กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (CSG 11) – เรือ USS NIMITZ

กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (CSG 11) เป็นกองกำลังทางทะเลภายใต้ผู้บัญชาการกำลังรบ ซึ่งมีศักยภาพในการตอบสนองและปรับตัวรับสถานการณ์ได้ดีในทุกสภาพอากาศ โดยสามารถดำเนินปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล รับมือภัยพิบัติ ตลอดจนผดุงไว้ซึ่งประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและชาติภาคีทั่วโลก คำขวัญประจำกองเรือ: เจนสมรภูมิ [ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 พลเรือตรี คริสโตเฟอร์ สวีนีย์] องค์ประกอบ เรือ USS Nimitz (CVN 68) – เรือธงของ CSG 11 มีศักยภาพด้านการควบคุมทะเล การโจมตีเป้าหมายหลายประเภท ปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการฝึกร่วมและผสมในพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ ฝูงบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 17 (CVW 17) – ประกอบด้วยอากาศยานต่าง ๆ ใน 9 กองบิน เช่น เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet เครื่องบินโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์ E/A-18G Growler เครื่องบินบังคับบัญชาและควบคุมทางอากาศ E-2C Hawkeye เฮลิคอปเตอร์ MH-60R/S Sea Hawk …

อ่านเพิ่มเติม»

เปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

เอกสารข้อเท็จจริง สำนักงานโฆษก 14 กันยายน 2563 เมื่อวันที่ 11 กันยายน สหรัฐอเมริกา กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ได้เปิดตัวกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) เพื่อย้ำจุดยืนความสัมพันธ์ที่ยืนนานระหว่างกัน ในโอกาสนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศแผนการดำเนินงาน โดยร่วมมือกับสภาคองเกรส เพื่อยกระดับการสนับสนุนให้เกิดเอกราช ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล และการเติบโตที่ยั่งยืนในประเทศภาคีลุ่มน้ำโขง โดยตระหนักว่าการส่งเสริมคุณค่าเหล่านี้สำคัญต่อเอกภาพและประสิทธิภาพของอาเซียนด้วยเช่นกัน การยกระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ตลอดช่วงการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) ตั้งแต่ปี 2552-2563 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้มอบเงินช่วยเหลือประเทศภาคีลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศแล้วเกือบ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยครอบคลุมด้านต่อไปนี้ โครงการด้านสาธารณสุข 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ การเติบโตทางเศรษฐกิจ 734 ล้านเหรียญสหรัฐ สันติภาพและความมั่นคง 616 ล้านเหรียญสหรัฐ สิทธิมนุษยชนและธรรมภิบาล 527 ล้านเหรียญสหรัฐ การศึกษาและบริการด้านสังคม …

อ่านเพิ่มเติม»

โครงการ U.S.-ASEAN Health Futures

โครงการ U.S.-ASEAN Health Futures เอกสารข้อเท็จจริง สำนักงานโฆษก วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563 วันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ปอมเปโอ เปิดตัวโครงการ U.S.-ASEAN Health Futures ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานด้านสาธารณสุขร่วมกับอาเซียนทั้งที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและที่ดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อวางรากฐานสำหรับความร่วมมือระยะยาวและการช่วยเหลืออย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งกลับมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรขั้นพื้นฐานที่สุดของเรา นั่นคือสุขภาพและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนรวมหนึ่งพันล้านคนในสหรัฐฯ และอาเซียน ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ลงทุนมูลค่ากว่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพภายใต้การดำเนินงานร่วมกับชาติสมาชิกอาเซียน แสดงถึงความร่วมมือระดับสำคัญบนแนวทางที่จริงจังและยั่งยืน เงินทุนนี้วางรากฐานสู่การสาธารณสุขที่เข้มแข็งตลอดทั่วภูมิภาคและเป็นพื้นฐานแห่งความร่วมมือของเราในอนาคต ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ต่ออาเซียนยังคงมุ่งตอบสนองความต้องการของภูมิภาค โดยจากข้อมูลเมื่อวันที่ 22 เมษายน ความช่วยเหลือนี้รวมถึงเงินทุนฉุกเฉิน 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับช่วยเหลือชาติสมาชิกอาเซียนรับมือสถานการณ์โรคโควิด-19 สหรัฐฯ กับอาเซียนรุดหน้าไปสู่เป้าหมายร่วมกันหลายประการเพื่ออนาคตที่ดีด้านสาธารณสุขในหลากหลายสาขา เช่น การควบคุมเชื้อเอชไอวี/เอดส์และโรคติดเชื้ออื่นๆ การขยายการเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัย การปรับปรุงโภชนาการตลอดจนสุขภาพแม่และเด็ก เราทั้งสองฝ่ายร่วมกันศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านสาธารณสุขตลอดทั่วภูมิภาค และดำเนินงานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์รุ่นต่อไป นอกจากนี้ เรายังดำเนินการสำรวจโซลูชันด้านสุขภาพสำหรับเมืองอัจฉริยะผ่านโครงการ U.S-ASEAN Smart Cities Partnership …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนอาเซียนต่อสู้โรคโควิด-19

