การเลือกตั้งขั้นต้น (primary) และการประชุมคอคัส (caucus) เป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการเลือกตั้ง โดยเป็น 2 วิธีที่ใช้เลือกผู้ที่อาจเป็นตัวแทนสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งมีกระบวนการจัดการและบุคคลที่มีสิทธิร่วมลงคะแนนแตกต่างกัน นอกจากนี้ อัตราการมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงทั้งสองแบบนี้ก็มีความต่างกันมาก การเลือกตั้งขั้นต้น การเลือกตั้งขั้นต้นจัดโดยรัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่น การลงคะแนนเสียงเป็นแบบไม่เปิดเผยชื่อ บางรัฐจัดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นแบบ “ปิด” โดยให้ผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้นที่จะร่วมลงคะแนนเสียงได้ แต่สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นแบบเปิด ผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคนสามารถร่วมลงคะแนนได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกของพรรคก็ตาม การประชุมคอคัส การประชุมคอคัสเป็นการประชุมภายในพรรคการเมืองที่พรรคต่าง ๆ จัดขึ้นในระดับเคานตี เขต หรือเขตเลือกตั้ง ในการประชุมคอคัสส่วนใหญ่ ผู้ร่วมประชุมจะแบ่งกลุ่มตามผู้สมัครที่ตนสนับสนุน ในตอนท้าย จำนวนเสียงของผู้เข้าร่วมในแต่ละกลุ่มจะกำหนดจำนวนตัวแทนพรรคที่จะออกเสียงสนับสนุนผู้สมัครแต่ละคน When are they held? State and local governments determine the dates on which primary elections or caucuses are held. These dates, and the amount of …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 28 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง
เมื่อชาวอเมริกันลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี หมายความว่าพวกเขาลงคะแนนให้กับใครสักคนอย่าง Hagner Mister หรือ Rex Teter คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของ Mister หรือ Teter และในความเป็นจริงแล้ว ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนให้กับทั้งคู่เมื่อปี 2559 ต่างก็ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครเช่นกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อน Mister และ Teter ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เลือกตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสำคัญในระบบเลือกประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ Electoral College พรรคการเมืองระดับรัฐจะคัดเลือก “ผู้เลือกตั้ง” ซึ่งจะไปรวมตัวกันเลือกประธานาธิบดีหลังวันเลือกตั้งทั่วไป โดยบนบัตรเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเห็นชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ จะนำไปใช้เลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้เลือกตั้งเหล่านี้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนนั้น ๆ เช่น Mister ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรของรัฐแมริแลนด์ ให้คำมั่นว่าจะเลือกฮิลลารี คลินตัน ในการเลือกตั้งปี 2559 ส่วน Teter นักเทศน์จากรัฐเท็กซัส ให้คำมั่นว่าจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน จำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐ จะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้น ๆ ในสภาคองเกรส บวกสอง เนื่องจากแต่ละรัฐมีวุฒิสมาชิกจำนวน 2 …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 18 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายนนี้ พรรคการเมืองสำคัญ ๆ ของสหรัฐฯ ต่างหวังที่จะเก็บชัยชนะได้ในหลาย ๆ รัฐ แต่มีรัฐจำนวนหนึ่งที่แต่ละพรรคมีคะแนนสูสีกันเกินกว่าที่จะบอกได้ว่าพรรคไหนจะเป็นผู้ชนะ รัฐที่พรรคการเมืองได้รับคะแนนสนับสนุนสูสีกันเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า Swing state เป็นรัฐที่ประชากรมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกันในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดยในช่วงหลายปีมานี้ รัฐเหล่านี้สนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันสลับกันไปมา จึงเป็นสมรภูมิที่ผู้สมัครต่างทุ่มสรรพกำลัง การประชาสัมพันธ์ และทีมงานในการหาเสียง ผู้เชี่ยวชาญเห็นไม่ตรงกันอยู่บ้างในเรื่องรัฐที่เป็น Swing state โดย Cook Political Report เห็นว่า รัฐที่มีคะแนนสูสีกัน ได้แก่ แอริโซนา ฟลอริดา มิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซิน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เห็นว่านอกจากรัฐเหล่านั้นแล้ว ยังมีนิวแฮมป์เชียร์ นอร์ทแคโรไลนา และรัฐอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง เป็น Swing state ด้วยเช่นกัน “Swing State” และคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายน ชาวอเมริกันไม่ได้ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง แต่พวกเขาเลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะประชุมกันในเดือนธันวาคมและลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี ตามที่เสียงส่วนใหญ่ของรัฐตนได้เลือกในเดือนก่อนหน้านั้น จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งในแต่ละรัฐขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร เช่น …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 18 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง
เมื่อชาวอเมริกันลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี หมายความว่าพวกเขาลงคะแนนให้กับใครสักคนอย่าง Hagner Mister หรือ Rex Teter คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของ Mister หรือ Teter และในความเป็นจริงแล้ว ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนให้กับทั้งคู่เมื่อปี 2559 ต่างก็ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครเช่นกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อน Mister และ Teter ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เลือกตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสำคัญในระบบเลือกประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ Electoral College พรรคการเมืองระดับรัฐจะคัดเลือก “ผู้เลือกตั้ง” ซึ่งจะไปรวมตัวกันเลือกประธานาธิบดีหลังวันเลือกตั้งทั่วไป โดยบนบัตรเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเห็นชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ จะนำไปใช้เลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้เลือกตั้งเหล่านี้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนนั้น ๆ เช่น Mister ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรของรัฐแมริแลนด์ ให้คำมั่นว่าจะเลือกฮิลลารี คลินตัน ในการเลือกตั้งปี 2559 ส่วน Teter นักเทศน์จากรัฐเท็กซัส ให้คำมั่นว่าจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน จำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐ จะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้น ๆ ในสภาคองเกรส บวกสอง เนื่องจากแต่ละรัฐมีวุฒิสมาชิกจำนวน 2 …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 13 กรกฎาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง
