คำกล่าวส่วนหนึ่งโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค ณ งานเลี้ยงรับรองโดยเรือ USS Nimitz

วันพุธที่ 26 เมษายน 2566 “ประเทศไทยเป็นเพื่อนและพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย มิตรภาพของเรามีมาอย่างยาวนานร่วมสองศตวรรษ ซึ่งเราได้บรรลุความสำเร็จมากมายร่วมกัน ปีนี้เรากำลังฉลองวาระครบรอบ 190 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างกัน” “สัมพันธไมตรีของเราช่วยส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพสำหรับทั้งภูมิภาค ช่วยทำให้ผู้คน สินค้า และความคิดใหม่ ๆ เดินทางได้อย่างเสรี ช่วยนำมาซึ่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่สำคัญ และล่าสุดนี้ ช่วยให้เรารับมือกับการระบาดใหญ่ทั่วโลก” “นอกจากนี้ ผมอยากจะขอบคุณเหล่าเจ้าหน้าที่ชายหญิงแห่งกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ สำหรับความมุ่งมั่นที่มีต่อความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันและคอยดูแลให้ประชาชนของเราปลอดภัย เรามีเรือ ทหารเรือ และนักบินของกองทัพเรือประจำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 365 วันต่อปี พร้อมที่จะตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงและภัยพิบัติทางธรรมชาติ” “เมื่อร่วมมือกัน เราจะสามารถถักทออนาคตที่สดใสกว่าเดิมให้ชาวไทย ชาวอเมริกัน และผู้คนทั่วโลกครับ”

อ่านเพิ่มเติม»

กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (CSG 11) – เรือ USS NIMITZ

กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (CSG 11) เป็นกองกำลังทางทะเลภายใต้ผู้บัญชาการกำลังรบ ซึ่งมีศักยภาพในการตอบสนองและปรับตัวรับสถานการณ์ได้ดีในทุกสภาพอากาศ โดยสามารถดำเนินปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล รับมือภัยพิบัติ ตลอดจนผดุงไว้ซึ่งประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและชาติภาคีทั่วโลก คำขวัญประจำกองเรือ: เจนสมรภูมิ [ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 พลเรือตรี คริสโตเฟอร์ สวีนีย์] องค์ประกอบ เรือ USS Nimitz (CVN 68) – เรือธงของ CSG 11 มีศักยภาพด้านการควบคุมทะเล การโจมตีเป้าหมายหลายประเภท ปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการฝึกร่วมและผสมในพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ ฝูงบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 17 (CVW 17) – ประกอบด้วยอากาศยานต่าง ๆ ใน 9 กองบิน เช่น เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet เครื่องบินโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์ E/A-18G Growler เครื่องบินบังคับบัญชาและควบคุมทางอากาศ E-2C Hawkeye เฮลิคอปเตอร์ MH-60R/S Sea Hawk …

อ่านเพิ่มเติม»

ข้อมูลเกี่ยวกับทุนช่วยเหลือของ USTDA

การลงนามมอบทุนช่วยเหลือในโครงการเมืองอัจฉริยะภูเก็ต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 19 กันยายน 2565  ข้อมูลเกี่ยวกับทุนช่วยเหลือของ USTDA เกี่ยวกับ USTDA USTDA หรือองค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency) เป็นหน่วยงานด้านการวางแผนโครงการระหว่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งมอบเครื่องมือเตรียมความพร้อม (ทุนช่วยเหลือเพื่อการศึกษาความพร้อมของโครงการ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และโครงการนำร่อง) ให้แก่โครงการต่าง ๆ ตามคำขอ รวมถึงดำเนินโครงการพัฒนาความร่วมมือ (โครงการ Reverse Trade Mission การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรมต่าง ๆ) เพื่อช่วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในไทยยกระดับการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ตลอดจนเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีและผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้จากสหรัฐฯ  ทุนช่วยเหลือที่ USTDA มอบให้แก่ภูเก็ตใช้ทำอะไรบ้าง USTDA มอบทุนช่วยเหลือให้แก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) มูลค่า 839,420 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการพัฒนาข้อกำหนดทางเทคนิคและกลยุทธ์ที่ละเอียดถี่ถ้วนสำหรับการยกระดับแพลตฟอร์มจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองภูเก็ต (Phuket City Data Platform) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนานวัตกรรมข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารเมืองและการให้บริการประชาชน ความช่วยเหลือนี้จะเสริมสร้างศักยภาพศูนย์บัญชาการและรวบรวมข้อมูล (Command Center) ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) …

