หากจะซาบซึ้งถึงคุณค่าของทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เราต้องเข้าใจถึงบุคคลและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่แปลงเปลี่ยนท้องนาห่างไกลพระนครมาเป็นบ้านพักที่ร่มรื่นในปัจจุบัน พื้นที่ที่ยังไม่พัฒนาด้านตะวันออกของพระนคร ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 คริสตศก พื้นที่ทางตะวันออกของรัตนโกสินทร์เต็มไปด้วยทุ่งนาเขียวขจี มีลำคลองน้อยใหญ่ลัดเลี้ยวและสวนผักขนาดเล็กกระจายโดยทั่วไป นาย Franklin Hurst ชาวอังกฤษยื่นหนังสือต่อราชสำนักสยามเสนอให้จัดสร้างสนามม้าแข่งและสนามกีฬาในพื้นที่ชนบทนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างสโมสรขึ้นในปี พ.ศ. 2444 ภายใต้ชื่อ Royal Sports Club (รอยัลสปอร์ตคลับ) ในขณะนั้น นายเลิศ เศรษฐบุตร นักธุรกิจเชื้อสายไทย-จีน มีวิสัยทัศน์ว่า บริเวณทุ่งนากว้างใหญ่นี้น่าจะเป็นถิ่นบ้านพักอาศัย และเพื่อสร้างบรรยากาศละแวกนี้ให้ร่มรื่นมีเสน่ห์ นายเลิศจึงนำเข้าต้นจามจุรีจากบราซิลมาหลายร้อยต้น ทำให้พื้นที่แถบนี้มีทัศนียภาพแตกต่างจากมุมอื่นๆ ของพระนคร นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสซึ่งทำหน้าที่เป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนักพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความเห็นเหมือนกับนายเลิศ จึงสร้างบ้านโอ่โถงบนพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งปัจจุบันคือ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ การเติบโตของพระนครจะเห็นได้จากประวัติของนายโฮเรชีโอ วิกเตอร์ เบลีย์ (Horatio Victor Bailey) วิศวกรชาวอังกฤษ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2456 นายเบลีย์ก็กลายเป็นชาวพระนครที่รู้จักคนกว้างขวางด้วยทำงานให้กับบริษัท Bangkok Dock Company และภายหลังก็เป็นวิศวกรใหญ่ของสำนักกษาปณ์ ต่อมา นายเบลีย์ได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและบริษัทนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ในฐานะผู้จัดการดูแลทรัพย์สินของรอยัลสปอร์ตคลับและชื่นชอบการขี่ม้า นายเบลีย์รู้สึกติดใจภูมิทัศน์ของบริเวณรอบๆ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 18 กรกฎาคม, 2017 | ประเภท: ข่าว, ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย, อดีตเอกอัครราชทูต, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา ประมวลภาพชุดที่ 5 “ย้อนชมการเยือนไทยของประธานาธิบดีสหรัฐฯ” เมื่อปี พ.ศ. 2509 ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทย หลังจากนั้น มีประธานาธิบดีอีก 4 คนเดินทางมาเยือนมิตรประเทศและพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียแห่งนี้ ได้แก่ ประธานาธิบดีนิกสัน ประธานาธิบดีคลินตัน ประธานาธิบดีบุช และประธานาธิบดีโอบามา ——————————- ภาพ: United States Information Service. The Eagle and the Elephant: Thai American Relations Since 1833, Bangkok, 1997 Government Public Relations Department Office of Prime Minister. King Bhumibol Adulyadej: Visits the United States of …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 4 พฤศจิกายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
เชิญชมวีดิทัศน์ข่าว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2555
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 4 พฤศจิกายน, 2016 | ประเภท: ประธานาธิบดี บารัก โอบามา, ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา ประมวลภาพชุดที่ 4 “รำลึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2510” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2510 ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานศาลาไทยแก่สถาบัน East-West Center และทรงรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากวิทยาลัย Williams College ตลอดการเสด็จประพาสนี้ พระองค์พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทั้งหมด 12 ครั้ง โดยครั้งที่ทำเนียบขาวนั้นพระองค์ได้ตรัสไว้อย่างน่าจดจำยิ่งว่า พระองค์ทรงพบกับประธานาธิบดีจอห์นสันและภริยาไม่เพียงแต่ในฐานะประมุขของรัฐเท่านั้น ทว่าในฐานะสหายเก่าด้วย การเสด็จครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยี่ยมเยือนระหว่างมิตร ——————————- ภาพ: United States Information Service. The Eagle and the Elephant: Thai American Relations Since 1833, Bangkok, 1997 Government Public Relations Department Office …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 3 พฤศจิกายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสหรัฐอเมริกา – มิตรภาพที่ยืนยง เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา ประมวลภาพชุดที่ 1 “เฉลิมฉลองการเสด็จพระราชสมภพของพระปิยกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย” ณ เวลา 8.45 น. ในเช้าที่หนาวเย็นของวันจันทร์วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทารกเพศชายน้ำหนัก 6 ปอนด์ได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา แพทย์เวรในเช้าวันนั้นคือ นพ. ดับเบิลยู. สจ๊วต วิตต์มอร์ สูติแพทย์ท่านนี้ลงบันทึกในสูติบัตรของทารกชาวสยามผู้นี้ว่า “Baby Songkla” และต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Boston Globe ว่า “ท่านเป็นทารกที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาก” ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา ภาพและข้อมูลจากมูลนิธิ The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) www.thailink.com/ktbf
