ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก เดินทางเยือนไทย 17-20 เมษายน 2566

ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก เดินทางเยือนไทย 17-20 เมษายน 2566 พลเอก ชาร์ลส์ ฟลินน์ ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะมาเยือนไทยเป็นครั้งที่สองตั้งแต่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่กองทัพบกไทย ระหว่างวันที่ 17-20 เมษายนนี้ พล.อ. ฟลินน์ มีความผูกพันกับไทยเป็นพิเศษผ่านความร่วมมือหลายครั้งนับตั้งแต่การเยือนไทยครั้งแรกในปี 2540 เมื่อครั้งยังเป็นพันตรี เพื่อเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ การเดินทางเยือนไทยและชาติภาคีอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องที่จะยกระดับวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงร่วมกัน ตลอดจนเพิ่มความซับซ้อนของการฝึกซ้อมทางทหาร สนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย และส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อ่านประวัติของ พล.อ. ฟลินน์ ได้ที่ https://www.usarpac.army.mil/Our-Team/Our-Leaders/Biography-Display/Article/3219624/gen-charles-a-flynn/

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐฯ เปิดตัวโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการริเริ่มระหว่าง USAID และ NASA เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค พร้อมด้วย ดร.คาเรน เอ็ม. เซนต์ เจอร์เมน ผู้อำนวยการภาควิทยาศาสตร์พื้นพิภพ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือนาซา ร่วมเป็นประธานเปิดตัวโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERVIR-Southeast Asia) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การนาซา เพื่อช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการปรับตัวและรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศข้ามพรมแดนและระดับภูมิภาค รวมถึงลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “โครงการใหม่นี้จะขยายขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ของโครงการเซอร์เวียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินงานเพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนและธุรกิจในไทยและอาเซียน ไม่เพียงแต่สามารถปรับตัวเข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ แต่สามารถเติบโตท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้” เอกอัครราชทูตโกเดค กล่าว โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในห้าศูนย์ระดับโลกภายใต้โครงการเซอร์เวียร์ โดยต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong) ซึ่งใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีดาวเทียมสาธารณะเพื่อสนับสนุนองค์การระดับภูมิภาค รัฐบาล และชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภัยพิบัติ ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน รวมไปถึงปัญหามลพิษทางอากาศ ตั้งแต่ปี 2557-2565 โครงการเซอร์เวียร์แม่โขงได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ช่วยวิเคราะห์ตัดสินใจจำนวน 21 รายการ มีผู้ผ่านการอบรบมากกว่า 1,500 คน จัดสรรเงินทุนเพื่อใช้สำหรับพัฒนาโครงการเพิ่มเติม 500,000 เหรียญสหรัฐ ตลอดจนส่งผลให้มีการใช้นโยบาย 4 ประการเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 250 …

อ่านเพิ่มเติม»

แถลงการณ์โดยโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน สมัยพิเศษ

แถลงการณ์โดยโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน สมัยพิเศษ 16 เมษายน 2565 ประธานาธิบดีไบเดนจะต้อนรับผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในการประชุมสุดยอดสหรัฐอเมริกา-อาเซียน สมัยพิเศษ (U.S.-ASEAN Special Summit) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคมนี้ การประชุมดังกล่าวจะแสดงถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทที่สหรัฐฯ มีต่ออาเซียนมาอย่างยาวนาน โดยเล็งเห็นถึงบทบาทหลักของอาเซียนในการคลี่คลายความท้าทายเร่งด่วนที่สุดของภูมิภาคอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจะเป็นการเฉลิมฉลอง 45 ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอาเซียนอีกด้วย การประชุมครั้งนี้จะต่อยอดจากเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีไบเดนได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน เดือนตุลาคม 2564 และประกาศข้อริเริ่มใหม่ ๆ มูลค่า 102 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายความร่วมมือของเรากับอาเซียนในด้านการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 และความมั่นคงด้านสุขภาพ ตลอดจนการต่อสู้วิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป้าหมายสำคัญอันดับต้น ๆ ของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือการเป็นหุ้นส่วนที่มั่นคงและพึ่งพาได้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกันสำหรับภูมิภาคนี้ ซึ่งจะยังคงเป็นรากฐานความมุ่งมั่นร่วมกัน เพื่อยกระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง มั่นคง เชื่อมโยง และพร้อมรับมือ ###

อ่านเพิ่มเติม»

ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก เดินทางเยือนไทย 23-25 มีนาคม 2565

พลเอก ชาร์ลส์ ฟลินน์ ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะมาเยือนไทยเป็นครั้งแรกตั้งแต่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่กองทัพบกไทย ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคมนี้ โดยจะเข้าร่วมพิธีปิดการฝึกหนุมานการ์เดียน ซึ่งเป็นการฝึกผสมระดับทวิภาคีประจำปีระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก นอกจากนี้ พล.อ. ฟลินน์ ยังจะเยี่ยมชมสถานที่จัดกิจกรรมความร่วมมือซึ่งมีสำคัญระหว่างกองทัพสหรัฐฯ และไทยอีกหลายแห่ง ทั้งนี้ พล.อ. ฟลินน์ มีความผูกพันกับไทยเป็นพิเศษผ่านความร่วมมือหลายครั้งนับตั้งแต่การเยือนไทยครั้งแรกในปี 2540 เมื่อครั้งยังเป็นพันตรี เพื่อเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ การเยือนไทยในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องของเราที่จะยกระดับวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงร่วมกัน ตลอดจนเพิ่มความซับซ้อนของการฝึกซ้อมทางทหาร สนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย และส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง นอกจากนี้ พล.อ. ฟลินน์ จะเดินทางไปยังชาติภาคีอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม»