อ่านเพิ่มเติม»

ภาพรวมการทำงานขององค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย

ภาพรวมการทำงานขององค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐฯ (USTDA) เป็นหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลสหรัฐฯ โดย USTDA ดำเนินงานผ่านการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ความช่วยเหลือทางเทคนิค และโครงการนำร่องต่าง ๆ และยังทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการในไทยกับสหรัฐฯ ผ่านการดูงานในสหรัฐฯ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยอีกด้วย ทาง USTDA ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย เพื่อช่วยพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและแนวปฏิบัติที่ดี สร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่เข้มแข็งขึ้น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนของสหรัฐฯ ในประเทศไทย โดยทาง USTDA มุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการในภาคการขนส่ง พลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาธารณสุข และธุรกิจทางการเกษตร ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพอร์ตการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ USTDA ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย USTDA ได้ให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวางสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของธนาคารพานิชย์ การเตือนและการจัดการเหตุภัยพิบัติ การออกแบบและประเมินความปลอดภัยของสนามบิน ระบบนำทางทางอากาศ การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า การจัดการของเสียและน้ำเสีย การใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ การจัดการก๊าซธรรมชาติเหลว และการพัฒนาระบบขนส่งทางราง โดย USTDA ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการเหล่านี้ผ่านกลไกต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้และความช่วยเหลือทางเทคนิค และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  โดยตั้งแต่ปี 2524 ทาง USTDA ได้สนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญกว่า 135 โครงการในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี 2547 USTDA ได้ให้ทุนสนับสนุนสำหรับการพัฒนาศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศไทย ทั้งทางด้านเทคนิค การบูรณาการระบบการจัดการ และการพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ …

อ่านเพิ่มเติม»

เอกสารข้อมูล: ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา อรุณ เวนคาทรามันนำคณะผู้แทนด้านธุรกิจสาธารณสุขเยือนไทย

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อรุณ เวนคาทรามัน นำคณะผู้แทนการค้าจากบริษัทด้านสุขภาพของอเมริกา 12 แห่ง เดินทางเยือนไทย มาเลเซีย และเวียดนาม 19-23 กันยายนนี้ ในไทย คณะผู้แทนจะเข้าประชุมแบบตัวต่อตัวกับกลุ่มผู้ซื้อและภาคีเป้าหมาย เพื่อหาหนทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งจะขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศของเราทั้งสอง บริษัทและผู้ผลิตด้านการแพทย์สหรัฐฯ มีชื่อเสียงในด้านคุณภาพ บริการหลังการขาย และการสนับสนุนด้านการฝึกอบรม ธุรกิจเหล่านี้มีความชำนาญในการทำงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับของระบบสาธารณสุขสหรัฐฯ ซึ่งมีความเข้มงวดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แม้จะเป็นเช่นนั้น สหรัฐฯ ก็รับรองเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล้ำสมัยมากมายให้เข้าสู่ตลาดเกือบทุกวัน ประสบการณ์ในตลาดสากลจึงทำให้บริษัทอเมริกันเปี่ยมด้วยศักยภาพที่จะช่วยไทยตอบสนองความต้องการด้านนี้ได้ บริษัทอเมริกันเล็งเห็นถึงศักยภาพใหม่ ๆ ของตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยที่คึกคัก เช่นเดียวกับโครงการการลงทุนภาครัฐและเอกชนในบริการทางการแพทย์และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประโยชน์ของการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐฯ กับไทยมีมากมาย ไม่ว่าจะสร้างงานใหม่หลายพันตำแหน่ง เพิ่มรายรับ หรือนำนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์เข้าสู่ตลาดของทั้งสองประเทศ ไทยซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน เป็นหุ้นส่วนการค้าที่สำคัญของสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการซื้อขายระหว่างกันรวมกว่า 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ยินดีที่ได้ทำงานกับภาคีในรัฐบาลไทยปีนี้ที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคประจำปี 2565 และในปี 2566 ที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพเอเปค เรามุ่งสานต่อประเด็นสำคัญที่ไทยเน้นย้ำระหว่างการเป็นผู้นำเอเปคปีนี้ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลไทยได้เข้าร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีเพื่อยกระดับกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความมั่งคั่ง ซึ่งมีไทยเป็นภาคี …