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 พฤศจิกายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา ชุดที่ 2 “รำลึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2503” ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2503 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ทรงเยี่ยมชมสวนสนุก “ดิสนีย์แลนด์” ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีนายวอลท์ ดิสนีย์ เฝ้าฯ รับเสด็จ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นครหลวงของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการครั้งแรก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและคำปราศรัยของประธานาธิบดีไอเซนเฮาร์ต่างเน้นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย สหรัฐอเมริกามีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นการต้อนรับแขกต่างประเทศระดับสูงที่เดินทางมาเยือนสหรัฐฯ ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์และรองประธานาธิบดีนิกสันได้จัดงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ ทำเนียบขาว เนื่องในวาระเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2503 หนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ระหว่างการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือ วาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำรัสต่อรัฐสภาสหรัฐฯ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 28 ตุลาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา ประมวลภาพชุดที่ 2 “รำลึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2503” 33 ปีหลังการเสด็จพระราชสมภพที่เมืองเคมบริดจ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ ได้จัดงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่ทำเนียบขาวและได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ เป็นการส่วนตัวกับพระองค์ ระหว่างการเสด็จประพาสครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำรัส 14 ครั้ง รวมถึงพระราชดำรัสครั้งสำคัญที่รัฐสภาว่าด้วย “ความปรารถนาดีต่อกันและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศของเราทั้งสอง” ชมประมวลภาพชุดที่ 1 “เฉลิมฉลองการเสด็จพระราชสมภพของพระปิยกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย” ——————————- ภาพ: United States Information Service. The Eagle and the Elephant: Thai American Relations Since 1833, Bangkok, 1997 Government Public Relations Department Office of Prime Minister. King Bhumibol Adulyadej: Visits the United …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 28 ตุลาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาขอเสนอบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสหรัฐอเมริกา ชุดที่ 1 “เฉลิมฉลองการเสด็จพระราชสมภพของพระปิยกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย” เชิญชมวีดิทัศน์ชุดพิเศษในวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเยือนโรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์นในรัฐแมสซาชูเซตส์
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 27 ตุลาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกาและไทย
5 ตุลาคม 1947 วันนี้เป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์การกล่าวสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีจากทำเนียบขาว โดยประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ 9 ตุลาคม 1888 วันนี้อนุสาวรีย์วอชิงตันเปิดให้ประชาชนชมอย่างเป็นทางการ อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่โดดเด่นที่สุดในเมืองหลวงของสหรัฐฯ 11 ตุลาคม 1975 วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน หรือที่รู้จักกันในนาม บิล คลินตัน เข้าพิธีสมรสกับ ฮิลลารี รอดดัม ที่เมือง Little Rock รัฐอาร์คันซอ ทั้งสองพบกันขณะกำลังศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล และในปี 1972 ทั้งคู่ต่างทำงานให้กับ George McGovern ผู้แทนพรรคเดโมแครตในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการรณรงค์หาเสียงรับเลือกตั้ง 2002 ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในฐานะที่ “ดำเนินความพยายามเป็นเวลาหลายสิบปีเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศด้วยสันติวิธี พร้อมทั้งส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม” 13 ตุลาคม 1792 วันนี้เป็นวันวางศิลาฤกษ์ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเพิ่งกำหนดให้เป็นเมืองหลวง ในปี ค.ศ. 1800 ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่พำนักในคฤหาสถ์สำหรับผู้บริหารแห่งนี้ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 5 ตุลาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