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา

ยุทธศาสตร์ อินโด-แปซิฟิก ของสหรัฐอเมริกา กุมภาพันธ์ 2565 ทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. “อนาคตของเราแต่ละประเทศ ซึ่งแท้จริงแล้วคือทั้งโลกนั้น ขึ้นอยู่กับความยืนยงและเจริญรุ่งเรืองในอีกหลายทศวรรษข้างหน้าของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง” ประธานาธิบดี โจ ไบเดน การประชุมผู้นำกลุ่มภาคี 4 ประเทศ 24 กันยายน 2564 สารบัญ I. สัญญาณแห่งอนาคตที่ดีของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก II. ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ยกระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พัฒนาสัมพันธภาพทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ขับเคลื่อนความมั่งคั่งของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก สร้างความพร้อมรับมือระดับภูมิภาคต่อภัยคุกคามข้ามชาติในศตวรรษที่ 21 III. แผนปฏิบัติการว่าด้วยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก IV. บทสรุป สัญญาณแห่งอนาคตที่ดีของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก สหรัฐอเมริกาเป็นชาติมหาอํานาจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พื้นที่ภูมิภาคนี้ทอดยาวจากชายฝั่งแปซิฟิกไปจรดมหาสมุทรอินเดียและเป็นที่อาศัยของผู้คนกว่ากึ่งหนึ่งของประชากรโลก โดยมีขนาดเศรษฐกิจเกือบ 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเป็นที่ตั้งของ 7 กองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีทหารอเมริกันประจำการอยู่ในภูมิภาคนี้มากกว่าที่อื่นใดนอกสหรัฐฯ ภูมิภาคนี้สนับสนุนงานของอเมริกามากกว่า 3 ล้านตําแหน่งและเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสหรัฐฯ เกือบ 900,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภูมิภาคนี้ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 2 ใน 3 ของโลก จึงย่อมจะทรงอิทธิพลมากขึ้นและมีความสำคัญต่อสหรัฐฯ ยิ่งขึ้นไปในอนาคต สหรัฐฯ ได้ตระหนักมานานแล้วว่า ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมีความสําคัญยิ่งต่อความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ ความสัมพันธ์ของเราเริ่มขึ้นเมื่อ 2 ศตวรรษก่อนเมื่อชาวอเมริกันเดินทางมาภูมิภาคนี้เพื่อแสวงหาโอกาสทางการค้า …

อ่านเพิ่มเติม»

เอกสารข้อเท็จจริง: ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา

เอกสารข้อเท็จจริง: ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา “เรามองเห็นอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง เชื่อมโยง มั่งคั่ง พร้อมรับมือ และมั่นคง และเราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพวกท่านแต่ละคนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น” ประธานาธิบดี โจ ไบเดน การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก 27 ตุลาคม 2564 รัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส ได้สร้างความก้าวหน้าครั้งประวัติศาสตร์เพื่อฟื้นฟูความเป็นผู้นำของอเมริกาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และปรับบทบาทของรัฐสำหรับศตวรรษที่ 21 ในปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้พัฒนาพันธไมตรีที่มีมาช้านานของเราให้เหมาะสมกับยุคสมัย ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใหม่ และเชื่อมโยงพันธมิตรของเราด้วยแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้รับมือกับความท้าทายเร่งด่วน ตั้งแต่การแข่งขันกับประเทศจีนไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดใหญ่ สหรัฐฯ ดำเนินการดังกล่าวในช่วงเวลาที่พันธมิตรและหุ้นส่วนทั่วโลกกำลังมีส่วนร่วมในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมากขึ้น และยังเป็นช่วงเวลาที่พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองฝ่ายในรัฐสภาสหรัฐฯ เห็นพ้องกันเป็นวงกว้างว่าจะต้องทำเช่นนี้ ความมุ่งมั่นที่ประเทศต่าง ๆ มีต่อภูมิภาคนี้โดยพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะมีมหาสมุทรกางกั้นหรือมีนโยบายทางการเมืองเช่นใดก็ตาม สะท้อนให้เห็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก และอนาคตของภูมิภาคนี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก ความจริงข้อนั้นเป็นพื้นฐานของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ยุทธศาสตร์นี้แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดีไบเดนที่จะให้สหรัฐฯ ยืนหยัดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างเต็มภาคภูมิยิ่งขึ้น และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาคนี้ไปพร้อมกัน โดยหัวใจสำคัญคือความร่วมมืออย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์กับพันธมิตร หุ้นส่วน และองค์การต่าง ๆ ภายในภูมิภาคและนอกภูมิภาค สหรัฐฯ จะดำเนินการเพื่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่มีลักษณะดังนี้ 1. เสรีและเปิดกว้าง ผลประโยชน์สำคัญของเราและบรรดาพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเราจะบังเกิดได้ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง และภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างก็จำต้องมีรัฐบาลที่สามารถตัดสินใจได้เองและมีการบริหารปกครองพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันตามหลักกฎหมาย ยุทธศาสตร์ของเราเริ่มต้นด้วยการเสริมสร้างความพร้อมรับมือ ทั้งภายในแต่ละประเทศ ดังที่เราทำในสหรัฐฯ และระหว่างประเทศเหล่านั้น เราจะพัฒนาภูมิภาคที่เสรีและเปิดกว้างด้วยวิธีการต่าง ๆ …

อ่านเพิ่มเติม»

คำแถลงโดยโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2566 ของสหรัฐอเมริกา

คำแถลงโดยโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2566 ของสหรัฐอเมริกา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เราภูมิใจที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความทุ่มเทของเราในการยกระดับการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอเมริกา และธำรงภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริสเสนอเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า เพราะเรามุ่งมั่นขยายและสร้างเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และเราขอขอบคุณมิตรสหายสมาชิกเอเปคที่สนับสนุนสหรัฐฯ ในบทบาทดังกล่าว เป้าหมายสูงสุดประการหนึ่งของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือ การเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและพึ่งพาได้ของสมาชิกเอเปค ตลอดจนกำหนดวิถีทางสู่โอกาส ความมั่งคั่ง และการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับเราร่วมกันทุกฝ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เรมอนโด พร้อมด้วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เอกอัครราชทูตไท และคณะทำงานของเรากำลังพัฒนากรอบเศรษฐกิจภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ร่วมกับหุ้นส่วนของสหรัฐฯ เอกสารดังกล่าวจะระบุถึงวัตถุประสงค์ที่เรามีร่วมกันในด้านต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่ออนาคตของเรา อาทิ การอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์ มาตรฐานสำหรับเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน การลดการปล่อยคาร์บอนและพลังงานสะอาด โครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บลิงเคน ยังได้เดินทางเยือนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในสัปดาห์นี้ เพื่อสานต่อพันธไมตรีทางการทูตที่สำคัญและผลักดันประเด็นที่เราให้ความสนใจอย่างสูงร่วมกันต่อไป สหรัฐฯ มุ่งมั่นร่วมมือกับไทยอย่างใกล้ชิด ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี 2565 รวมถึงเปรู ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี 2567 …

อ่านเพิ่มเติม»

แถลงการณ์โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในโอกาสครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์รัฐประหารในพม่า

แถลงการณ์โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในโอกาสครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์รัฐประหารในพม่า  31 มกราคม 2565 เมื่อ 1 ปีที่แล้ว กองทัพทหารพม่าปฏิเสธเจตจำนงของประชาชน ล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย และยึดอำนาจโดยการก่อรัฐประหาร ตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลทหารได้กระทำการโหดเหี้ยมทารุณนับครั้งไม่ถ้วน และใช้ความรุนแรงที่เลวร้ายเหลือพรรณนาต่อประชาชน รวมไปถึงเด็ก มีผู้ถูกสังหารกว่า 1,500 ชีวิต อีกหลายพันคนถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมหรือถูกดำเนินคดีโดยมิชอบ การทุจริตลุกลามไปทั่ว ความขัดแย้งภายในประเทศทวีความรุนแรง เหตุการณ์รัฐประหารสร้างความทนทุกข์แสนสาหัสทั่วพม่าและบ่อนทำลายเสถียรภาพของภูมิภาค ในขณะที่ผู้นำรัฐบาลทหารและผู้สนับสนุนมุ่งกอบโกยผลประโยชน์จากภาวะวิกฤตที่พวกตนเป็นผู้สร้าง และแม้ว่าหลายล้านชีวิตในพม่าจะขาดแคลนความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตอย่างหนัก รัฐบาลทหารก็ยังขัดขวางการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและโจมตีผู้ดำเนินความช่วยเหลือดังกล่าว เราขอประณามการกระทำที่โหดร้ายรุนแรงเหล่านี้ และยังจะเดินหน้าร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคีและพันธมิตรของเรา ซึ่งรวมถึงอาเซียน เพื่อให้เกิดภาระรับผิดในเหตุการณ์รัฐประหารและการโจมตีประชาชน รัฐบาลทหารจะต้องกลับการกระทำของตน และปล่อยตัวทุกคนที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งรวมไปถึง นางออง ซาน ซู จี และนายอูวินมยิน ตลอดจนผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย สื่อมวลชน ผู้นำภาคประชาสังคม นักเคลื่อนไหว และชาวต่างชาติ จะต้องมีการเปิดทางให้ผู้ดำเนินความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าถึงประชาชนได้โดยไม่ถูกกีดขวาง และรัฐบาลทหารพม่าควรจะต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับทุกฝ่ายโดยทันทีเพื่อให้ประเทศกลับคืนสู่หนทางแห่งประชาธิปไตย ตราบใดที่รัฐบาลทหารพม่ายังคงไม่รับฟังเสียงเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน เราจะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการเพื่อให้กองทัพพม่าและผู้สนับสนุนชดใช้การกระทำของตน ถึงประชาชนพม่า เรายังไม่ลืมการต่อสู้ดิ้นรนของท่านทั้งหลาย และจะยังคงสนับสนุนความมุ่งมั่นโดยหาญกล้าในการนำประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมกลับคืนสู่มาตุภูมิของท่าน

อ่านเพิ่มเติม»

แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยสถานการณ์ในเมียนมา

แถลงการณ์ร่วมระหว่างผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งแอลเบเนีย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สาธารณรัฐเกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในโอกาสครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 กองทัพได้ยึดอำนาจในเมียนมา โดยปฏิเสธปณิธานที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยของชาวเมียนมา หนึ่งปีต่อมา รัฐประหารครั้งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประชาชนเมียนมา ผู้คนกว่า 14 ล้านชีวิตต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นประชาธิปไตยถูกตัดสิทธิ์ และเกิดความขัดแย้งกระจายไปทั่วประเทศ รัฐบาลทหารเป็นผู้ก่อให้เกิดสถานการณ์วิกฤตดังกล่าว ซึ่งบ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพของเมียนมาและภูมิภาคอย่างร้ายแรง เราจึงเรียกร้องอีกครั้งให้ยุติความรุนแรงโดยทันที และให้ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกโดยสันติวิธี เราย้ำข้อเรียกร้องของเราให้รัฐบาลทหารดำเนินการโดยทันทีเพื่อยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน อนุญาตให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้โดยไม่ถูกกีดขวาง ปล่อยตัวทุกคนที่ถูกคุมขังตามอำเภอใจ รวมถึงชาวต่างชาติ และให้ประเทศกลับคืนสู่กระบวนการประชาธิปไตยโดยเร็ว เนื่องในโอกาสครบรอบการรัฐประหาร เราจึงร่วมระลึกถึงผู้เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมไปถึงสตรี เด็ก ผู้ดำเนินความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และผู้ชุมนุมประท้วงโดยสงบ เราประณามการละเมิดและการกระทำผิดด้านสิทธิมนุษยชนในทั่วประเทศโดยรัฐบาลทหาร ซึ่งหมายรวมถึงการกระทำต่อชาวโรฮีนจา และชนกลุ่มน้อยด้านชาติพันธุ์และศาสนา เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อรายงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับกรณีการทรมาน ตลอดจนความรุนแรงทางเพศและด้วยเหตุแห่งเพศ เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้คนอีกกว่า 400,000 ชีวิตที่ต้องหลบหนีจากบ้านเรือนของตนนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร เรายังมีความกังวลอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ทวีความรุนแรงทั่วประเทศ และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเปิดทางให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วโดยไม่ถูกกีดขวาง ซึ่งรวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้คนจำนวนมากที่ถูกคุมขังตามอำเภอใจ และต่อการตัดสินโทษนางออง …

อ่านเพิ่มเติม»

ปาฐกถา “อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง” โดยนายแอนโทนี เจ. บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง รัฐมนตรีแอนโทนี เจ. บลิงเคน 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ดร.กุสุมายาติ: ท่านรัฐมนตรี ท่านเอกอัครราชทูต ท่านเลขาธิการอาเซียน ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย Universitas Indonesia และท่านประธานคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสหรัฐฯ-อินโดนีเซีย แขกผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน ก่อนอื่น ขอให้เรากล่าวสรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพที่ทรงประทานพรแก่เราให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และมั่งคั่งจนเราต่างสามารถมาประชุมกันที่นี่ในวันนี้ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งและขอต้อนรับทุกท่านสู่มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia เมืองเดปก มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานกล่าวปาฐกถาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แอนโทนี บลิงเคน ดังที่ชื่อของเราได้บ่งบอก มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia ภาคภูมิใจยิ่งที่ได้ใช้ชื่อประเทศเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เราตระหนักดีว่านี่เป็นทั้งอภิสิทธิ์และภาระรับผิดชอบของเรา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเราเน้นย้ำความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม รวมถึงแนวทางพัฒนาความรู้เหล่านี้เพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชนชาวอินโดนีเซียตามภาระหน้าที่ของเราที่มีต่อโลก ท่านผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ เราทุกคนต่างเผชิญปัญหานานาที่ทั้งซับซ้อนและมีผลกระทบกว้างไกล เช่น การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาเหล่านั้นไม่มีวิธีแก้ไขที่ได้ผลฉับพลัน …