อ่านเพิ่มเติม»

ข้อแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมคอคัส

การเลือกตั้งขั้นต้น (primary) และการประชุมคอคัส (caucus) เป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการเลือกตั้ง โดยเป็น 2 วิธีที่ใช้เลือกผู้ที่อาจเป็นตัวแทนสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งมีกระบวนการจัดการและบุคคลที่มีสิทธิร่วมลงคะแนนแตกต่างกัน นอกจากนี้ อัตราการมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงทั้งสองแบบนี้ก็มีความต่างกันมาก การเลือกตั้งขั้นต้น การเลือกตั้งขั้นต้นจัดโดยรัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่น การลงคะแนนเสียงเป็นแบบไม่เปิดเผยชื่อ บางรัฐจัดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นแบบ “ปิด” โดยให้ผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้นที่จะร่วมลงคะแนนเสียงได้ แต่สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นแบบเปิด ผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคนสามารถร่วมลงคะแนนได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกของพรรคก็ตาม การประชุมคอคัส การประชุมคอคัสเป็นการประชุมภายในพรรคการเมืองที่พรรคต่าง ๆ จัดขึ้นในระดับเคานตี เขต หรือเขตเลือกตั้ง ในการประชุมคอคัสส่วนใหญ่ ผู้ร่วมประชุมจะแบ่งกลุ่มตามผู้สมัครที่ตนสนับสนุน ในตอนท้าย จำนวนเสียงของผู้เข้าร่วมในแต่ละกลุ่มจะกำหนดจำนวนตัวแทนพรรคที่จะออกเสียงสนับสนุนผู้สมัครแต่ละคน When are they held? State and local governments determine the dates on which primary elections or caucuses are held. These dates, and the amount of …

อ่านเพิ่มเติม»

คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคือใคร

เมื่อชาวอเมริกันลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี หมายความว่าพวกเขาลงคะแนนให้กับใครสักคนอย่าง Hagner Mister หรือ Rex Teter คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของ Mister หรือ Teter และในความเป็นจริงแล้ว ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนให้กับทั้งคู่เมื่อปี 2559 ต่างก็ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครเช่นกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อน Mister และ Teter ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เลือกตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสำคัญในระบบเลือกประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ Electoral College พรรคการเมืองระดับรัฐจะคัดเลือก “ผู้เลือกตั้ง” ซึ่งจะไปรวมตัวกันเลือกประธานาธิบดีหลังวันเลือกตั้งทั่วไป โดยบนบัตรเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเห็นชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ จะนำไปใช้เลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้เลือกตั้งเหล่านี้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนนั้น ๆ เช่น Mister ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรของรัฐแมริแลนด์ ให้คำมั่นว่าจะเลือกฮิลลารี คลินตัน ในการเลือกตั้งปี 2559 ส่วน Teter นักเทศน์จากรัฐเท็กซัส ให้คำมั่นว่าจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน จำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐ จะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้น ๆ ในสภาคองเกรส บวกสอง เนื่องจากแต่ละรัฐมีวุฒิสมาชิกจำนวน 2 …

อ่านเพิ่มเติม»

“Swing State” สมรภูมิเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายนนี้ พรรคการเมืองสำคัญ ๆ ของสหรัฐฯ ต่างหวังที่จะเก็บชัยชนะได้ในหลาย ๆ รัฐ แต่มีรัฐจำนวนหนึ่งที่แต่ละพรรคมีคะแนนสูสีกันเกินกว่าที่จะบอกได้ว่าพรรคไหนจะเป็นผู้ชนะ รัฐที่พรรคการเมืองได้รับคะแนนสนับสนุนสูสีกันเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า Swing state เป็นรัฐที่ประชากรมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกันในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดยในช่วงหลายปีมานี้ รัฐเหล่านี้สนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันสลับกันไปมา จึงเป็นสมรภูมิที่ผู้สมัครต่างทุ่มสรรพกำลัง การประชาสัมพันธ์ และทีมงานในการหาเสียง ผู้เชี่ยวชาญเห็นไม่ตรงกันอยู่บ้างในเรื่องรัฐที่เป็น Swing state โดย Cook Political Report เห็นว่า รัฐที่มีคะแนนสูสีกัน ได้แก่ แอริโซนา ฟลอริดา มิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซิน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เห็นว่านอกจากรัฐเหล่านั้นแล้ว ยังมีนิวแฮมป์เชียร์ นอร์ทแคโรไลนา และรัฐอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง เป็น Swing state ด้วยเช่นกัน “Swing State” และคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายน ชาวอเมริกันไม่ได้ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง แต่พวกเขาเลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะประชุมกันในเดือนธันวาคมและลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี ตามที่เสียงส่วนใหญ่ของรัฐตนได้เลือกในเดือนก่อนหน้านั้น จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งในแต่ละรัฐขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร เช่น …