3 กันยายน 1919 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน เริ่มออกเดินสายทั่วประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สนับสนุนสมาชิกภาพของอเมริกาในองค์การสันนิบาตชาติ 4 กันยายน 1951 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน กล่าวสุนทรพจน์ที่ออกอากาศผ่านโทรทัศน์ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกของอเมริกา ในสุนทรพจน์ครั้งนั้น ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศยอมรับสนธิสัญญาที่ยุติบทบาทของอเมริกาในการเข้ายึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 5 กันยายน 1975 ประธานาธิบดีเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด รอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารที่เมือง Sacramento รัฐแคลิฟอร์เนีย 9 กันยายน 1893 ฟรานซิส ภริยาของประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนแรกที่ให้กำเนิดบุตรที่ทำเนียบขาว โดยเป็นบุตรสาวชื่อเอสเธอร์ 12 กันยายน 1953 จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา สมรสกับแจ็กเกอลีน บูเวียร์ ที่เมือง Newport รัฐโรดไอแลนด์ เจ็ดปีต่อมา ทั้งสองได้กลายเป็นประธานาธิบดีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา 13 กันยายน 1814 Francis Scott Key ประพันธ์บทร้อยกรองที่ภายหลังนำมาประกอบเข้ากับดนตรีเป็นเพลงชาติสหรัฐอเมริกา “The Star-Spangled Banner” เมื่อปี พ.ศ. …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กันยายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
3 สิงหาคม 1923 แคลวิน คูลลิดจ์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 30 ไม่กี่ชั่วโมงหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดีวอร์เรน จี. ฮาร์ดิง 5 สิงหาคม 1861 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลสำหรับรัฐบาลกลางเป็นครั้งแรกด้วยการลงนามผ่านกฎหมาย Revenue Act ประธานาธิบดีลินคอล์นและสภาคองเกรสตกลงเรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลในอัตราร้อยละ 3 สำหรับบุคคลที่มีรายได้เกิน 800 เหรียญต่อปี 6 สิงหาคม 1965 ประธานาธิบดีลินดอน เบนส์ จอห์นสัน ลงนามในกฎหมายสิทธิการเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ซึ่งให้การรับรองสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของชาวแอฟริกันอเมริกัน 8 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน ลาออกจากตำแหน่งหลังเกิดคดี Watergate ซึ่งเป็นคดีโจรกรรมที่อื้อฉาว ประธานาธิบดีนิกสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์อเมริกาที่ลาออก 1945 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาประเทศแรกที่ให้สัตยาบันเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศแห่งใหม่นี้ 9 สิงหาคม 1974 หนึ่งวันหลังจากที่ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
2 กรกฎาคม 1964 ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน สานต่อการรณรงค์ปฏิรูปสิทธิพลเมืองของจอห์น เอฟ. เคนเนดี โดยลงนามกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) พิธีลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้ถ่ายทอดโทรทัศน์ทั่วประเทศจากทำเนียบขาว 4 กรกฎาคม 1776 สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพ สภาภาคพื้นทวีปลงมติรับคำประกาศอิสรภาพ ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งประกาศว่าสหรัฐอเมริกาเป็นอิสระจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และกษัตริย์ของราชอาณาจักร 1826 อดีตประธานาธิบดีโทมัส เจฟเฟอร์สัน และอดีตประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันเดียวกัน ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกสองคนสุดท้ายของคณะผู้ปฏิวัติอเมริกาที่ลุกขึ้นแข็งขืนต่อจักรวรรดิอังกฤษและสร้างระบบการเมืองใหม่ขึ้นในอดีตอาณานิคม 10 กรกฎาคม 1850 รองประธานาธิบดีมิลลาร์ด ฟิลมอร์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 13 แห่งสหรัฐอเมริกา หนึ่งวันหลังการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีซาคารี เทเลอร์ 12 กรกฎาคม 1957 ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้โดยสารเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีการบินล่าสุดในยุคนั้น 13 กรกฎาคม 1960 วุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ. เคนเนดี จากรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้รับการเสนอชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีโดยที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีคะแนนชนะวุฒิสมาชิกลินดอน บี. จอห์นสัน …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