อ่านเพิ่มเติม»

คำกล่าวในช่วงเปิดการประชุมเสวนาเชิงนโยบาย Track 1.5 ภายใต้กรอบหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ โดย เอกอัครราชทูต อาทุล เคชัป

คำกล่าวในช่วงเปิดการประชุมเสวนาเชิงนโยบาย Track 1.5 ภายใต้กรอบหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ โดย เอกอัครราชทูต อาทุล เคชัป หัวหน้าคณะรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก 18 มีนาคม 2564 ดังที่ปรากฏเป็นคำร่าง แม่น้ำโขงมีความสำคัญ ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มากล่าวในงานวันนี้ ซึ่งเป็นการสนทนาครั้งแรกภายใต้เวทีเสวนา Track 1.5 ที่สำคัญนี้ เราจะได้ฟังหลายฝ่ายในภูมิภาคพูดถึงการเสริมสร้างระบบการจัดการที่โปร่งใสและตอบสนองได้ดี การมารวมตัวกันเช่นนี้เป็นตัวอย่างแสดงถึงมุมมองของประธานาธิบดีไบเดนที่ว่า เราจะสามารถรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันได้ก็ด้วยการทำงานร่วมกันเท่านั้น ผมยังมีความยินดีที่เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่กลุ่มแรก ๆ ในรัฐบาลไบเดนที่ได้พูดถึงความสำคัญที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีต่อสหรัฐฯ ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรก ๆ รัฐมนตรีบลิงเคนให้คำมั่นว่าสหรัฐฯ จะยกระดับความร่วมมือของเรา ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ให้ทันสมัย ตลอดจนพัฒนาการตอบสนองที่เราต่างสามารถดำเนินการได้ต่อภัยคุกคามที่มีร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคโควิด-19 งานนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเป็นส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนของเราเพื่อความเป็นเอกภาพและความมั่งคั่งของอินโด-แปซิฟิกและอาเซียน สิ่งที่เราให้ความสนใจคือ การช่วยหุ้นส่วนในลุ่มน้ำโขงของเราเสริมสร้างธรรมาภิบาล ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมแนวทางที่โปร่งใสและยึดมั่นในกฎกติกาเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายข้ามพรมแดน แนวทางดังกล่าวปรากฏชัดเจนในการตอบสนองของเราต่อรัฐประหารในพม่า และการเรียกร้องของเราเพื่อให้กองทัพพม่าคืนสถานะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ปล่อยทุกคนที่ถูกคุมขังโดยไม่เป็นธรรม ยกเลิกการจำกัดการสื่อสาร รวมทั้งงดเว้นจากการใช้ความรุนแรง เราเชื่อว่าอาเซียนสามารถมีบทบาทสำคัญในการยุติวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้ หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เต็มไปด้วยพลัง และการส่งเสริมความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กับภูมิภาคนี้ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลไบเดนให้ความสำคัญยิ่ง ชาวอเมริกันกว่า 3.5 ล้านคนเป็นผู้อพยพหรือลูกหลานของผู้อพยพจากประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และบริษัทสหรัฐฯ กว่า 1,000 แห่งกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ในภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง เรายกระดับความร่วมมือของเรากับประเทศในภูมิภาคนี้ โดยคำนึงถึงครอบครัวผู้ทำงานในสหรัฐฯ และด้วยความเชื่อว่า …

อ่านเพิ่มเติม»

เปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

เอกสารข้อเท็จจริง สำนักงานโฆษก 14 กันยายน 2563 เมื่อวันที่ 11 กันยายน สหรัฐอเมริกา กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ได้เปิดตัวกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) เพื่อย้ำจุดยืนความสัมพันธ์ที่ยืนนานระหว่างกัน ในโอกาสนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศแผนการดำเนินงาน โดยร่วมมือกับสภาคองเกรส เพื่อยกระดับการสนับสนุนให้เกิดเอกราช ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล และการเติบโตที่ยั่งยืนในประเทศภาคีลุ่มน้ำโขง โดยตระหนักว่าการส่งเสริมคุณค่าเหล่านี้สำคัญต่อเอกภาพและประสิทธิภาพของอาเซียนด้วยเช่นกัน การยกระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ตลอดช่วงการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) ตั้งแต่ปี 2552-2563 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้มอบเงินช่วยเหลือประเทศภาคีลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศแล้วเกือบ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยครอบคลุมด้านต่อไปนี้ โครงการด้านสาธารณสุข 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ การเติบโตทางเศรษฐกิจ 734 ล้านเหรียญสหรัฐ สันติภาพและความมั่นคง 616 ล้านเหรียญสหรัฐ สิทธิมนุษยชนและธรรมภิบาล 527 ล้านเหรียญสหรัฐ การศึกษาและบริการด้านสังคม …

อ่านเพิ่มเติม»

คำกล่าวในการเสวนาหัวข้อ “โอกาสและอนาคตทางธุรกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง” ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum โดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

คำกล่าวในการเสวนาหัวข้อ “โอกาสและอนาคตทางธุรกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง” ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum โดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี คำกล่าวเปิด สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน ยินดีต้อนรับสู่การเสวนาหัวข้อ “โอกาสและอนาคตทางธุรกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง” ครับ ผม ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย‍ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมกับทุกท่านในงานวันนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม Indo-Pacific Business Forum เวทีธุรกิจสำคัญในเอเชียที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน และในปีนี้มีรัฐบาลเวียดนามเป็นเจ้าภาพร่วม ผมขอขอบคุณผู้จัดและเจ้าภาพที่ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงในช่วงสถานการณ์อันยากลำบาก ผมได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มาเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ได้แก่ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศกัมพูชา แพทริค เมอร์ฟี, เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศลาว ปีเตอร์ เฮย์มอนด์, เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศเวียดนาม แดเนียล เจ. คริเทนบริงค์ และอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศเมียนมา เกว็น คาร์ดโน สำหรับรูปแบบการดำเนินรายการนั้น ท่านทูต อุปทูต และผมจะผลัดกันอภิปรายกันคนละประมาณ 5 นาที โดยจะพูดถึงบรรยากาศในปัจจุบันและอนาคตทางธุรกิจของประเทศที่เราปฏิบัติหน้าที่อยู่ …

อ่านเพิ่มเติม»