เอกสารข้อเท็จจริง สำนักงานโฆษก วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ในฐานะผู้นำด้านการสาธารณสุขของโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด-19 สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนมิตรประเทศอาเซียนของเราในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรค รัฐบาลสหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและด้านมนุษยธรรม มูลค่าประมาณ 18.3 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2563 สหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือเบื้องต้นในด้านดังกล่าวมูลค่าเกือบ 274 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับนานาประเทศที่ขาดแคลน อันเป็นจำนวนที่นอกเหนือไปจากเงินช่วยเหลือที่เราได้มอบให้กับองค์การพหุภาคีต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก และองค์การยูนิเซฟ เงินช่วยเหลือจำนวนนี้ประกอบไปด้วยความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินมูลค่าเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านกองทุนสำรองเพื่อการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับโลก (Global Health Emergency Reserve Fund) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านบัญชีความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติระดับสากล (International Disaster Assistance) ของ USAID ซึ่งจะมอบให้กับประเทศต่างๆ ที่กำลังเผชิญความเสี่ยงสูงสุดจากภัยคุกคามของโรคระบาดระดับโลกนี้ เป็นจำนวนสูงถึง 64 ประเทศ นอกจากนี้แล้ว สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกากับอาเซียน: ขยายขอบเขตความเป็นหุ้นส่วนอันยืนนาน

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที เอกสารข้อมูล วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สหรัฐอเมริกากับอาเซียน: ขยายขอบเขตความเป็นหุ้นส่วนอันยืนนาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา สหรัฐฯ ชื่นชมมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo-Pacific) และยินดีที่ทัศนะของอาเซียนกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ นั้นมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งชื่นชมแนวทางระดับภูมิภาคของพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา สหรัฐอเมริกามีเจตจำนงยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราปกป้องอำนาจอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกาในด้านความร่วมมือรูปธรรมใน 4 สาขาตามมุมมองของอาเซียน อันได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางทะเล และความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงนั้น สัมพันธภาพแห่งความร่วมมือกับสหรัฐฯ พัฒนาใกล้ชิดยิ่งขึ้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในปี 2561 การค้าสองฝ่ายทั้งสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนมีมูลค่า 334,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 123,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียนมูลค่าสูงถึง 271,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งสูงกว่าการลงทุนของสหรัฐฯ …

อ่านเพิ่มเติม»

การเผยแพร่รายงานของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อินโด- แปซิฟิก