อ่านเพิ่มเติม»

คณะผู้เลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาคือใคร

เมื่อชาวอเมริกันลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี หมายความว่าพวกเขาลงคะแนนให้กับใครสักคนอย่าง Hagner Mister หรือ Rex Teter คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของ Mister หรือ Teter และในความเป็นจริงแล้ว ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนให้กับทั้งคู่เมื่อปี 2559 ต่างก็ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครเช่นกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อน Mister และ Teter ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เลือกตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสำคัญในระบบเลือกประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ Electoral College พรรคการเมืองระดับรัฐจะคัดเลือก “ผู้เลือกตั้ง” ซึ่งจะไปรวมตัวกันเลือกประธานาธิบดีหลังวันเลือกตั้งทั่วไป โดยบนบัตรเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเห็นชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ จะนำไปใช้เลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้เลือกตั้งเหล่านี้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนนั้น ๆ เช่น Mister ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรของรัฐแมริแลนด์ ให้คำมั่นว่าจะเลือกฮิลลารี คลินตัน ในการเลือกตั้งปี 2559 ส่วน Teter นักเทศน์จากรัฐเท็กซัส ให้คำมั่นว่าจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน จำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐ จะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้น ๆ ในสภาคองเกรส บวกสอง เนื่องจากแต่ละรัฐมีวุฒิสมาชิกจำนวน 2 …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกากับอาเซียน: ขยายขอบเขตความเป็นหุ้นส่วนอันยืนนาน

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที เอกสารข้อมูล วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สหรัฐอเมริกากับอาเซียน: ขยายขอบเขตความเป็นหุ้นส่วนอันยืนนาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา สหรัฐฯ ชื่นชมมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo-Pacific) และยินดีที่ทัศนะของอาเซียนกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ นั้นมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งชื่นชมแนวทางระดับภูมิภาคของพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา สหรัฐอเมริกามีเจตจำนงยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราปกป้องอำนาจอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกาในด้านความร่วมมือรูปธรรมใน 4 สาขาตามมุมมองของอาเซียน อันได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางทะเล และความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงนั้น สัมพันธภาพแห่งความร่วมมือกับสหรัฐฯ พัฒนาใกล้ชิดยิ่งขึ้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในปี 2561 การค้าสองฝ่ายทั้งสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนมีมูลค่า 334,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 123,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียนมูลค่าสูงถึง 271,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งสูงกว่าการลงทุนของสหรัฐฯ …

อ่านเพิ่มเติม»

การเผยแพร่รายงานของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อินโด- แปซิฟิก

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที ข้อมูลสำหรับสื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 การเผยแพร่รายงานของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก เนื่องในโอกาสการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกายินดีที่จะเผยแพร่รายงานความคืบหน้าว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์บูรณาการนโยบายและการทำงานของหน่วยงานทั้งส่วนกลางและระดับรัฐ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รายงาน “A Free and Open Indo-Pacific: Advancing a Shared Vision” (ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง: ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ร่วมกัน) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการริเริ่มระยะเวลา 2 ปีด้านการทูต เศรษฐกิจ การปกครอง และความมั่นคง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพันธกรณีที่ต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงแนวการดำเนินการของสหรัฐฯ ในการกระชับไมตรีระหว่างประชาชนและความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้สรุปส่วนสำคัญวิสัยทัศน์สำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ซึ่งทุกประเทศในภูมิภาคเจริญมั่งคั่งเคียงข้างกันในฐานะรัฐเอกราชที่ปกครองตนเอง วิสัยทัศน์นี้อยู่บนพื้นฐานของค่านิยมที่เป็นรากฐานแห่งสันติภาพและความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมาหลายชั่วอายุคน การค้าที่เสรี เป็นธรรม และต่างตอบแทนกัน สภาพแวดล้อมการลงทุนที่เปิดกว้าง …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที เอกสารข้อมูล วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562  ตัวแทนธุรกิจและผู้นำรัฐบาลกว่า 1,000 คน จากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พบปะกันในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อส่งเสริมมูลค่าการลงทุนที่มีคุณภาพสูง สนับสนุนความโปร่งใส หลักนิติธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำ ผู้บริหารของบริษัทสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมเกือบ 200 คน เป็นตัวแทนของบริษัทที่มีนวัตกรรม ทรงอิทธิพล และได้รับความไว้วางใจเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีรายได้รวมมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทเหล่านี้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมูลค่าปีละ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังช่วยให้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่สร้างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารของบริษัทกว่า 600 แห่งจากประเทศอื่นๆ …