คำกล่าวปิดการประชุม Indo-Pacific Conference ผ่านระบบออนไลน์ ว่าด้วยการเสริมสร้างการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน โดย เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี

คำกล่าวปิดการประชุม Indo-Pacific Conference ผ่านระบบออนไลน์ ว่าด้วยการเสริมสร้างการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน โดย เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ก่อนอื่น ผมขอกล่าวขอบคุณ คุณสทู ลิเม และทีมผู้จัดงานจากศูนย์ East-West Center ขอขอบคุณท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีสติลเวลล์ ตลอดจนเพื่อนร่วมงานจากกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงพวกท่านทุกคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากทั่วเอเชียและทั่วโลก ที่มาประชุมร่วมกันในวันนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและช่วยกันสร้างอนาคตที่มั่งคั่งยิ่งขึ้นให้แก่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ยินท่านเลขาธิการ สมเกียรติ ประจำวงษ์ กล่าวถึงประเด็นที่มีความสำคัญว่าด้วยการทำให้แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแห่งความมั่งคั่ง ความเชื่อมโยง และความยั่งยืน สำหรับผมแล้ว การอภิปรายหารือกันในวันนี้เน้นย้ำไม่เพียงแต่ประเด็นความท้าทายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเร่งด่วนอย่างมากของการส่งเสริมข้อตกลงและสถาบันด้านการจัดการน้ำข้ามพรมแดนของเราด้วย ภัยแล้งในปีนี้ที่ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีสติลเวลล์ได้กล่าวถึงนั้นเป็นสัญญาณเรียกให้มีการดำเนินการ พวกเราในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาคได้เป็นพยานถึงการหาเลี้ยงชีพ ความเจริญมั่งคั่ง และชีวิตของผู้คนหลายสิบล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย งานนี้เป็นงานที่ยากลำบาก การสร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละประเทศในลุ่มน้ำโขงที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก จำเป็นจะต้องมีภาระรับผิดชอบ ความโปร่งใส การสนับสนุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเหนือสิ่งอื่นใดคือ จะต้องมีความไว้วางใจกัน ชิคาโก บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ที่เกรตเลกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก สหรัฐฯ และแคนาดาได้เผชิญกับความท้าทายมากมายเกี่ยวกับแหล่งน้ำเหล่านี้ แม้กระนั้นด้วยสถาบันที่มีความเข้มแข็งอย่างคณะกรรมาธิการร่วมนานาชาติ (International Joint Commission) ซึ่งกรรมาธิการเจน คอร์วินได้กล่าวถึงในวันนี้ ทำให้ในช่วงเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา …

อ่านเพิ่มเติม»

แม่น้ำโขง อธิปไตยลุ่มน้ำโขง และอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม่น้ำโขง อธิปไตยลุ่มน้ำโขง และอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำกล่าวโดย เดวิด อาร์. สติลเวลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เนื่องในโอกาสการประชุม Indo-Pacific Conference ผ่านระบบออนไลน์ ว่าด้วยการเสริมสร้างการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน 15 ตุลาคม 2563  (ดังที่ปรากฏเป็นคำร่าง) ขอบคุณครับคุณสทู ลิเม และศูนย์ East-West Center ตลอดจนผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านจากทั่วโลก ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นผู้เข้าร่วมมากหน้าหลายตา ซึ่งเดิมวางแผนมาประชุมกับเราในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่โรคระบาดใหญ่จะทำให้เราต้องเลื่อนการจัดงานออกไป ขอต้อนรับทุกท่าน รวมถึงผู้เข้าร่วมใหม่หลายท่านในวันนี้ด้วย เรามาร่วมประชุมกันด้วยตระหนักถึงความสำคัญของแม่น้ำต่อเศรษฐกิจ การหาเลี้ยงชีพ วัฒนธรรม ไปจนถึงอารยธรรมของเรา ด้วยแม่น้ำคือบริเวณที่บรรพบุรุษของเราในยุคแรกเริ่มมารวมตัวกันเป็นสังคม น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต ผู้เฒ่าผู้แก่จึงได้ตระหนักและเคารพความสำคัญของแม่น้ำ แม่น้ำมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อสังคม เกษตรกรรม ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรกเริ่ม โลกเราจะมีโฉมหน้าเป็นอย่างไรหากปราศจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งขนาบข้างด้วยแม่น้ำยูเฟรติสและไทกริสที่ยิ่งใหญ่ ดินแดนอียิปต์โบราณจะก่อกำเนิดขึ้นหรือไม่หากไม่มีความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์หล่อเลี้ยง อารยธรรมฮารัปปาได้สูญสิ้นลงเพราะแม่น้ำสุรัสวดีเหือดแห้งและหายไปใช่หรือไม่ กรุงลอนดอนจะเป็นเมืองหลวงระดับโลกได้หรือหากไม่มีแม่น้ำเทมส์ หรือนครนิวยอร์กจะเป็นอ่าวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราได้หรือหากไม่มีแม่น้ำฮัดสัน การประชุมนี้เดิมทีควรจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเหนือเมืองหลวงแห่งนี้ขึ้นไปอีก 100 ไมล์ บนแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีอยุธยาอันเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตเคยประทับอยู่ และในปัจจุบัน ริมฝั่งแม่น้ำสายเดียวกันนี้ก็เป็นที่ตั้งของมหานครที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย แม่น้ำทำให้บรรพบุรุษของเราแต่โบราณได้มารวมตัวกัน …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกาและอาเซียนร่วมมือกันเอาชนะโรคโควิด-19 สร้างการฟื้นตัวในระยะยาว และส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สหรัฐอเมริกาและอาเซียนร่วมมือกันเอาชนะโรคโควิด-19 สร้างการฟื้นตัวในระยะยาว และส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แถลงการณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563 บรรดาสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของเรามายาวนาน ดังที่เราร่วมมือกันรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวางแผนสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เราให้คำมั่นว่าจะคงความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อเอาชนะการแพร่ระบาดครั้งนี้ และจะกลับมาร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใสให้ภูมิภาคนี้ต่อไป สหรัฐฯ ขอขอบคุณหุ้นส่วนในอาเซียนของเราที่ช่วยสนับสนุนอย่างมากในการลำเลียงเวชภัณฑ์ที่จำเป็นไปยังสหรัฐฯ ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่เที่ยวบินรับส่งบุคคลกลับภูมิลำเนาของเรา ตัวอย่างเช่น เวียดนามเร่งขั้นตอนการอนุญาตเที่ยวบินเช่าเหมาลำเพื่อขนส่งชุดป้องกันส่วนบุคคลจำนวน 2.2 ล้านชุดไปยังสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะมีการขนส่งชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เพิ่มเติมในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน มาเลเซียได้อำนวยความสะดวกในการจัดส่งถุงมือสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขในสหรัฐฯ กว่า 1.3 ล้านกิโลกรัมอย่างรวดเร็วฉับไว อีกทั้งกัมพูชายังช่วยชาวอเมริกันจากเรือสำราญเวสเตอร์ดัมให้เดินทางกลับประเทศโดยสวัสดิภาพด้วย สหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนอย่างล้นหลามแก่ชาติสมาชิกอาเซียนเพื่อช่วยรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้ทุกประเทศเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างครบถ้วนโปร่งใส ความโปร่งใสช่วยรักษาชีวิตคนขณะที่การปกปิดข้อมูลนำพาชีวิตสู่ความเสี่ยง ในการประชุมครั้งนี้ ผมมีความยินดีที่ได้ประกาศโครงการ U.S.-ASEAN Health Futures ซึ่งมุ่งยกระดับการดำเนินงานความมั่นคงด้านสุขภาพผ่านการศึกษาวิจัย การสาธารณสุข และการอบรมบุคลากรด้านสาธารณสุขของอาเซียน จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ได้จัดสรรทุนช่วยเหลือฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกว่า …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนอาเซียนต่อสู้โรคโควิด-19