5 ตุลาคม 1947 วันนี้เป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์การกล่าวสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีจากทำเนียบขาว โดยประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ 9 ตุลาคม 1888 วันนี้อนุสาวรีย์วอชิงตันเปิดให้ประชาชนชมอย่างเป็นทางการ อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่โดดเด่นที่สุดในเมืองหลวงของสหรัฐฯ 11 ตุลาคม 1975 วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน หรือที่รู้จักกันในนาม บิล คลินตัน เข้าพิธีสมรสกับ ฮิลลารี รอดดัม ที่เมือง Little Rock รัฐอาร์คันซอ ทั้งสองพบกันขณะกำลังศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล และในปี 1972 ทั้งคู่ต่างทำงานให้กับ George McGovern ผู้แทนพรรคเดโมแครตในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการรณรงค์หาเสียงรับเลือกตั้ง 2002 ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในฐานะที่ “ดำเนินความพยายามเป็นเวลาหลายสิบปีเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศด้วยสันติวิธี พร้อมทั้งส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม” 13 ตุลาคม 1792 วันนี้เป็นวันวางศิลาฤกษ์ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเพิ่งกำหนดให้เป็นเมืองหลวง ในปี ค.ศ. 1800 ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่พำนักในคฤหาสถ์สำหรับผู้บริหารแห่งนี้ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 5 ตุลาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559 YSEALI ได้คัดเลือกตัวแทนเยาวชนกว่า 30 คนจากทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการโต้วาทีภาษาอังกฤษขึ้นที่มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะเลิศ 2 คนคือนายศิลา ทองบริสุทธิ์และนายศิรสิทธิ์ สุชาติลิขิตวงศ์จะได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศต่อหน้าท่านทูตกลิน เดวีส์ที่สถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพมหานครในงาน Election Watch วันที่ 9 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 18 กันยายน, 2016 | ประเภท: ศิษย์เก่า, เชียงใหม่, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
3 กันยายน 1919 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน เริ่มออกเดินสายทั่วประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สนับสนุนสมาชิกภาพของอเมริกาในองค์การสันนิบาตชาติ 4 กันยายน 1951 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน กล่าวสุนทรพจน์ที่ออกอากาศผ่านโทรทัศน์ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกของอเมริกา ในสุนทรพจน์ครั้งนั้น ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศยอมรับสนธิสัญญาที่ยุติบทบาทของอเมริกาในการเข้ายึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 5 กันยายน 1975 ประธานาธิบดีเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด รอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารที่เมือง Sacramento รัฐแคลิฟอร์เนีย 9 กันยายน 1893 ฟรานซิส ภริยาของประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนแรกที่ให้กำเนิดบุตรที่ทำเนียบขาว โดยเป็นบุตรสาวชื่อเอสเธอร์ 12 กันยายน 1953 จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา สมรสกับแจ็กเกอลีน บูเวียร์ ที่เมือง Newport รัฐโรดไอแลนด์ เจ็ดปีต่อมา ทั้งสองได้กลายเป็นประธานาธิบดีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา 13 กันยายน 1814 Francis Scott Key ประพันธ์บทร้อยกรองที่ภายหลังนำมาประกอบเข้ากับดนตรีเป็นเพลงชาติสหรัฐอเมริกา “The Star-Spangled Banner” เมื่อปี พ.ศ. …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กันยายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
3 สิงหาคม 1923 แคลวิน คูลลิดจ์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 30 ไม่กี่ชั่วโมงหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดีวอร์เรน จี. ฮาร์ดิง 5 สิงหาคม 1861 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลสำหรับรัฐบาลกลางเป็นครั้งแรกด้วยการลงนามผ่านกฎหมาย Revenue Act ประธานาธิบดีลินคอล์นและสภาคองเกรสตกลงเรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลในอัตราร้อยละ 3 สำหรับบุคคลที่มีรายได้เกิน 800 เหรียญต่อปี 6 สิงหาคม 1965 ประธานาธิบดีลินดอน เบนส์ จอห์นสัน ลงนามในกฎหมายสิทธิการเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ซึ่งให้การรับรองสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของชาวแอฟริกันอเมริกัน 8 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน ลาออกจากตำแหน่งหลังเกิดคดี Watergate ซึ่งเป็นคดีโจรกรรมที่อื้อฉาว ประธานาธิบดีนิกสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์อเมริกาที่ลาออก 1945 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาประเทศแรกที่ให้สัตยาบันเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศแห่งใหม่นี้ 9 สิงหาคม 1974 หนึ่งวันหลังจากที่ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
2 กรกฎาคม 1964 ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน สานต่อการรณรงค์ปฏิรูปสิทธิพลเมืองของจอห์น เอฟ. เคนเนดี โดยลงนามกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) พิธีลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้ถ่ายทอดโทรทัศน์ทั่วประเทศจากทำเนียบขาว 4 กรกฎาคม 1776 สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพ สภาภาคพื้นทวีปลงมติรับคำประกาศอิสรภาพ ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งประกาศว่าสหรัฐอเมริกาเป็นอิสระจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และกษัตริย์ของราชอาณาจักร 1826 อดีตประธานาธิบดีโทมัส เจฟเฟอร์สัน และอดีตประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันเดียวกัน ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกสองคนสุดท้ายของคณะผู้ปฏิวัติอเมริกาที่ลุกขึ้นแข็งขืนต่อจักรวรรดิอังกฤษและสร้างระบบการเมืองใหม่ขึ้นในอดีตอาณานิคม 10 กรกฎาคม 1850 รองประธานาธิบดีมิลลาร์ด ฟิลมอร์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 13 แห่งสหรัฐอเมริกา หนึ่งวันหลังการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีซาคารี เทเลอร์ 12 กรกฎาคม 1957 ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้โดยสารเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีการบินล่าสุดในยุคนั้น 13 กรกฎาคม 1960 วุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ. เคนเนดี จากรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้รับการเสนอชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีโดยที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีคะแนนชนะวุฒิสมาชิกลินดอน บี. จอห์นสัน …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