1 พฤษภาคม 1931 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เปิดอาคาร Empire State ในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในขณะนั้นด้วยความสูง 102 ชั้น 3 พฤษภาคม 1940 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ กล่าวปราศรัยต่อสตรีสังกัดพรรคเดโมแครตกว่า 4,000 คนที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นที่ทราบกันดีว่าประธานาธิบดีรูสเวลท์ให้การสนับสนุนบทบาทของสตรีในแวดวงการเมือง 4 พฤษภาคม 1865 พิธีฝังศพประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่เมือง Springfield รัฐอิลลินอยส์ หลังจากขบวนรถไฟเคลื่อนศพของท่านเดินทางผ่านเจ็ดรัฐให้ประชาชนได้ร่วมไว้อาลัย 8 พฤษภาคม 1884 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ที่รัฐมิสซูรี ท่านเข้ารับตำแหน่งหลังจากที่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม 1914 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ประกาศให้วันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นวันแม่ (Mother’s Day) ในสหรัฐอเมริกา …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย Online Media Specialist | 25 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 ธันวาคม 1842 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตัดสินว่า ผู้ใดจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2385 ตามบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราที่ 12 ของสหรัฐอเมริกา ถ้าไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของการ เลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรจะมีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาตัดสินเลือกประธานาธิบดี 4 ธันวาคม 1783 จอร์จ วอชิงตัน ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการของกองทัพฝ่ายอาณานิคม (Continental Army) หลังจากที่ชาวอเมริกันได้รับชัยในสงครามปฏิวัติต่อต้านอังกฤษในปี พ.ศ. 2324 อย่างไรก็ดี เขาได้รับการเกลี้ยกล่อมให้ระงับความคิดเกษียณราชการ และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา โดยได้ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 2340 6 ธันวาคม 1884 อนุสาวรีย์วอชิงตันสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 6 ธันวาคมของปี 2427 ในช่วงเวลานั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูง 555 ฟุต 7 ธันวาคม 1787 รัฐเดลาแวร์ลงนามเป็นรัฐแรกอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาในยุคใหม่ 10 ธันวาคม 1869 ไวโอมิง (ขณะนั้นยังมีฐานะเป็นดินแดนอยู่) เป็นเขตแรกที่ให้สิทธในการลงคะแนนเสียงแก่สตรีอย่างไม่มีข้อจำกัด 1906 ประธานาธิบดีทีโอดอร์ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
2 เมษายน 1917 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ขอให้สภาคองเกรสประกาศสงครามต่อเยอรมนีโดยแถลงว่า “เราต้องรักษาโลกให้ปลอดภัยสำหรับประชาธิปไตย” 3 เมษายน 1948 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนลงนามในแผน Marshall Plan หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ กฎหมาย Foreign Assistance Act ปี ค.ศ. 1948 แผนนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 โดยมีมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ 4 เมษายน 1818 สภาคองเกรสออกกฎหมายว่าด้วยธง (Flag Act) ปี ค.ศ. 1818 ระบุถึงธงที่กำหนดรูปแบบธงต่างๆ ที่ตามมาให้มี 13 แถบซึ่งหมายถึงอาณานิคม 13 แห่งแรก และมีดาวแต่ละดวงแทนรัฐแต่ละรัฐ 1841 ประธานาธิบดี วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน ประธานาธิบดีคนที่ 9 ของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรมจากโรคปอดบวม ณ ทำเนียบขาว …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 เมษายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 มีนาคม 1960 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีก่อตั้งหน่วยอาสาสมัครสันติภาพหรือ Peace Corps โดยประกาศผู้บริหารฉบับนี้สร้างโอกาสให้พลเรือนอเมริกันได้อาสาทำงานบำเพ็ญ ประโยชน์ สละเวลาและใช้ความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศด้อย พัฒนา 1872 ประธานาธิบดีแกรนท์ลงนามในกฎหมายซึ่งกำหนดให้ Yellowstone เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ 3 มีนาคม 1931 เพลง Star-Spangled Banner ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติของสหรัฐอเมริกา 4 มีนาคม 1789 รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) โดยมีการประชุมสภาเป็นครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก 1861 อับราฮัม ลินคอล์นสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา 1913 วู้ดโรว์ วิลสัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา 1933 แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ในพิธีสาบานตน ท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งมีความตอนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายว่า “สิ่งเดียวที่เราควรกลัวคือ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มีนาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 กุมภาพันธ์ 1790 ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาประชุมครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก 3 กุมภาพันธ์ 1924 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ถึงแก่อสัญกรรม ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ขณะมีอายุ 67 ปี 4 กุมภาพันธ์ 1789 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา 1792 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง 6 กุมภาพันธ์ 1911 โรนัลด์ เรแกน เกิดวันนี้ในรัฐอิลลินอยส์ ภายหลังเรแกนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 40 ขอ สหรัฐอเมริกา โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยระหว่างปี 1981-1989 9 กุมภาพันธ์ 1825 ไม่มีผู้สมัครลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียง เพียงพอชนะการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยการลงคะแนนเสียงเลือก จอห์น ควินซี แอดัมส์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 แห่งสหรัฐอเมริกา 1773 วิลเลียม เฮนรี …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 กุมภาพันธ์, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 มกราคม 1863 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ลงนามในประกาศเลิกทาสซึ่งนำไปสู่การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ให้อิสรภาพแก่ทาสทุกคนที่อยู่ในรัฐที่ยังคงมีการต่อต้านอยู่ใน ช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน 2 มกราคม 1960 วุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 3 มกราคม 1959 รัฐอะแลสกาเข้าเป็นรัฐที่ 49 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อประธานาธิบดีไอเซนเฮาร์ลงนามในประกาศพิเศษรับดินแดนนี้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพ (Union) รัฐอะแลสกากลายเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 4 มกราคม 2007 ในการประชุมสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 110 Nancy Pelosi ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีเป็นคนแรก 5 มกราคม 1972 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันลงนามในร่างกฎหมายมูลค่า 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐอนุมัติดำเนินการโครงการกระสวยอวกาศ 6 มกราคม 1919 ทีโอดอร์ โรสเวลท์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรม ณ บ้านพักของเขาที่นิวยอร์ก ทีโอดอร์ โรสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดขณะที่อายุเพียง 43 ปี เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งหลังจากประธานาธิบดีวิลเลียม …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 พฤศจิกายน 1800 ในปีสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงสมัยเดียว ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ได้ย้ายไปพำนักในอาคารพักของประธานาธิบดีที่เพิ่งสร้างใหม่ซึ่งมีชื่อดั้ง เดิมที่เรียกขานกันจนถึงทุกวันนี้คือ ทำเนียบขาว หรือ White House 2 พฤศจิกายน 1948 ประธานาธิบดีทรูแมนชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นสมัย ที่ 2 ประธานาธิบดีทรูแมนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรม 3 พฤศจิกายน 1964 ประชาชนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก เมื่อประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ตัดสินใจให้ District of Columbia เป็นนครของรัฐบาลกลางของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2333 รัฐสภาได้พิจารณาและลงมติระงับสิทธิในการออกเสียงของประชากรของเมืองนี้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2504 บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบทที่ 23 ได้คืนสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนให้แก่ผู้ที่พำนักในเมืองนี้ 4 พฤศจิกายน 2008 ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีเชื้อสาย แอฟริกัน-อเมริกันเป็นคนแรก อดีตวุฒิสมาชิกของรัฐอิลินอยส์ท่านนี้ได้ชัยเหนือนายจอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกของรัฐแอริโซนาและกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา 5 …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 พฤศจิกายน, 2015 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง