
เพื่อรำลึกถึงพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ขอเสนอช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความสนพระทัยของพระองค์ต่อดนตรีแจ๊ส ตลอดจนบทบาทสำคัญของแจ๊สที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยทางโครงการจะนำเสนอการแสดงในประเทศไทยโดยศิลปินแจ๊สที่มีชื่อเสียงจากสหรัฐฯ ตลอดปีนี้
![]() เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเริ่มสนพระทัยดนตรีแจ๊สตั้งแต่ทรงเรียนเป่าแซกโซโฟน ขณะประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ |
![]() พระองค์ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงอย่างจริงจังเมื่อมีพระชนมพรรษา 18 พรรษา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระราชนิพนธ์ผลงานเพลงชิ้นแรกชื่อว่า “แสงเทียน” หรือ “Candlelight Blues” |
![]() เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติประเทศไทยในปี พ.ศ. 2493 ทรงก่อตั้งวงดนตรีแจ๊สชื่อว่า “วงลายคราม” ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ทรงตั้งสถานีวิทยุภายในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนามว่า “สถานีวิทยุ อ.ส. อัมพรสถาน” ซึ่งทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งฯ วงลายครามสร้างความรื่นรมย์แก่ผู้ฟังด้วยดนตรีแจ๊สยอดนิยมที่กระจายเสียงผ่านทางสถานีวิทยุแห่งนี้ |
![]() ในวันสุดสัปดาห์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชจะทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ ร่วมกับสมาชิกวงลายครามที่วังไกลกังวล ซึ่งบางครั้งก็ดำเนินไปจนถึงรุ่งเช้า |
![]() เสียงดนตรียังคงบรรเลง… พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรง แซกโซโฟนร่วมกับวงดนตรีแจ๊สที่พระองค์ทรงตั้งขึ้น ภาพ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 |
![]() อะโลฮาแจ๊ส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์ราตรีสโมสรในงานเลี้ยงที่ผู้ว่าการ รัฐฮาวายจัดถวาย ณ เมืองโฮโนลูลูเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในโอกาสนี้ พระองค์ทรงร่วมบรรเลงดนตรีกับ วงดนตรีแจ๊สแนว Dixieland ด้วย |
![]() มรดกแห่งดนตรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงสืบทอดความสนพระทัยในดนตรีแจ๊สจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ |
![]() ตำนานแจ๊ส เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแซกโซโฟนร่วมกับศิลปินแจ๊สระดับตำนานในนครนิวยอร์ก ในภาพจากซ้ายได้แก่ Benny Goodman (คลาริเน็ต) Gene Krupa (กลอง) และ Urbie Green (ทรอมโบน) |