2 มิถุนายน 1865 วันสิ้นสุดสงครามกลางเมืองอเมริกัน นายพล Edmund Kirby Smith แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐ ลงนามในข้อตกลงยอมแพ้ ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามที่กินเวลากว่าสี่ปี 3 มิถุนายน 1800 จอห์น แอดัมส์ ประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกา เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้พำนักในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี เมืองหลวงใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งสร้างขึ้นแทนนครฟิลาเดลเฟีย ประธานาธิบดีแอดัมส์พำนักอยู่ที่โรงแรม Tunnicliffe’s City Hotel เป็นการชั่วคราวก่อนย้ายเข้าทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 4 มิถุนายน 1919 สภาคองเกรสเห็นชอบผ่านบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา มาตรา 19 ซึ่งระบุให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 5 มิถุนายน 1968 วุฒิสมาชิกโรเบิร์ต เคนเนดี น้องชายของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ถูกลอบสังหารที่นครลอสแอนเจลิสโดยนักเคลื่อนไหวชาวปาเลสไตน์ไม่นานหลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งขั้นต้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 2004 โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีคนที่ 40 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรมหลังต่อสู้กับโรคอัลไซเมอร์มาเป็นเวลานาน 6 มิถุนายน 1833 ประธานาธิบดีแอนดรูว์ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
จาก ShareAmerica การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมืองสหรัฐฯ เป็นรายการแสดงที่มีสีสันมาก เริ่มจากตัวแทนหลายพันคน บวกกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต วิทยุและโทรทัศน์อีกกว่า 15,000 คน แล้วก็อย่าลืมคำปราศรัยต่างๆ ด้วยนะคะ นักกฎหมายจากรัฐอิลลินอยส์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักคนหนึ่งที่ชื่อ บารัค โอบามา ได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศเป็นครั้งแรกก็จากคำปราศรัยของเขาในการประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคเดโมแครตเมื่อปี พ.ศ. 2547 สำหรับชาวอเมริกันที่ชอบการเมือง การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมืองก็ไม่ต่างจากการแข่งขัน Super Bowl เพราะสนุกมาก มีคนแพ้ คนชนะ และยังดูทางโทรทัศน์ได้ด้วย ไม่ใช่แค่เพื่อความสนุก แม้ว่าการประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมืองจะดูเหมือนการแสดงที่หรูหรา แต่การประชุมก็มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญมาก ในช่วงเวลาสี่วัน (18-21 กรกฎาคมสำหรับพรรครีพับลิกัน และ 25-28 กรกฎาคมสำหรับพรรคเดโมแครต) ที่ประชุมจะต้อง เลือกผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในนามของพรรค ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนกระตือรือร้นเลือกสิ่งที่พรรคนำเสนอ เห็นชอบหลักการระบุจุดยืนของพรรคเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญๆ ในช่วงเวลานั้นๆ เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นๆ ในพรรคได้ปรากฏตัวต่อประชาชนทั่วประเทศ ในการประชุมของพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรค ผู้ที่จะได้รับเสนอชื่อเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามของพรรคคือคนที่ได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของตัวแทน (ตัวแทนมักจะเห็นชอบกับการเลือกผู้สมัครเป็นรองประธานาธิบดีของผู้ที่ได้รับเสนอชื่อเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครเพียงคนเดียวเสมอที่ได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่จากตัวแทนอันเป็นผลจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรค (primary) และการประชุมพรรคเพื่อคัดเลือกตัวแทนหรือการประชุมคอคัส (caucus) ก่อนที่การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคจะเริ่มต้นเสียอีก ซึ่งหมายความว่า ในการประชุมใหญ่ การเสนอชื่อเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจึงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ดังนั้น การประชุมจึงเน้นวัตถุประสงค์อื่นๆ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
วิดิโอนำเสนอและอธิบายกระบวนการการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดย Voice of America ภาคภาษาไทย. อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 1 ก้าวแรกของการสมัครประธานาธิบดี [ English version ] อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 2 ระดมทุนหาเสียง [ English version ] อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 3 ผลสำรวจประชามติและการโต้อภิปราย [ English version ] อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 4 เลือกตั้งขั้นต้น คอคัสและไพร์มแมรี [ English version ]
อ่านเพิ่มเติม»
โดย Online Media Specialist | 26 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
Here are some selected glossary and facts about the U.S. Presidential Elections, in alphabetical order: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z A การลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้ง (absentee voting) เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถเดินทางไปสถานที่เลือกตั้งสามารถลงคะแนนเสียงได้ สถานการณ์ต่างๆ อาจขัดขวางผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนไม่อาจไปสถานที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ เช่น อาศัยอยู่ต่างประเทศ เจ็บป่วย เดินทาง หรือรับราชการทหาร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนไว้แล้วจะได้รับอนุญาตให้ลงคะแนนเสียงโดยส่งบัตรเลือกตั้งของผู้ไม่สามารถไป ณ ที่เลือกตั้ง (absentee …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย Online Media Specialist | 26 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
1 พฤษภาคม 1931 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เปิดอาคาร Empire State ในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในขณะนั้นด้วยความสูง 102 ชั้น 3 พฤษภาคม 1940 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ กล่าวปราศรัยต่อสตรีสังกัดพรรคเดโมแครตกว่า 4,000 คนที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นที่ทราบกันดีว่าประธานาธิบดีรูสเวลท์ให้การสนับสนุนบทบาทของสตรีในแวดวงการเมือง 4 พฤษภาคม 1865 พิธีฝังศพประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่เมือง Springfield รัฐอิลลินอยส์ หลังจากขบวนรถไฟเคลื่อนศพของท่านเดินทางผ่านเจ็ดรัฐให้ประชาชนได้ร่วมไว้อาลัย 8 พฤษภาคม 1884 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ที่รัฐมิสซูรี ท่านเข้ารับตำแหน่งหลังจากที่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม 1914 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ประกาศให้วันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นวันแม่ (Mother’s Day) ในสหรัฐอเมริกา …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย Online Media Specialist | 25 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
