูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำโดยบริษัท ReNew Power Limited ตลอดจนให้
บริษัท Cholamandalam Investment and Finance Company กู้ยืมเงินจำนวน 185 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อจัดบริการทางการเงินในระบบให้กับพื้นที่ชนบทและบริเวณที่มีธนาคารไม่เพียงพอ - USTDA, กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ, สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration), หน่วยงานรักษาความปลอดภัยด้านการขนส่ง (Transportation Security Administration) และพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ จะเปิดตัวโครงการความร่วมมือด้านการบินสหรัฐฯ-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (U.S.-Southeast Asia Aviation Cooperation Program) หรือ ACP เพื่อออกแบบความช่วยเหลือด้านเทคนิค รวมทั้งกิจกรรมและโครงการอบรมที่ตอบสนองความต้องการด้านการบินของภูมิภาค และใช้ความเชี่ยวชาญ
ด้านเทคนิคของบริษัทสหรัฐฯ
อ่านรายงาน A Free and Open Indo-Pacific: Advancing a Shared Vision ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ที่ https://www.state.gov/a-free-and-open-indo-pacific-advancing-a-shared-vision/ และดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นสำคัญทางการค้าของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกได้จาก Snapshot of U.S. Government Progress ของ USAID ที่ https://www.usaid.gov/indo-pacific-vision/econ