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที ข้อมูลสำหรับสื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 การเผยแพร่รายงานของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก เนื่องในโอกาสการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกายินดีที่จะเผยแพร่รายงานความคืบหน้าว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์บูรณาการนโยบายและการทำงานของหน่วยงานทั้งส่วนกลางและระดับรัฐ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รายงาน “A Free and Open Indo-Pacific: Advancing a Shared Vision” (ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง: ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ร่วมกัน) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการริเริ่มระยะเวลา 2 ปีด้านการทูต เศรษฐกิจ การปกครอง และความมั่นคง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพันธกรณีที่ต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงแนวการดำเนินการของสหรัฐฯ ในการกระชับไมตรีระหว่างประชาชนและความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้สรุปส่วนสำคัญวิสัยทัศน์สำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ซึ่งทุกประเทศในภูมิภาคเจริญมั่งคั่งเคียงข้างกันในฐานะรัฐเอกราชที่ปกครองตนเอง วิสัยทัศน์นี้อยู่บนพื้นฐานของค่านิยมที่เป็นรากฐานแห่งสันติภาพและความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมาหลายชั่วอายุคน การค้าที่เสรี เป็นธรรม และต่างตอบแทนกัน สภาพแวดล้อมการลงทุนที่เปิดกว้าง …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที เอกสารข้อมูล วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562  ตัวแทนธุรกิจและผู้นำรัฐบาลกว่า 1,000 คน จากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พบปะกันในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อส่งเสริมมูลค่าการลงทุนที่มีคุณภาพสูง สนับสนุนความโปร่งใส หลักนิติธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำ ผู้บริหารของบริษัทสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมเกือบ 200 คน เป็นตัวแทนของบริษัทที่มีนวัตกรรม ทรงอิทธิพล และได้รับความไว้วางใจเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีรายได้รวมมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทเหล่านี้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมูลค่าปีละ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังช่วยให้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่สร้างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารของบริษัทกว่า 600 แห่งจากประเทศอื่นๆ …

อ่านเพิ่มเติม»

เอกสารข้อมูล: พิธีลงนามข้อตกลงความช่วยเหลือแบบให้เปล่าระหว่าง USTDA และบลู โซลาร์ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เอกสารข้อมูล พิธีลงนามข้อตกลงความช่วยเหลือแบบให้เปล่าระหว่าง USTDA และบลู โซลาร์ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562  โครงการบลู โซลาร์ สำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency) หรือ USTDA จะให้การสนับสนุนเงินทุนแก่บริษัท บลู โซลาร์ จำกัด (“บลู โซลาร์”) ผู้ผลิตพลังงานของไทย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) พร้อมระบบกักเก็บพลังงาน ในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย การศึกษาความเป็นไปได้จะประเมินข้อมูลด้านเทคนิคและการเงิน รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ของโครงการ อีกทั้งจัดทำผลการวิเคราะห์ที่สำคัญ แบบร่าง และเอกสารที่จำเป็นต่อการจัดหาเงินทุนและการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังจะช่วยบลู โซลาร์ ในการประเมินทางเลือกด้านเทคโนโลยีการกักเก็บแสงอาทิตย์และพลังงานของสหรัฐฯ ที่มีความเหมาะสมกับโครงการ โครงการของบลู โซลาร์ เป็น 1 ใน 17 โครงการด้านพลังงานทดแทนที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ERC) เพื่อลงนามในโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP Hybrid …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกากับอาเซียน – ความเป็นหุ้นส่วนอันยืนยาว

ด้วยจำนวนประชากร 650 ล้านคนและอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เฉลี่ยร้อยละ 5 มูลค่าเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งประชากรในวัยหนุ่มสาวที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศรวมกันจึงเป็นภูมิภาคที่เปี่ยมพลวัตที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก สหรัฐอเมริกาและอาเซียนทำงานร่วมกันตลอด 42 ปีที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ก่อนยกระดับเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ในปี 2558 ทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่า หลักการที่เชิดชูไว้ในมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด–แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) อันได้แก่ การมีส่วนร่วม การเปิดกว้าง การเป็นภูมิภาคซึ่งยึดถือหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ หลักการเหล่านี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ว่าด้วยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ตลอดจนแนวทางดำเนินการในภูมิภาคของพันธมิตร หุ้นส่วน และมิตรประเทศของสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันเข้มแข็งของสหรัฐฯ และอาเซียน เศรษฐกิจอันอุดมพลวัตและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงของอาเซียนทำให้อาเซียนเป็นตลาดการส่งออกและการลงทุนที่สำคัญของสหรัฐฯ อาเซียนคือจุดหมายปลายทางการลงทุนอันดับ 1 ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียน (ปริมาณการลงทุนรวมสะสม 329,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นั้นมากกว่าปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct …

อ่านเพิ่มเติม»

การเสริมสร้างความร่วมมือสหรัฐอเมริกา-แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงสำคัญต่อสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคนี้เป็นจุดหลักในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียน สหรัฐอเมริกาประสงค์ร่วมมือกับพันธมิตรลุ่มน้ำโขงของเราเพื่อผดุงซึ่งอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ความเป็นแกนกลางของอาเซียน และระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกา สายสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้นลึกซึ้งยิ่ง ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศลุ่มน้ำโขงกว่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรงของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้มีมูลค่าถึง 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 โดยเพิ่มขึ้นจาก 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทศวรรษก่อน มูลค่ารวมการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 109,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2561 สหรัฐฯ ส่งออกสินค้าไปยังประเทศในลุ่มน้ำโขง ซึ่งสร้างงานให้ชาวอเมริกันกว่า 1.4 ล้านตำแหน่งตั้งแต่ปี 2542 ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเครื่องจักร เป็นต้น ในปี 2561 …

อ่านเพิ่มเติม»

รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กำลังเดินหน้าเข้าสู่การค้าเสรีกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

การประชุมธุรกิจอินโด-แปซิฟิก: เจ้าหน้าที่รัฐบาลยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะเสริมสร้างความผูกพันทางด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561 สมาชิกคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าที่อาวุโส ได้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้นำนักธุรกิจอเมริกันและบุคคลสำคัญต่างชาติในการประชุมทางธุรกิจอินโด-แปซิฟิก ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี บรรดาผู้นำจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน องค์กราเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) บรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าได้พูดคุยกันในที่ประชุม เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่า การลงทุนของสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ดีสำหรับธุรกิจ และดีสำหรับโลก เจ้าหน้าที่รัฐบาลประกาศว่าความริเริ่มใหม่นี้มุ่งที่จะผลักดันการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคและการสนับสนุนโอกาสในการส่งออกของสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลยืนยันการสนับสนุนบทบัญญัติ Better Utilization of Investments Leading to Development Act (BUILD) เพื่อปฏิรูป ปรับปรุงให้ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการเงินเพื่อการพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเท่าตัว  ยุทธศาตร์การลงทุน: รัฐบาลทรัมป์ ประกาศเงินทุนจำนวน 113.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อริเริ่มโครงการเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ความริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ เหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่: การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค การปรับปรุงการเชื่อมต่อระบบดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน …

อ่านเพิ่มเติม»

อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย

วันอาสาสมัครสากลตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นโอกาสให้อาสาสมัครและองค์กรต่างๆ ได้เฉลิมฉลองการดำเนินงานและแบ่งปันค่านิยมของอาสาสมัคร ตลอดจนประชาสัมพันธ์งานของอาสาสมัครในชุมชนทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 54 ปีที่ผ่านมา อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกามุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาและสนับสนุนเยาวชนในชุมชนต่างๆ ทั่วไทยให้ได้พัฒนาทักษะที่ช่วยสร้างเสริมโอกาสในชีวิตและอาชีพการงาน สถานทูตสหรัฐฯ ขอขอบคุณอาสาสมัครทุกท่านที่ได้อุทิศตนทำงานอย่างเต็มที่ สุขสันต์วันอาสาสมัครสากล ขอเสียงปรบมือให้อาสาสมัครทุกท่านด้วยค่ะ #GlobalApplause เชิญอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยสันติภาพสหรัฐฯ ที่ https://www.peacecorps.gov/thailand/

อ่านเพิ่มเติม»
แสดงมากขึ้น ∨