(จาก ShareAmerica ) พรรคการเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งคือพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจะดำเนินการเลือกผู้แทนของพรรคลงรับสมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในการประชุมใหญ่ (Convention) ซึ่งการประชุมนี้จะประกอบด้วยตัวแทนจากแต่ละรัฐและดินแดนของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา รัฐไอโอวา นิวแฮมเชียร์ เนวาดาและเซาท์แคโรไลนารวม 4 รัฐได้จัดการเลือกตัวแทนของรัฐไปแล้ว แต่ในวันที่ 1 มีนาคมหรือ Super Tuesday จะมี 14 รัฐและดินแดนจัดการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมคอคัสเพื่อเลือกตัวแทนกว่า 1,000 คนสำหรับพรรคเดโมแครตและ 600 คนสำหรับพรรครีพับลิกัน ซึ่งตัวแทนเหล่านี้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเลือกผู้สมัครรับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใดคนหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่จะได้เสนอชื่อเป็นผู้แทนของพรรคไปลงสมัครแข่งขันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนเสียงจากตัวแทนในการประชุมใหญ่ของพรรค (Convention) ถึง 2,382 เสียงเป็นอย่างน้อยสำหรับการเป็นผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต และ 1,237 เสียงสำหรับการเป็นผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ดังนั้น รัฐที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นในวัน Super Tuesday จึงมีบทบาทมากในการเลือกผู้ที่จะได้เป็นผู้แทนของพรรคไปลงสมัครแข่งขันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หลายรัฐร่วมมือกัน ทำไมบางรัฐจึงเลือกที่จะจัดการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมคอคัสในวันเดียวกัน? เหตุผลก็คือ เพื่อเน้นความสำคัญของรัฐตน รัฐและดินแดนที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นในวัน Super Tuesday ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กมีประชากรไม่มากและมีจำนวนตัวแทนน้อย การจัดการแข่งขันในวันเดียวกันทำให้ผลการเลือกตั้งโดยรวมในหลายรัฐเหล่านี้มีอิทธิพลมากขึ้นต่อการกำหนดว่า ผู้ใดจะได้รับเลือกเป็นผู้แทนของพรรคไปลงสมัครแข่งขันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ หลายๆ รัฐที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นในวัน Super …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย Online Media Specialist | 24 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
ยินดีต้อนรับสู่เพจแฟ้มภาพการเลือกตั้งสหรัฐฯ คุณจะได้ชมภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการการเมืองสหรัฐฯ ช่วงที่ชาวอเมริกันเตรียมตัวเลือกประธานาธิบดีในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 20 เมษายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
1 ธันวาคม 1842 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตัดสินว่า ผู้ใดจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2385 ตามบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราที่ 12 ของสหรัฐอเมริกา ถ้าไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของการ เลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรจะมีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาตัดสินเลือกประธานาธิบดี 4 ธันวาคม 1783 จอร์จ วอชิงตัน ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการของกองทัพฝ่ายอาณานิคม (Continental Army) หลังจากที่ชาวอเมริกันได้รับชัยในสงครามปฏิวัติต่อต้านอังกฤษในปี พ.ศ. 2324 อย่างไรก็ดี เขาได้รับการเกลี้ยกล่อมให้ระงับความคิดเกษียณราชการ และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา โดยได้ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 2340 6 ธันวาคม 1884 อนุสาวรีย์วอชิงตันสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 6 ธันวาคมของปี 2427 ในช่วงเวลานั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูง 555 ฟุต 7 ธันวาคม 1787 รัฐเดลาแวร์ลงนามเป็นรัฐแรกอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาในยุคใหม่ 10 ธันวาคม 1869 ไวโอมิง (ขณะนั้นยังมีฐานะเป็นดินแดนอยู่) เป็นเขตแรกที่ให้สิทธในการลงคะแนนเสียงแก่สตรีอย่างไม่มีข้อจำกัด 1906 ประธานาธิบดีทีโอดอร์ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประมาณหนึ่งปีก่อนการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากสองพรรคการเมืองใหญ่คือ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจะเริ่มกิจกรรมรณรงค์หาเสียงโดยจะตั้งคณะทำ งานและเริ่ม “ออกเดินทางปราศรัย” ทั่วประเทศเพื่อหาเสียงสนับสนุนและระดมทุนสำหรับการรณรงค์หาเสียง การโต้วาที ในช่วงแรกของการรณรงค์หาเสียง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากทั้งสองพรรคจะปราศรัยโต้วาทีถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ในระหว่างการโต้วาที ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนจะต้องตอบคำถามยากๆ เกี่ยวกับนโยบายของพวกเขา รวมทั้งต้องแก้ต่างจุดยืนของตนในประเด็นและนโยบายต่างๆ การประชุมขั้นต้นและการประชุมคอคัส การประชุมขั้นต้นและการประชุมคอคัสซึ่งเป็น การลงคะแนนเสียงที่สำคัญเริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ การประชุมนี้นำไปสู่การเลือกตัวแทนซึ่งจะไปเข้าร่วมการประชุมใหญ่ระดับ ประเทศของพรรค รัฐที่ได้รับความสนใจมากคือ ไอโอวา นิวแฮมป์เชียร์ เนวาดาและเซาท์แคโรไลนา ซึ่งผลการเลือกตัวแทนของรัฐเหล่านี้มักจะชี้ว่าใครจะได้รับเสนอชื่อเป็นผู้ สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ร่วมหาเสียง ราวเดือนกรกฎาคม ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีจะเริ่มประกาศว่าใครจะเป็น “Running Mate หรือ ผู้ร่วมหาเสียง” ซึ่งคือผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีหากผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคน นั้นๆ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี การประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง ในการประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรค ตัวแทนระดับรัฐจากการประชุมขั้นต้นและการประชุมคอคัสที่ได้รับเลือกจาก ประชาชนจะให้การ “รับรอง” ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่พวกเขาชื่นชอบ และเมื่อการประชุมใหญ่สิ้นสุดลง พรรคการเมืองก็จะออกประกาศอย่างเป็นทางการว่า พรรคได้เสนอชื่อบุคคลใดเป็นตัวแทนของพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นกระบวนการที่ “ผู้เลือกตั้ง” หรือตัวแทนจากแต่ละรัฐซึ่งจะมีจำนวนเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรของรัฐลง คะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดี ผู้เลือกตั้งทั้งหมดมีจำนวน 538 คน ซึ่งได้รับเลือกตามนโยบายของแต่ละรัฐ ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากผู้เลือก …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