อ่านเพิ่มเติม»

ชาวอุยกูร์คือใคร?

โดย ลีห์ ฮาร์ทแมน 29 มกราคม 2562 ชาวอุยกูร์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในซินเจียงซึ่งเป็นมณฑลที่มีพื้นที่มากที่สุดของจีน แต่เป็นภูมิภาคที่ห่างไกลมากที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ในช่วงปีหลังๆ มานี้ รัฐบาลจีนดำเนินมาตรการเด็ดขาดกับวัฒนธรรมและศาสนาของชาวอุยกูร์ โดยลงโทษชาวอุยกูร์ที่พูดภาษาอุยกูร์ ดำรงรักษาวัฒนธรรม หรือปฏิบัติตามหลักศาสนาของตน เช่น การอดอาหารระหว่างเดือนถือศีลอด หรือการงดเว้นจากการรับประทานหมูและดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชาวอุยกูร์มีวัฒนธรรมและศาสนาที่คล้ายคลึงกับกลุ่มชาติพันธุ์เอเชียกลางอื่นๆ เช่น กลุ่มอุซเบกและกลุ่มคาซัก ทั้งยังใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาอุซเบก และมีความคล้ายคลึงกับภาษาคาซัก ภาษาคีร์กีซ และภาษาเตอร์กิก ศาสนาอิสลามเป็นส่วนสำคัญในเอกลักษณ์ของกลุ่มอุยกูร์ ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ชาวอุยกูร์ประมาณ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในซินเจียง และมีหลายแสนคนอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ซินเจียงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ทั้งยังมีระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมและการค้าขายมาเป็นเวลายาวนาน เมืองต่างๆ ในซินเจียงเคยเป็นจุดพักที่สำคัญๆ ตามเส้นทางสายไหมที่มีชื่อเสียง เขตแดนซินเจียงปัจจุบัน ซึ่งในภาษาจีนมีความหมายว่า “แนวพรมแดนใหม่” อยู่ภายใต้การปกครองของจีนหลังจากราชวงศ์ชิงเข้ามาถือสิทธิ์ในภูมิภาคระหว่างสงครามช่วงศตวรรษที่ 18 ในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1940 ภูมิภาคนี้ได้ประกาศตัวเป็นรัฐเอกราชช่วงสั้นๆ สองครั้ง แต่ประเทศจีนกลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งหลังจากพรรคคอมมิวนิสต์ยึดครองประเทศในปี พ.ศ. 2492 การข่มเหงจากจีน …

อ่านเพิ่มเติม»

งานเปิดตัวองุ่นจากรัฐแคลิฟอร์เนียที่กูร์เมต์ มาร์เก็ต

มร. รัส ไนซ์ลี่ ที่ปรึกษาทูตฝ่ายกิจการเกษตร สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เข้าร่วมงานเปิดตัวองุ่น Sun World จากรัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กูร์เมต์ มาร์เก็ต เดอะมอลล์ บางแคในวันที่ 21 กันยายน 2561 องุ่น Sun World นำเข้าโดยบริษัท ซิตี้ เฟรช ฟรุ๊ต จำกัด จะวางจำหน่ายในประเทศไทยที่ กูร์เมต์ มาร์เก็ต ทุกสาขา

อ่านเพิ่มเติม»