เอกสารข้อเท็จจริง สำนักงานโฆษก วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ในฐานะผู้นำด้านการสาธารณสุขของโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด-19 สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนมิตรประเทศอาเซียนของเราในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรค รัฐบาลสหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและด้านมนุษยธรรม มูลค่าประมาณ 18.3 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2563 สหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือเบื้องต้นในด้านดังกล่าวมูลค่าเกือบ 274 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับนานาประเทศที่ขาดแคลน อันเป็นจำนวนที่นอกเหนือไปจากเงินช่วยเหลือที่เราได้มอบให้กับองค์การพหุภาคีต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก และองค์การยูนิเซฟ เงินช่วยเหลือจำนวนนี้ประกอบไปด้วยความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินมูลค่าเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านกองทุนสำรองเพื่อการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับโลก (Global Health Emergency Reserve Fund) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านบัญชีความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติระดับสากล (International Disaster Assistance) ของ USAID ซึ่งจะมอบให้กับประเทศต่างๆ ที่กำลังเผชิญความเสี่ยงสูงสุดจากภัยคุกคามของโรคระบาดระดับโลกนี้ เป็นจำนวนสูงถึง 64 ประเทศ นอกจากนี้แล้ว สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ …

อ่านเพิ่มเติม»

ร่วมเดินทางไปกับเราไปที่ประเทศลาวและกัมพูชา เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจด้านการเกษตร

สถานทูตสหรัฐขอเรียนเชิญคณะนักธุรกิจด้านการเกษตรและการแปรรูปอาหารร่วมเดินทางประเทศลาวและกัมพูชา ระหว่างวันที่ 4 ถึง 7 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2563 กลุ่มเป้าหมายของเราคือ บริษัทอเมริกันที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการด้านการเกษตร บริษัทในประเทศไทยเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าจากสหรัฐอเมริกา สินค้าจากประเทศสหรัฐครอบคลุมดังต่อไปนี้ : เมล็ดพันธ์พืชและผลิตผลทางการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง อาหารและยาสำหรับปศุสัตว์ ระบบชลประทาน เครื่องจักรการเกษตร ห้องเย็น เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร เครื่องจักรแปรรูปอาหาร และเครื่องจักรบรรจุภัณท์สำหรับใช้ในโรงงานอาหาร โรงงานแปรรูป โรงสี ไฮไลท์ของงาน การประชุมกับรัฐมนตรีเกษตรและพาณิชย์ของประเทศลาวและกัมพูชา การประชุม one-on-one กับนักธุรกิจประเทศลาวและกัมพูชา ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบริษัท งานเลี้ยงสังสรรค์กับนักธุรกิจชั้นนำในประเทศลาวและกัมพูชา ที่บ้านของเอกอัครราชทูตสหรัฐ สัมมนาและอภิปรายในหัวข้อต่างๆ และอาจมีการเยี่ยมชมโรงงาน ท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่  https://www.surveymonkey.com/r/AgDel2020 ถ้าท่านมีคำถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่คุณกรลักษณ์ ฝ่ายพาณิชย์ สถานทูตสหรัฐ ได้ที่ โทร 02-205-5242 หรือ 085-661-3442

อ่านเพิ่มเติม»

รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 สหรัฐอเมริกามอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่ารวมประมาณ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่องานด้านการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสหรัฐฯ และไทยที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ในโอกาสดังกล่าว กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ ร่วมกับนายจอห์น กรินดีน หัวหน้าสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ ประจำเชียงใหม่ เป็นผู้มอบอุปกรณ์ให้กับพล.ต.ต.พรชัย เจริญวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สหรัฐฯ มอบให้ไทย อาทิ แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Dell จำนวน 17 เครื่อง และคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะยี่ห้อ Dell จำนวน 7 เครื่อง เพื่อให้หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจร่วมไทย-สหรัฐฯ ได้ใช้งานเพื่อต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดในไทย ซึ่งหน่วยสืบสวนพิเศษ (SIU) สำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA) ประจำเชียงใหม่นี้ เป็นหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจที่ผ่านการคัดสรรและคัดกรอง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และหน่วยปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรภาค 5 ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่สืบสวนพิเศษและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์การข่าวของ DEA ทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ SIU ทั้งในฐานะเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำด้านการสืบสวนสอบสวน …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกากับอาเซียน: ขยายขอบเขตความเป็นหุ้นส่วนอันยืนนาน

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที เอกสารข้อมูล วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สหรัฐอเมริกากับอาเซียน: ขยายขอบเขตความเป็นหุ้นส่วนอันยืนนาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา สหรัฐฯ ชื่นชมมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo-Pacific) และยินดีที่ทัศนะของอาเซียนกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ นั้นมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งชื่นชมแนวทางระดับภูมิภาคของพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา สหรัฐอเมริกามีเจตจำนงยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราปกป้องอำนาจอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกาในด้านความร่วมมือรูปธรรมใน 4 สาขาตามมุมมองของอาเซียน อันได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางทะเล และความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงนั้น สัมพันธภาพแห่งความร่วมมือกับสหรัฐฯ พัฒนาใกล้ชิดยิ่งขึ้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในปี 2561 การค้าสองฝ่ายทั้งสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนมีมูลค่า 334,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 123,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียนมูลค่าสูงถึง 271,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งสูงกว่าการลงทุนของสหรัฐฯ …