การประชุมคอคัสคืออะไร และเหตุใดรัฐไอโอวาจึงลงคะแนนเสียงก่อนรัฐอื่น รัฐไอโอวาซึ่งจะมีการประชุมคอคัส (caucus) ของทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่รัฐที่มีขนาดใหญ่หรือมีประชากรหนาแน่น กระนั้น รัฐนี้กลับมีบทบาทที่สำคัญในการคัดเลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครแข่งขันรับ เลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ การประชุมคอคัสคืออะไร และเหตุใดรัฐไอโอวาจึงลงคะแนนเสียงก่อนรัฐอื่น พรรคกำหนดกฎระเบียบ รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และกฎหมายอื่นๆ กำหนดกฎเกณฑ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีและเจ้าพนักงานรัฐบาลกลางอื่นๆ อย่างไรก็ดี วิธีการที่พรรคจะเลือกผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งนั้นขึ้นอยู่กับพรรค พรรคใหญ่ทั้งสองพรรคจะเลือกผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดีและผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่งรองประธานาธิบดีใน ระหว่างการประชุมใหญ่ของพรรค (convention) ในช่วงฤดูร้อนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ละรัฐจะได้รับการจัดสรรว่าจะมีจำนวนผู้แทนเพื่อเข้าประชุมใหญ่ของพรรค เท่าไร โดยใช้สูตรตามที่พรรคกำหนด (สูตรนี้มักพิจารณาจากจำนวนประชากรของรัฐและรัฐนั้นๆ ออกเสียงเลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดีบ่อยแค่ไหน) การรณรงค์หาเสียงรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีที่เราเห็นส่วนใหญ่ใน ช่วงก่อนการประชุมใหญ่ของพรรคจะเป็นการแข่งขันในระดับรัฐเพื่อเลือกผู้แทน ที่จะเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของพรรค ก่อนหน้านี้ เป็นเวลานานที่เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองเป็นผู้เลือกผู้แทนของรัฐส่วนใหญ่ ดังนั้น ตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีจึงได้รับ เลือกโดยมติของบุคคลสำคัญและเจ้าหน้าที่ของพรรค นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 พรรคการเมืองได้เปิดขั้นตอนที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมการในการคัดเลือก ปัจจุบัน รัฐส่วนใหญ่จัดการเลือกตั้งขั้นต้น (primary election) การเลือกผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเลือกผู้แทนที่ “ให้คำมั่นสัญญา” ว่าจะสนับสนุนผู้ลงสมัครฯ คนนั้นๆ ณ การประชุมใหญ่ของพรรค ปัจจัยกำหนดว่าใครจะเป็นตัวแทนพรรคไปสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดีคือ คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของผู้แทน …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 18 เมษายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
2 เมษายน 1917 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ขอให้สภาคองเกรสประกาศสงครามต่อเยอรมนีโดยแถลงว่า “เราต้องรักษาโลกให้ปลอดภัยสำหรับประชาธิปไตย” 3 เมษายน 1948 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนลงนามในแผน Marshall Plan หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ กฎหมาย Foreign Assistance Act ปี ค.ศ. 1948 แผนนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 โดยมีมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ 4 เมษายน 1818 สภาคองเกรสออกกฎหมายว่าด้วยธง (Flag Act) ปี ค.ศ. 1818 ระบุถึงธงที่กำหนดรูปแบบธงต่างๆ ที่ตามมาให้มี 13 แถบซึ่งหมายถึงอาณานิคม 13 แห่งแรก และมีดาวแต่ละดวงแทนรัฐแต่ละรัฐ 1841 ประธานาธิบดี วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน ประธานาธิบดีคนที่ 9 ของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรมจากโรคปอดบวม ณ ทำเนียบขาว …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 เมษายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 มีนาคม 1960 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีก่อตั้งหน่วยอาสาสมัครสันติภาพหรือ Peace Corps โดยประกาศผู้บริหารฉบับนี้สร้างโอกาสให้พลเรือนอเมริกันได้อาสาทำงานบำเพ็ญ ประโยชน์ สละเวลาและใช้ความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศด้อย พัฒนา 1872 ประธานาธิบดีแกรนท์ลงนามในกฎหมายซึ่งกำหนดให้ Yellowstone เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ 3 มีนาคม 1931 เพลง Star-Spangled Banner ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติของสหรัฐอเมริกา 4 มีนาคม 1789 รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) โดยมีการประชุมสภาเป็นครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก 1861 อับราฮัม ลินคอล์นสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา 1913 วู้ดโรว์ วิลสัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา 1933 แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ในพิธีสาบานตน ท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งมีความตอนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายว่า “สิ่งเดียวที่เราควรกลัวคือ …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มีนาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
1 กุมภาพันธ์ 1790 ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาประชุมครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก 3 กุมภาพันธ์ 1924 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ถึงแก่อสัญกรรม ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ขณะมีอายุ 67 ปี 4 กุมภาพันธ์ 1789 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา 1792 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง 6 กุมภาพันธ์ 1911 โรนัลด์ เรแกน เกิดวันนี้ในรัฐอิลลินอยส์ ภายหลังเรแกนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 40 ขอ สหรัฐอเมริกา โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยระหว่างปี 1981-1989 9 กุมภาพันธ์ 1825 ไม่มีผู้สมัครลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียง เพียงพอชนะการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยการลงคะแนนเสียงเลือก จอห์น ควินซี แอดัมส์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 แห่งสหรัฐอเมริกา 1773 วิลเลียม เฮนรี …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 กุมภาพันธ์, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
รัฐสีแดง (Red state) หมายถึงรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่มักสนับสนุนผู้ สมัครรับเลือกตั้งและแนวคิดต่างๆ ของพรรครีพับลิกัน
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
ในสหรัฐฯ มีอุปกรณ์ลงคะแนนเลือกตั้งมากมายหลายหลาก และลักษณะของเทคโนโลยีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ในอดีตบางเขตเลือกตั้งยังคงใช้เครื่อง “คันโยก” ซึ่งผู้ออกเสียงลงคะแนนจะโยกคันโยกเล็กๆ ที่อยู่ข้างชื่อผู้สมัครที่ตนชอบหรือประเด็นที่ตนสนับสนุน
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
