พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสหรัฐอเมริกา – มิตรภาพที่ยืนยง
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา
ประมวลภาพชุดที่ 1 “เฉลิมฉลองการเสด็จพระราชสมภพของพระปิยกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย”
ณ เวลา 8.45 น. ในเช้าที่หนาวเย็นของวันจันทร์วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทารกเพศชายน้ำหนัก 6 ปอนด์ได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา แพทย์เวรในเช้าวันนั้นคือ นพ. ดับเบิลยู. สจ๊วต วิตต์มอร์ สูติแพทย์ท่านนี้ลงบันทึกในสูติบัตรของทารกชาวสยามผู้นี้ว่า “Baby Songkla” และต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Boston Globe ว่า “ท่านเป็นทารกที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาก” ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา
ภาพและข้อมูลจากมูลนิธิ The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) www.thailink.com/ktbf
โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น (เดิมคือโรงพยาบาลเคมบริดจ์) เป็นที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470
สูติบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพที่ห้องนี้ (ที่โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น) โดยมี น.พ. ดับเบิลยู. สจ๊วต วิตต์มอร์ (ขวา) เป็นสูติแพทย์ที่ถวายพระประสูติกาล
ในปี 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบกับนายแพทย์และพยาบาลที่ถวายพระประสูติกาลแด่พระองค์
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช พระราชโอรส ณ บรุคไลน์ รัฐแมสซาชูเส็ตส์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
ห้องชุดขนาดหกห้อง เลขที่ 63 ถนนลองวูด บรุคไลน์ ชานเมืองบอสตัน เป็นที่ประทับของราชสกุลมหิดลทั้งห้าพระองค์
Photos courtesy of The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) www.thailink.com/ktbf
“ยินดีต้อนรับพระเจ้าอยู่หัวสู่ที่ประทับเดิมที่บรุคไลน์” พาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์ Boston Globe วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
Source: Ministry of Foreign Affairs. Indelible Impressions of a Royal Visit, Bangkok, 1999, p. 118.
จัตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บริเวณหัวมุมธนนเอเลียตตัดกับถนนเบ็นเน็ตต์ รัฐแมสซาชูเส็ตส์
Photos courtesy of The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) www.thailink.com/ktbf
แผ่นหินจารึกประวัติความเป็นมาที่จัตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
Photos courtesy of The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) www.thailink.com/ktbf
โดย U.S. Mission Thailand | 1 พฤศจิกายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย