เครื่องหมาย “+” ใน LGBTQI+ หมายถึงอะไร

หลายคนคงเคยเห็นคำว่า “LGBTQI” จนชินตา แต่เมื่อเป็นคำว่า “LGBTQI+” ก็อาจนึกสงสัยว่าเครื่องหมาย “+” ที่อยู่ข้างท้ายหมายถึงอะไร ภาษามีวิวัฒนาการตลอดเวลา และเครื่องหมายนี้ก็มุ่งสะท้อนและยกย่องความหลากหลายของรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศ รวมทั้งลักษณะทางเพศ ซึ่งไม่ได้มีแค่เลสเบียน เกย์ คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ เควียร์ หรือ อินเตอร์เซ็กส์ เท่านั้น เพราะคำว่า LGBTQI+ ครอบคลุมความหลากหลายทางเพศในทุกมิติ เครื่องหมาย “+” ยังสื่อถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้ระบุตัวเองว่าเป็นเพศชายหรือหญิง และหมายรวมถึงกลุ่มคนที่ชอบคนได้หลากหลายเพศสภาพ หรือชอบคนคนหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงเพศสภาพ เครื่องหมาย “+” ยังครอบคลุมกลุ่มคนที่แทบจะไม่รู้สึกถึงแรงดึงดูดทางเพศหรือไม่รู้สึกเลย และกลุ่มคนที่ไม่ได้ชอบพอผู้อื่นในเชิงชู้สาวด้วย ( ดูคำศัพท์ต่าง ๆ เกี่ยวกับ LGBTQI+ เพิ่มเติมได้ที่นี่ ) เดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) ของ กลุ่ม LGBTQI+ ซึ่งจะมีการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้และเดินขบวนพาเหรดมากมาย เดือนดังกล่าวเป็นโอกาสรำลึกถึง เหตุการณ์จลาจลที่สโตนวอลล์ ในปี 2512 เมื่อตำรวจเมืองนิวยอร์กซิตีบุกเข้าตรวจค้นบาร์แห่งหนึ่งที่ชาว LGBTQI+ ชอบไปสังสรรค์กัน จนลูกค้าของบาร์ลุกขึ้นต่อต้าน เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้คนหลายล้านร่วมกันเรียกร้องให้ชาว LGBTQI+ ได้รับสิทธิพลเมืองอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ กลุ่ม LGBTQI+ สร้างผลงานสำคัญ ๆ ให้กับชุมชนของพวกเขาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มุมมองที่ผู้คนมีต่อตนเองและบทบาทของตนยังคงมีความสำคัญจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือบางกลุ่มใช้คำว่า “ two-spirit

อ่านเพิ่มเติม»

เคล็ดลับการป้องกันตนเองในโลกออนไลน์

เราใช้เครื่องมือออนไลน์ในทุกกิจกรรมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ธุรกรรมทางการเงิน หรือบริการด้านสุขภาพ ซึ่งหมายความว่าทุกวันนี้มีข้อมูลที่อาจตกอยู่ในมือของอาชญากรไซเบอร์มากกว่าที่เคยเป็นมา ผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านี้อาจโจรกรรมอัตลักษณ์บุคคล ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) หรือกวาดเงินในบัญชีธนาคารของคุณไปได้ มารู้จักกับ 5 เคล็ดลับการป้องกันตนเองในโลกออนไลน์ดังนี้ 1. เข้าอีเมลเมื่อไร ปลอดภัยไว้ก่อน อย่าคลิกลิงก์ในอีเมลหากไม่แน่ใจว่าผู้ส่งคือใคร แฮกเกอร์จะพยายามหลอกให้คนคลิกลิงก์ที่ปลอมขึ้นมาให้ดูสมจริง เพื่อให้เราดาวน์โหลดมัลแวร์ลงบนอุปกรณ์หรือเข้าเว็บเพจที่จะขโมยข้อมูลส่วนตัว ตัวอย่างเช่น แฮกเกอร์อาจส่งอีเมลที่ดูเหมือนว่ามาจากร้านค้าที่คุณชื่นชอบ ดังนั้นขอแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ทางการของร้านโดยเปิดในเบราว์เซอร์แทนที่จะคลิกลิงก์ในอีเมล ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ อย่าเปิดไฟล์แนบจากผู้ส่งที่เราไม่รู้จัก และควรปิดการตั้งค่าการดาวน์โหลดไฟล์แนบในอีเมลแบบอัตโนมัติ 2. ตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ซ้ำกับรหัสผ่านอื่น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน (Password manager) เช่น LastPass, 1Password หรือ Keeper ซึ่งจะช่วยกำหนดรหัสผ่านที่ซับซ้อนและทำให้การใช้งานรหัสผ่านเหล่านี้เป็นเรื่องง่าย ในกรณีที่ไม่ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน ขอแนะนำให้ตั้งรหัสผ่านที่มีตัวอักษรทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก รวมทั้งใช้ตัวเลขและเครื่องหมายสัญลักษณ์ ตลอดจนไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำกับที่ใช้แล้วในเว็บไซต์อื่น 3. ปกป้องข้อมูลส่วนตัว บรรดาบริษัทและหน่วยงานรัฐจะไม่ขอรหัสผ่านของเรา ดังนั้นห้ามบอกรหัสผ่านให้ใครทราบไม่ว่าจะเป็นทางอีเมลหรือโทรศัพท์ก็ตาม อย่าคลิกลิงก์ที่นำไปยังหน้าล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบจากอีเมล แต่ให้เข้าเว็บไซต์นั้น ๆ และล็อกอินผ่านเบราว์เซอร์แทน หากมีบริษัทติดต่อมาขอข้อมูลส่วนตัวโดยไม่คาดคิด อย่าเพิ่งเปิดเผยรายละเอียด ให้วางสายและติดต่อไปทางโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อยืนยันว่าบริษัทเป็นผู้ขอข้อมูลจริง 4. อัปเดตซอฟต์แวร์ให้ใหม่ล่าสุด อัปเดตซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ตให้เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดเสมอ …

อ่านเพิ่มเติม»

การสื่อสารที่เปิดกว้างเป็นกุญแจสำคัญในช่วงวิกฤตด้านสาธารณสุข

(แปลจากบทความของ ShareAmerica เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563) หลังจากที่ได้ยินเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เจ้าหน้าที่ในเกาหลีใต้ได้ตั้งห้องปฏิบัติการขึ้นหลายแห่งเพื่อสนับสนุนการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสให้ได้ 2 หมื่นคนต่อวัน ในไต้หวัน ทางการได้จัดแถลงข่าวประจำวันเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับสาธารณชนได้รับทราบ และกำจัดข่าวลือต่างๆ ส่วนในสหรัฐอเมริกา สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) เร่งพัฒนางานวิจัยวัคซีนที่เป็นไปได้แทบจะในทันที ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นแล้วว่า การรับมือที่รวดเร็ว เปิดกว้าง และโปร่งใส ช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้นับไม่ถ้วน หัวใจของการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ คือ การแบ่งปันข้อมูลข่าวสารทั่วโลก ดังเช่นเมื่อ พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯ ตรวจพบผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งอาศัยอยู่ห่างกัน 130 ไมล์ (ประมาณ 209 กิโลเมตร) มีอาการป่วยจากโรคไข้หวัดซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ได้แจ้งเตือนไปยังประชาคมโลกอย่างรวดเร็ว เพียง 9 วันหลังโรคไข้หวัดชนิดใหม่นี้ปรากฏขึ้นในซีกโลกตะวันตก เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้นำข้อมูลของลำดับพันธุกรรมฉบับสมบูรณ์ของเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าสู่ฐานข้อมูลสาธารณะ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้รู้ทันไวรัสตัวนี้ และภายใน 2 สัปดาห์หลังสามารถระบุได้ว่าไวรัสชนิดนี้คือไวรัส H1N1 ทาง CDC …

อ่านเพิ่มเติม»

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการด้านการเมือง เดวิด เฮล เดินทางเยือนประเทศอินโดนีเซีย ไทย พม่า และญี่ปุ่น

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที 25 เมษายน พ.ศ. 2562 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการด้านการเมือง เดวิด เฮล เดินทางเยือนประเทศอินโดนีเซีย ไทย พม่า และญี่ปุ่น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการด้านการเมือง จะเดินทางเยือนประเทศอินโดนีเซีย ไทย พม่า และญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2562 วันที่ 29 เมษายน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เฮล จะพบปะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอินโดนีเซีย รวมทั้งภาคประชาสังคมและผู้นำเยาวชนที่กรุงจาการ์ตา สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ต่อกัน และฉลองครบรอบ 70 ปีแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีในปี 2562 นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เฮล จะพบกับผู้แทนถาวรประจำอาเซียนเพื่อยืนยันบทบาทที่สำคัญของอาเซียนในการส่งเสริมให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมีสันติภาพและความมั่งคั่ง โดยทุกประเทศมีส่วนร่วม วันที่ 30 เมษายน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เฮล จะพบกับเจ้าหน้าที่ของไทยและตัวแทนจากภาคประชาสังคมในกรุงเทพฯ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับทวิภาคี ภูมิภาค และอาเซียน รวมทั้งบทบาทของประเทศไทยในฐานะผู้นำในภูมิภาค วันที่ …

อ่านเพิ่มเติม»

My Digital America | ทัวร์เมืองหลวงแห่งโลกดิจิตอล

ขอต้อนรับทุกคนที่เข้ามาอ่านบล็อกปฐมฤกษ์ของเราว่าด้วยเรื่องราวจากการเดินทางไปสหรัฐฯ ของคนไทยในวงการต่างๆ สำหรับบทสัมภาษณ์แรกนี้ เราไปพูดคุยกับคุณวรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ผู้ก่อตั้งบริษัทจับคู่การลงทุนให้กับ startup Shift Ventures เกี่ยวกับประสบการณ์ทัวร์ Silicon Valley ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองหลวงแห่งโลกเทคโนโลยี บ้านของแบรนด์ดังอย่าง Apple, Google และ Facebook ที่คุณวรวิสุทธิ์ได้ไปสัมผัสมาถึงห้าเดือนเมื่อปีที่แล้ว ทำไมถึงไป San Francisco? ผมไป San Francisco เพราะอยากไปเห็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยี และเป็นแหล่งให้กำเนิด startup ด้วย ที่ไทย startup ต่างๆ เริ่มมาแล้ว อยากไปอัปเดตความรู้เกี่ยวกับโลก startup ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะส่วนใหญ่ก็เริ่มจาก Silicon Valley อยากไปดูด้วยว่าสภาพแวดล้อมเขาเป็นอย่างไร ได้ไปทำอะไรมาบ้าง? เข้าร่วมงานประชุมด้านเทคโนโลยีที่เขานำคนเก่งๆ จากแวดวงนี้มาพูด ผมไปมาหลายที่ ที่ดังๆ ก็  TechCrunch Disrupt , Lean Startup Conference , Growth Marketing , Angel Launch , Silicon Valley Entrepreneurship Forum แล้วก็มีอะไรยิบย่อยเยอะมาก งานพวกนี้เราสามารถนัดกับวิทยากรได้ เขามี press center ที่เราเข้าไปคุยได้ …

อ่านเพิ่มเติม»
แสดงมากขึ้น ∨