จอห์น เอฟ. เคนเนดี คือประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2504-2506) โดยเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ท่านถูกลอบสังหารที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส หลังดำรงตำแหน่งได้เพียงหนึ่งพันกว่าวัน จึงนับเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุน้อยที่สุด อีกด้วย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี เคยให้คำแนะนำอันเป็นที่เลื่องลือแก่ชาวอเมริกันว่า “จงถามว่าคุณทำอะไรให้ประเทศของคุณได้บ้าง”
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
ประธานาธิบดี “จอห์น”: “จอห์น” เป็นชื่อที่มีที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิล มีความหมายว่า พระคุณหรือพระเมตตาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า “จอห์น” ยังเป็นชื่อต้นของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสี่ท่าน ได้แก่ จอห์น แอดัมส์ (ประธานาธิบดีคนที่ 2 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2340-2344) จอห์น ควินซี แอดัมส์ (ประธานาธิบดีคนที่ 6 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2368-2372) จอห์น เทเลอร์ (ประธานาธิบดีคนที่ 10 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2384-2388) และจอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี (ประธานาธิบดีคนที่ 35 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2504-2506)
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
1 มกราคม 1863 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ลงนามในประกาศเลิกทาสซึ่งนำไปสู่การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ให้อิสรภาพแก่ทาสทุกคนที่อยู่ในรัฐที่ยังคงมีการต่อต้านอยู่ใน ช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน 2 มกราคม 1960 วุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 3 มกราคม 1959 รัฐอะแลสกาเข้าเป็นรัฐที่ 49 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อประธานาธิบดีไอเซนเฮาร์ลงนามในประกาศพิเศษรับดินแดนนี้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพ (Union) รัฐอะแลสกากลายเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 4 มกราคม 2007 ในการประชุมสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 110 Nancy Pelosi ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีเป็นคนแรก 5 มกราคม 1972 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันลงนามในร่างกฎหมายมูลค่า 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐอนุมัติดำเนินการโครงการกระสวยอวกาศ 6 มกราคม 1919 ทีโอดอร์ โรสเวลท์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรม ณ บ้านพักของเขาที่นิวยอร์ก ทีโอดอร์ โรสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดขณะที่อายุเพียง 43 ปี เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งหลังจากประธานาธิบดีวิลเลียม …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
John Zogby ผู้ก่อตั้ง “Zogby Poll” และกลุ่มบริษัท Zogby เป็นผู้สำรวจความคิดเห็น ผู้นำทางความคิดและนักเขียนหนังสือขายดีชาวอเมริกันที่ได้รับการยกย่องจาก ทั่วโลก การสำรวจความคิดเห็นของเขาใช้ทั้งวิธีโทรศัพท์และวิธีทางอินเทอร์เน็ตเชิง โต้ตอบ ผลสำรวจความคิดเห็นของ John Zogby ตรงกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2539 อย่างแม่นยำ รวมทั้งอีกสองครั้งต่อมาด้วย การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของ John Zogby ยังคงแม่นยำที่สุดตลอดการเลือกตั้งห้าครั้ง เขาเคยทำหน้าที่นักวิเคราะห์ในการถ่ายทอดสดการเลือกตั้งให้แก่สถานีโทรทัศน์ NBC News, BBC, CBC, และABC (ออสเตรเลีย) และ Foreign Press Center ในกรุงวอชิงตันจะกล่าวถึงเขาในการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2541
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
ในสหรัฐฯ ในทุกปีที่เป็นเลขคู่ จะมีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่เข้าดำรงตำแหน่งระดับรัฐบาลกลางบางตำแหน่ง และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่ แต่ก็มีรัฐบางรัฐและเขตท้องถิ่นบางเขตจัดการเลือกตั้งในปีที่เป็นเลขคี่ ดังนั้น ทุกๆ สี่ปี ชาวอเมริกันจะเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี และทุกๆ สองปี ชาวอเมริกันจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 435 คน และวุฒิสมาชิกราวหนึ่งในสามของวุฒิสมาชิกทั้งหมด 100 คน วุฒิสมาชิกอยู่ในตำแหน่งคนละหกปี แต่จะครบวาระไม่พร้อมกัน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปีพ.ศ. 2559
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
ในสหรัฐฯ มีอุปกรณ์ลงคะแนนเลือกตั้งมากมายหลายหลาก และลักษณะของเทคโนโลยีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่แห่งที่มีการลงคะแนนเสียงด้วยการใช้บัตรกระดาษลงคะแนนที่ต้อง ทำเครื่องหมายกากบาท X ข้างชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างที่เคยทำในอดีต อย่างไรก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้บัตรกระดาษที่มีการระบายทึบวงกลมหรือลาก เส้นโยง จากนั้น จะมีการสแกนบัตรเลือกตั้งเพื่อบันทึกการลงคะแนนเสียง อุปกรณ์นี้เรียกว่า เครื่องสแกน
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
Jeannette Rankin สมาชิกพรรครีพับลิกันจากรัฐมอนแทนาเข้านั่งประจำที่ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2459 ในฐานะสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งสู่รัฐสภา ก่อนสหรัฐฯ ออกบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบทที่ 19 ในปี พ.ศ. 2463 ซึ่งให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิงอเมริกันทุกคน Rankin ยืนยันว่า ความสามารถและความเชี่ยวชาญของสตรีเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสังคมที่ดีขึ้น เธอกล่าวว่า “ผู้ชายและผู้หญิงก็เหมือนมือขวาและมือซ้าย ไม่มีเหตุผลเลยที่จะไม่ใช้มือทั้งสองข้าง” ในปี 2475 Hattie Caraway ซึ่งแรกเริ่มได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนสามีผู้ล่วงลับ ได้กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกรัฐอาร์คันซอ ด้วยตัวของเธอเองโดยเป็นผู้แทนรัฐอาร์คันซอ เธอถูกขนานนามว่า “silent Hattie” เพราะไม่ค่อยอภิปรายสาธารณะบ่อยนัก Caraway ทำงานอย่างเอาจริงเอาจังมากและสร้างชื่อเสียงว่าเป็นบุคคลที่มีจรรยาบรรณสูง Margaret Chase Smith เป็นผู้แทนรัฐเมนโดยครั้งแรกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและต่อมาเป็น วุฒิสมาชิก นับเป็นสตรีคนแรกที่ทำงานในทั้งสองสภา เมื่อปี พ.ศ. 2507 ในการประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกัน ที่ประชุมพิจารณา Smith ให้เป็นผู้แทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่คะแนนสนับสนุนเธอแพ้ต่อ Barry Goldwater
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