รางวัลสตรีผู้กล้าหาญนานาชาติประจำปี 2561

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกามอบรางวัลสตรีผู้กล้าหาญนานาชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อยกย่องเชิดชูสตรีทั่วโลก ที่แสดงความกล้าหาญและความเป็นผู้นำอย่างโดดเด่น ในการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ และการเสริมพลังของผู้หญิง โดยสตรีเหล่านี้มักจะแบกรับความเสี่ยงเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ที่มีการเริ่มมอบรางวัลนี้ใน พ.ศ. 2550 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้ยกย่องเชิดชูเกียรติแก่สตรีมากกว่า 120 คน จากกว่า 65 ประเทศทั่วโลก  เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เชิดชูเกียรติผู้หญิงเก่ง 10 คนจากทั่วทุกมุมโลก สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาภาคภูมิใจในผลงานของคุณศิริกาญจน์ เจริญศิริ (จูน) ในฐานะทนายความและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และก็ภูมิใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นคุณค่าของงานเธอ ด้วยการมอบรางวัลสตรีผู้กล้าหาญนานาชาติให้ คุณศิริกาญจน์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการรวมตัวของทนายความเพื่อให้บริการด้านกฎหมายในคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน โดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ และยังบันทึกประเด็นด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ความกล้าหาญของคุณศิริกาญจน์ ในการพิทักษ์เสรีภาพของพลเมืองทุกคน รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าทำไปเพราะมีจุดประสงค์ทางการเมือง ทำให้เธอสมควรที่จะได้รับรางวัลสตรีผู้กล้าหาญนานาชาติ #WomenOfCourage

อ่านเพิ่มเติม»

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยพร้อมด้วยคณะนักเรียนจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อทรงรับฟังบรรยายพิเศษเรื่องกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดย ดร. Robert Sterken นักวิจัยทุนฟุลไบรท์ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินพร้อมคณะนักเรียนฯ ไปยังทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันซึ่งจัดถวายโดยโรงแรมคอนราดและนาย Richard Blais ผู้ชนะการแข่งขัน Top Chef All-Stars

อ่านเพิ่มเติม»

สุนทรพจน์ของนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องในวันวิสาขบูชา

ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเข้าขอส่งความปรารถนาดีมายังทุกท่านเนื่องในวันวิสาขบูชา สหรัฐอเมริกาขออวยพรให้ท่านทั้งหลายประสบความสุขเบิกบานใจในวาระแห่งการน้อมรำลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้สถาปนาพระพุทธศาสนา เราขอเชิดชูวันวิสาขบูชานี้ด้วยการยกย่องซึ่งคุณูปการต่อแนวความคิด วัฒนธรรม และความเชื่อที่ศาสนาพุทธซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกได้เผยแผ่มากว่า 2,500 ปี วันวิสาขบูชามีการเฉลิมฉลองโดยหลากหลายชุมชนชาวพุทธทั้งในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและนานาประเทศทั่วโลก วาระนี้เป็นโอกาสอันดีงามที่จะสวดมนต์ภาวนาและรำลึกถึงพระพุทธคุณแห่งปัญญา ความห้าวหาญและความเมตตากรุณา ในขณะที่ท่านเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาร่วมกันกับครอบครัวและมิตรสหาย ขอโปรดทราบว่า สหรัฐอเมริกาสนับสนุนความพยายามของศาสนิกชนทุกความเชื่อที่สั่งสอนและปฏิบัติตามแนวทางแห่งความอดทนและการเคารพให้เกียรติมนุษย์ทุกคน ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขสวัสดิ์ในวันวิสาขบูชา

อ่านเพิ่มเติม»

สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโอบามาเนื่องในวันวิสาขบูชา

มิเชลล์และข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังพุทธศาสนิกชนในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันนี้ พวกเรารำลึกถึงคำสอนอันเป็นสากลของพระพุทธองค์ว่าด้วยความสงบสันติ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการเคารพซึ่งมนุษยชาติ ซึ่งเป็นค่านิยมเดียวกันที่หล่อรวมพวกเราชาวอเมริกันเข้าด้วยกัน วาระนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะระลึกถึงคุณากรแห่งพระพุทธองค์ที่มีต่อความก้าวหน้าของพวกเรา อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสให้เราตั้งจิตมั่นอีกครั้งในการสร้างอนาคตที่สดใสให้แก่ทุกชุมชน ทุกวัฒนธรรมและทุกศาสนา และในวาระที่พวกเรามารวมตัวกันเพื่อมุ่งหวังพัฒนาปัญญา ความห้าวหาญและความเมตตากรุณา ครอบครัวของข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมา ณ โอกาสนี้

อ่านเพิ่มเติม»
แสดงมากขึ้น ∨