การลงคะแนนเสียง (Voting) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและหน้าที่รับผิดชอบของพลเมืองสหรัฐฯ กล่าวคือ สิทธิที่จะมีส่วนออกความคิดเห็นว่า ตนควรอยู่ภายใต้การปกครองลักษณะใด และหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งและ ประเด็นต่างๆ เมื่อตนไปคูหาเลือกตั้ง
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
1 พฤศจิกายน 1800 ในปีสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงสมัยเดียว ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ได้ย้ายไปพำนักในอาคารพักของประธานาธิบดีที่เพิ่งสร้างใหม่ซึ่งมีชื่อดั้ง เดิมที่เรียกขานกันจนถึงทุกวันนี้คือ ทำเนียบขาว หรือ White House 2 พฤศจิกายน 1948 ประธานาธิบดีทรูแมนชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นสมัย ที่ 2 ประธานาธิบดีทรูแมนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรม 3 พฤศจิกายน 1964 ประชาชนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก เมื่อประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ตัดสินใจให้ District of Columbia เป็นนครของรัฐบาลกลางของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2333 รัฐสภาได้พิจารณาและลงมติระงับสิทธิในการออกเสียงของประชากรของเมืองนี้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2504 บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบทที่ 23 ได้คืนสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนให้แก่ผู้ที่พำนักในเมืองนี้ 4 พฤศจิกายน 2008 ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีเชื้อสาย แอฟริกัน-อเมริกันเป็นคนแรก อดีตวุฒิสมาชิกของรัฐอิลินอยส์ท่านนี้ได้ชัยเหนือนายจอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกของรัฐแอริโซนาและกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา 5 …
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 พฤศจิกายน, 2015 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
เกิดขึ้นเมื่อจำนวนตัวเลือกที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกในการแข่งขันน้อยกว่า จำนวนสูงสุดที่อนุญาตให้เลือกได้ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ หรือเมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงไม่เลือกเลยในกรณีที่การแข่งขันครั้งนั้นมี เพียงตัวเลือกเดียว
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตได้ครอบครองการเมืองระบบเลือกตั้งมาตั้งแต่ คริสต์ทศวรรษ 1860 การที่มีพรรคการเมืองสองพรรคผลัดกันผูกขาดการเลือกตั้งของประเทศมาเป็นระยะ เวลานานอย่างไม่มีที่ใดเทียบได้นี้ สะท้อนถึงโครงสร้างของระบบการเมืองอเมริกันและลักษณะพิเศษของพรรคการเมืองใน ประเทศนี้
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
คำว่า “Super Tuesday” เริ่มใช้กันอย่างกว้างขวางในปี 2531 เมื่อกลุ่มรัฐทางใต้รวมตัวกัน จัดการประชุมขั้นต้นระดับภูมิภาคที่ใหญ่และมีประสิทธิผลมากเป็นครั้งแรก เพื่อเสริมความสำคัญของรัฐทางใต้ในกระบวนการเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ตำแหน่งประธานาธิบดีและลดผลกระทบของการลงคะแนนเสียงก่อนของการประชุมคอคัสใน รัฐไอโอวาและการประชุมขั้นต้นในรัฐนิวแฮมเชียร์ ปัจจุบัน ความหมายของวลีนี้เริ่มคลุมเครือ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีหลายรัฐในหลายภูมิภาครวมกลุ่มจัดการประชุมขั้นต้นใน วันอังคารเดียวกันหรือคนละวัน การรวมกลุ่มของรัฐเหล่านี้สำคัญมากเพราะน้ำหนักของคะแนนเสียงที่มากและพร้อม เพรียงกันมีโอกาสส่งเสริมหรือสร้างความผิดหวังให้แก่ผู้ที่หวังจะได้รับเสนอ ชื่อให้เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเพราะมีการ เลือกตัวแทนไปเข้าร่วมการประชุมระดับประเทศของพรรคจำนวนมากในคราวเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
ตำแหน่งในรัฐบาลกลางที่มาจากการเลือกตั้งแต่ละตำแหน่งจะมีคุณสมบัติแตก ต่างกันไปตามที่กำหนดไว้ในมาตราที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ตัวอย่างเช่น ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีต้องมีสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด มีอายุอย่างต่ำ 35 ปี และพำนักอยู่ในสหรัฐฯ อย่างน้อย 14 ปี ผู้สมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีก็ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 ยังระบุว่ารองประธานาธิบดีห้ามมาจากรัฐเดียวกับประธานาธิบดีด้วย สำหรับผู้สมัครตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นั้น ต้องมีอายุอย่างต่ำ 25 ปี มีสัญชาติอเมริกันมาแล้ว 7 ปี และเป็นผู้พำนักอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐที่ตนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนผู้สมัครตำแหน่งวุฒิสมาชิก (ส.ว.) จะต้องมีอายุอย่างต่ำ 30 ปี มีสัญชาติอเมริกันมาแล้ว 9 ปี และเป็นผู้พำนักอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐที่ตนลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสำหรับตำแหน่งอื่นๆ ในระดับรัฐหรือระดับท้องถิ่นจะต้องมีคุณสมบัติตามที่รัฐหรือท้องถิ่นของตน กำหนดไว้
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
การเลือกตั้งขั้นต้น (Primary election) – หมายถึงการเลือกตั้งที่จัดขึ้นเพื่อเลือกตัวแทนพรรคการเมืองแต่ละพรรคเพื่อ เข้าชิงตำแหน่งทางการเมือง การเลือกตั้งขั้นต้นอาจจัดขึ้นในทุกระดับชั้นของรัฐบาล รวมทั้งการเลือกนายกเทศมนตรี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขต การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐหรือการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกทั่วรัฐ
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
นอกจากการเลือกตั้งระดับรัฐบาลกลาง ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นซึ่งจัดขึ้นในปีที่เป็นเลขคู่แล้ว บางรัฐและท้องถิ่นบางแห่งก็จัดการเลือกตั้งในปีที่เป็นเลขคี่ด้วย มีหลายแห่งที่จัดการเลือกตั้งพิเศษ ซึ่งอาจจัดในช่วงเวลาใดก็ตาม เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อเลือกตั้งเจ้าหน้าที่เข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงอย่างไม่คาดหมาย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
การโฆษณาทางลบ (Negative ads) – หมายถึงการโฆษณาที่พยายามโน้มน้าวให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนเสียงให้ผู้ สมัครคนใดคนหนึ่งด้วยวิธีการสร้างภาพลบให้ผู้สมัครคู่แข่ง อาจเป็นการโจมตีบุคลิกลักษณะของผู้สมัครรายนั้นหรือท่าทีที่ผ่านมาของผู้ สมัครในเรื่องต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
การเลือกตั้งกึ่งเทอม (Midterm election) – หมายถึงการเลือกตั้งเพื่อชิงเก้าอี้ในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่ ประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งอยู่ หรือ 2 ปีหลังจากที่ประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งซึ่งมีวาระ 4 ปี บางครั้งจะมีการตีความผลของการเลือกตั้งดังกล่าวว่าเป็นการแสดงถึงทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อผลงานของประธานาธิบดีในช่วง 2 ปีแรกที่ดำรงตำแหน่ง การเลือกตั้งกึ่งเทอมนี้เป็นการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกใหม่จำนวนหนึ่งและสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรใหม่ทั้งหมดรวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและท้องถิ่นจำนวนมาก
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้สนับสนุนต่างมีความรวดเร็วในการนำอินเทอร์เน็ตไป ใช้เป็นเครื่องมือการหาเสียง และได้พิสูจน์แล้วว่าอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีการระดมทุนจากผู้ที่คาดว่าจะให้ ความสนับสนุนตลอดทั้งเป็นวิธีประชาสัมพันธ์นโยบายและประสบการณ์ของผู้สมัคร ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง ในปัจจุบัน องค์กรรณรงค์หาเสียงต่างมีเว็บไซต์ส่วนตัว (blog) ผู้จัดการเว็บไซต์ส่วนตัวเหล่านี้คือ เจ้าหน้าที่รณรงค์หาเสียงที่ได้รับการว่าจ้างให้เขียนเกี่ยวกับคำปราศรัย สุนทรพจน์และกิจกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ในขณะเดียวกัน ก็มี blog อิสระหลายพันเว็บไซต์ที่เขียนบทความสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเอง ชอบและตอบโต้กับ blogger อื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
การแข่งม้า (Horse race) – เป็นคำอุปมาหมายถึงการหาเสียงเลือกตั้ง คำว่า “การแข่งม้า”จะแสดงความรู้สึกตื่นเต้นของประชาชนในขณะที่ชมการแข่งขันกีฬา คำนี้ยังหมายถึงการเสนอข่าวเกี่ยวกับการหาเสียงซึ่งมักเน้นสถานะความนิยมของ ผู้สมัครแต่ละคนจากการหยั่งเสียงประชาชนราวกับว่าผู้สมัครเหล่านั้นเป็นม้า แข่ง แทนที่จะกล่าวถึงทัศนคติ ความคิดเห็นของผู้สมัครในเรื่องต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
เมื่อการเลือกตั้งขั้นต้นหรือการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองสิ้นสุดลง ก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อตัดสินว่าใครจะได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรง ตำแหน่ง ในการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่อยู่บนบัตร เลือกตั้ง บัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปนี้อาจมีผู้สมัครอิสระ (ซึ่งไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด) ให้เลือกด้วย ผู้สมัครอิสระเหล่านี้จะมีชื่ออยู่บนบัตรเลือกตั้งได้ก็ต่อเมื่อได้ยื่นคำ ร้องพร้อมลายมือชื่อจากผู้สนับสนุนครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งขั้นต้น นอกจากนี้ บัตรเลือกตั้งของบางรัฐอาจมีช่องให้ใส่ชื่อผู้สมัครที่ไม่ได้มาจากการเสนอ ชื่อของพรรคการเมือง หรือไม่ได้ยื่นคำร้องพร้อมลายมือชื่อของผู้สนับสนุน ผู้สมัครประเภทนี้อาจเรียกว่า “ผู้สมัครที่เสนอชื่อตัวเอง” และเคยชนะการเลือกตั้งมาแล้วด้วย
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
สหรัฐฯ มีระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐที่ซับซ้อน โดยมีรัฐบาลแห่งชาติสำคัญที่สุด แต่รัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่นก็มีอำนาจในเรื่องที่ไมได้สงวนไว้สำหรับ รัฐบาลกลาง รัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในระดับที่แตกต่างกันไปในการ จัดการเลือกตั้งในเขตความรับผิดชอบของตน แต่ก็จัดการเลือกตั้งบ่อยครั้ง ซึ่งมีความแน่นอนและราบรื่น
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
ช้างเป็นสัญลักษณ์ประจำพรรครีพับลิกัน นักวาดการ์ตูนการเมืองชื่อโทมัส แนสต์ ได้วาดภาพการ์ตูนสัตว์สองชนิดไว้ในนิตยสาร Harper’s Weekly ในปี พ.ศ. 2417 โดยภาพหนึ่งเป็นภาพช้างทำท่าบุกเพื่อหมายถึง “คะแนนเสียงสำหรับพรรครีพับลิกัน” พรรครีพับลิกันรีบอ้าแขนรับภาพนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพรรคทันทีและใช้ภาพนั้น อย่างกว้างขวาง หลายปีผ่านไป ลาและช้างได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันของพรรคเดโมแครตและพรรครี พับลิกัน
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
ลาเป็นสัญลักษณ์แทนพรรคเดโมแครต ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นสมาชิกพรรคเดโมแครตคนแรกที่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์รูปลานี้ อย่างไรก็ตาม ภาพที่เป็นที่จดจำมากที่สุดมาจากการ์ตูนของโทมัส แนสต์ ที่วาดภาพพรรคเดโมแครตเป็นรูปลาซึ่งเป็นสัตว์ที่มองกันว่าดื้อด้าน แต่พรรคเดโมแครตก็แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของพรรคโดยยอมรับรูปลาเป็น สัญลักษณ์ของพรรคอย่างไม่เป็นทางการ โดยมองว่า ลาและพรรคเดโมแครตมีคุณสมบัติที่ดีเหมือนกันหลายอย่าง เช่น ไม่ยอมจำนนง่ายๆ ทั้งยังนำภาพลารูปแบบต่างๆ มาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ตลอดช่วงที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
การประชุมใหญ่: ในปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี หลังจากการเลือกตั้งขั้นต้น (primary) และการประชุมแบบคอคัส (caucus) ของรัฐต่างๆ เสร็จสิ้นลง พรรคการเมืองจะจัดการประชุมเพื่อเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดี โดยทั่วไป ผู้สมัครดังกล่าวคือผู้ที่ได้รับเสียงสนับสนุนมากที่สุดจากผู้แทนพรรคที่ เข้าร่วมการประชุมใหญ่ โดยขึ้นอยู่กับชัยชนะจากการเลือกตั้งขั้นต้น ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีมักเลือกผู้ ร่วมหาเสียงเป็นผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี หรืออาจเริ่มกระบวนการคัดเลือกผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีต่อผู้ แทนพรรคที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ได้เลยโดยไม่เสนอชื่อผู้ใดก่อน
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
“รัฐสีน้ำเงิน” คือคำที่ใช้เรียกรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ผู้ออกเสียงลงคะแนนส่วนใหญ่มักให้การ สนับสนุนผู้เข้าแข่งขันและนโยบายของพรรคเดโมแครต
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง
การลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้ง (absentee voting) เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถเดินทางไปสถานที่เลือกตั้ง สามารถลงคะแนนเสียงได้ สถานการณ์ต่างๆ อาจขัดขวางผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนไม่อาจไปสถานที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ เช่น อาศัยอยู่ต่างประเทศ เจ็บป่วย เดินทาง หรือรับราชการทหาร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนไว้แล้วจะได้รับอนุญาตให้ลงคะแนนเสียงโดย ส่งบัตรเลือกตั้งของผู้ไม่สามารถไป ณ ที่เลือกตั้ง (absentee ballot) ผ่านทางไปรษณีย์ รัฐบัญญัติ Uniformed and Overseas Citizens Absentee Voting Act กำกับควบคุมการลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้งสำหรับการเลือก ตั้งประธานาธิบดี ส่วนหลักเกณฑ์การลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้งสำหรับการเลือก ตั้งอื่นๆ นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐกำหนด รัฐโอเรกอนดำเนินการเลือกตั้งทั้งหมดทางไปรษณีย์ แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจเลือกลงคะแนนเสียงด้วยตนเองที่หน่วยเลือกตั้งของ เคาน์ตีก็ได้
อ่านเพิ่มเติม»
โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2014 | ประเภท: เลือกตั้ง