อ่านเพิ่มเติม»

การเผยแพร่รายงานของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อินโด- แปซิฟิก

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที ข้อมูลสำหรับสื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 การเผยแพร่รายงานของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก เนื่องในโอกาสการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกายินดีที่จะเผยแพร่รายงานความคืบหน้าว่าด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์บูรณาการนโยบายและการทำงานของหน่วยงานทั้งส่วนกลางและระดับรัฐ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รายงาน “A Free and Open Indo-Pacific: Advancing a Shared Vision” (ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง: ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ร่วมกัน) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการริเริ่มระยะเวลา 2 ปีด้านการทูต เศรษฐกิจ การปกครอง และความมั่นคง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพันธกรณีที่ต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงแนวการดำเนินการของสหรัฐฯ ในการกระชับไมตรีระหว่างประชาชนและความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้สรุปส่วนสำคัญวิสัยทัศน์สำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ซึ่งทุกประเทศในภูมิภาคเจริญมั่งคั่งเคียงข้างกันในฐานะรัฐเอกราชที่ปกครองตนเอง วิสัยทัศน์นี้อยู่บนพื้นฐานของค่านิยมที่เป็นรากฐานแห่งสันติภาพและความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมาหลายชั่วอายุคน การค้าที่เสรี เป็นธรรม และต่างตอบแทนกัน สภาพแวดล้อมการลงทุนที่เปิดกว้าง …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  สำนักงานโฆษก สำหรับเผยแพร่ทันที เอกสารข้อมูล วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สหรัฐฯ แสดงศักยภาพการลงทุนที่มีคุณภาพสูง ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี 2562  ตัวแทนธุรกิจและผู้นำรัฐบาลกว่า 1,000 คน จากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พบปะกันในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อส่งเสริมมูลค่าการลงทุนที่มีคุณภาพสูง สนับสนุนความโปร่งใส หลักนิติธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำ ผู้บริหารของบริษัทสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมเกือบ 200 คน เป็นตัวแทนของบริษัทที่มีนวัตกรรม ทรงอิทธิพล และได้รับความไว้วางใจเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีรายได้รวมมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทเหล่านี้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมูลค่าปีละ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังช่วยให้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่สร้างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารของบริษัทกว่า 600 แห่งจากประเทศอื่นๆ …

อ่านเพิ่มเติม»

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สติลเวลล์ เยือนประเทศไทย

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สติลเวลล์ เยือนประเทศไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เดวิด อาร์. สติลเวลล์ เดินทางถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เพื่อเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยและองค์กรภาคประชาสังคม รวมทั้งประชุมทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศคู่เจรจาในภูมิภาคนอกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เป็นเวลารวม 4 วัน ในวันที่ 3-4 พฤศจิกายน ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ สติลเวลล์ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก พร้อมกันกับที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ โรเบิร์ต ซี. โอไบรอัน ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพิเศษและหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐฯ นอกจากนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ สติลเวลล์ จะเข้าร่วมการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี ครั้งที่ 2 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พร้อมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ วิลเบอร์ รอสส์ ด้วย ในการประชุมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ สติลเวลล์จะหารือถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย ซึ่งขยายขอบเขตออกไปในหลายด้าน รวมถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ …

อ่านเพิ่มเติม»

ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศตัวผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ ในการประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-สหรัฐอเมริกาและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศตัวผู้แทนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-สหรัฐอเมริกา และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก วันนี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ เจ. ทรัมป์ ประกาศการเข้าร่วมของสหรัฐอเมริกาในการประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-สหรัฐอเมริกา และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ณ กรุงเทพฯ ราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แต่งตั้งผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต ซี. โอไบรอัน เป็นผู้แทนพิเศษเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดดังกล่าว ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ สหรัฐฯ โอไบรอันจะเดินทางไปพร้อมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ วิลเบอร์ รอสส์ ซึ่งเป็นตัวแทนระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปี ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ รัฐมนตรีรอสส์จะนำคณะผู้แทนการค้าระดับสูงไปยังประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ระหว่างวันที่ 3-8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม YSEALI Summit ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ที่จังหวัดภูเก็ต

เอกสารข่าว สำหรับเผยแพร่ทันที วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) Summit ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ที่จังหวัดภูเก็ต กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จะเป็นเจ้าภาพจัด การประชุม Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) Summit  ประจำปี 2562 ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29 กันยายนถึง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยมีผู้นำรุ่นใหม่อายุตั้งแต่ 18 ถึง 35 ปี จำนวน 150 คน จากทั้ง 10 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และประเทศติมอร์-เลสเต เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ การประชุม YSEALI Summit ประจำปี 2562 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) โดยเน้นประเด็นการเติบโต นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ ในระหว่างการประชุม ผู้เข้าร่วมจะได้รับการฝึกอบรมระดับสูงด้านการเป็นผู้นำ ค้นหาวิธีขยายความร่วมมือในระดับภูมิภาค รวมทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างกันในภูมิภาค และกับผู้เยี่ยมเยือนจากสหรัฐฯ ในการประชุมครังนี้ยังจัดให้มีการตัดริบบิ้นเปิดงานนิทรรศการ “Common Tides” ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลา 75 ปีที่ผ่านมา “YSEALI เป็นโครงการอันโดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ …

อ่านเพิ่มเติม»

สหรัฐอเมริกากับอาเซียน – ความเป็นหุ้นส่วนอันยืนยาว

ด้วยจำนวนประชากร 650 ล้านคนและอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เฉลี่ยร้อยละ 5 มูลค่าเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งประชากรในวัยหนุ่มสาวที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศรวมกันจึงเป็นภูมิภาคที่เปี่ยมพลวัตที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก สหรัฐอเมริกาและอาเซียนทำงานร่วมกันตลอด 42 ปีที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ก่อนยกระดับเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ในปี 2558 ทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่า หลักการที่เชิดชูไว้ในมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด–แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) อันได้แก่ การมีส่วนร่วม การเปิดกว้าง การเป็นภูมิภาคซึ่งยึดถือหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ หลักการเหล่านี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ว่าด้วยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ตลอดจนแนวทางดำเนินการในภูมิภาคของพันธมิตร หุ้นส่วน และมิตรประเทศของสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันเข้มแข็งของสหรัฐฯ และอาเซียน เศรษฐกิจอันอุดมพลวัตและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงของอาเซียนทำให้อาเซียนเป็นตลาดการส่งออกและการลงทุนที่สำคัญของสหรัฐฯ อาเซียนคือจุดหมายปลายทางการลงทุนอันดับ 1 ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียน (ปริมาณการลงทุนรวมสะสม 329,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นั้นมากกว่าปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct …

อ่านเพิ่มเติม»

การเสริมสร้างความร่วมมือสหรัฐอเมริกา-แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงสำคัญต่อสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคนี้เป็นจุดหลักในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียน สหรัฐอเมริกาประสงค์ร่วมมือกับพันธมิตรลุ่มน้ำโขงของเราเพื่อผดุงซึ่งอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ความเป็นแกนกลางของอาเซียน และระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกา สายสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้นลึกซึ้งยิ่ง ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศลุ่มน้ำโขงกว่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรงของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้มีมูลค่าถึง 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 โดยเพิ่มขึ้นจาก 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทศวรรษก่อน มูลค่ารวมการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 109,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2561 สหรัฐฯ ส่งออกสินค้าไปยังประเทศในลุ่มน้ำโขง ซึ่งสร้างงานให้ชาวอเมริกันกว่า 1.4 ล้านตำแหน่งตั้งแต่ปี 2542 ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเครื่องจักร เป็นต้น ในปี 2561 …

อ่านเพิ่มเติม»

ปาฐกถาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ “สหรัฐอเมริกาในเอเชีย — ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเพื่อยังประโยชน์แก่ทุกฝ่าย”

ปาฐกถาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย  รัฐมนตรีปอมเปโอ: อรุณสวัสดิ์ครับทุกท่าน ขอบคุณครับปีเตอร์ที่ช่วยแนะนำผมให้ทุกคนได้รู้จัก ขอขอบคุณสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์และท่านนายกสยามสมาคมฯ ที่กรุณาเป็นเจ้าภาพ ผมยังทราบมาว่า วันนี้มีนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาอยู่กับเราในห้องนี้ ผมขอขอบคุณ คุณเกรก แบชชัน ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย ท่านจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร West Point ซึ่งน่าชื่นชมมาก ผมขอขอบคุณเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาท่านใหม่เป็นพิเศษที่กรุณามาร่วมงานกับเราในวันนี้ ขอบคุณครับท่านที่มางานนี้ และไม่มีใครจะเป็นแขกคนพิเศษไปกว่าซูซาน ภรรยาของผม ซูซานนั่งแถวหน้าเช่นกันครับ (เสียงหัวเราะ) เอาล่ะ ผมทำแต้มได้ ดีจัง (เสียงหัวเราะ) ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางเยือนกรุงเทพฯ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ผมเคยมากรุงเทพฯ แล้วครับ ผมได้มาภูมิภาคนี้หลายครั้งแล้ว ถือเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ ที่ได้มาที่นี่ ณ เวลานี้ สหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ยาวนานที่มีค่ายิ่งสำหรับเรา ดังที่ท่านอุปทูตฯ กล่าวไว้ว่า ความสัมพันธ์นี้ยืนยาวมาถึง 200 ปี และผมก็คิดว่า เราจะยังคงเป็นมิตรที่ดีต่อกันไปอีกสองศตวรรษ สถานที่ที่เรายืนอยู่ในวันนี้มีคติพจน์ คติพจน์ของสยามสมาคมฯ คือ …

อ่านเพิ่มเติม»

ถ้อยแถลงเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน–สหรัฐฯ

ถ้อยแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย รัฐมนตรีปอมเปโอ: ขอบคุณครับ ขอบคุณครับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขอบคุณที่เป็นประธานจัดการประชุมในวันนี้ และผมขอชื่นชมท่านรัฐมนตรีดอนในวาระที่ประเทศไทยทำหน้าที่ประธานอาเซียนอย่างประสบความสำเร็จ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนสำคัญประการหนึ่งของภารกิจของผมคือการประกาศต่อโลกว่าอเมริกาธำรงหลักการใด ตลอดหลายทศวรรษ ทิศทางการทูตของสหรัฐอเมริกาต่ออาเซียนนั้นกำหนดโดยความปรารถนาความร่วมมือบนพื้นฐานแห่งความเคารพในอำนาจอธิปไตยของทุกประเทศ ตลอดจนพันธกรณีร่วมกันต่อหลักนิติธรรมพื้นฐาน สิทธิมนุษยชน และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พันธกรณีเหล่านั้นรวมถึงความมุ่งมั่นต่อความเป็นแกนกลางของอาเซียนยังคงเป็นสิ่งที่รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ยึดถือ ผมยินดีมากที่เห็นว่า เมื่อเร็วๆ นี้อาเซียนได้จัดทำเอกสารมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่ส่งเสริมหลักการหลายประการ ซึ่งรวมถึงอธิปไตย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกา เช่นกัน ขอให้ท่านได้ทราบว่า สหรัฐฯ ไม่เคยขอให้ชาติใดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเลือกฝ่าย การที่สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาคนี้ไม่เคยอยู่และจะไม่อยู่ในรูปแบบเกมการแข่งขันที่ต้องมีแพ้-ชนะ สหรัฐฯ เพียงต้องการเชื่อมโยงกับประเทศของท่านทั้งหลายเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของเราเท่านั้น ขอบคุณครับ

อ่านเพิ่มเติม»

ถ้อยแถลงเปิดการประชุมรัฐมนตรีข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

ถ้อยแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย รัฐมนตรีปอมเปโอ: ขอบคุณครับท่านรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ผมขอขอบคุณประเทศไทยที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งนี้อันมีความพิเศษเนื่องด้วยเป็นวาระครบรอบหนึ่งทศวรรษของข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) สหรัฐอเมริกาภาคภูมิใจในบทบาทประเทศคู่ความร่วมมือตลอด 10 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานของพวกเราช่วยให้ประชาชน 340,000 คนเข้าถึงน้ำดื่มคุณภาพดีขึ้น เจ้าหน้าที่ ครูอาจารย์และนักเรียน 3,800 คนได้เข้ารับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค ประชาชน 27,000 คนสามารถเข้าถึงการสุขาภิบาลที่ดีขึ้น นอกจากนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 70 คณะยังได้สนับสนุนโครงการ 45 โครงการเพื่อพัฒนาความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย เหล่านี้คือผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงพันธกรณีของอเมริกาต่อความร่วมมือกับกลุ่มห้าประเทศลุ่มน้ำโขง สหรัฐฯ จะยังคงช่วยปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของท่าน สนับสนุนท่านสู่ความเฟื่องฟูด้านเศรษฐกิจ และพิทักษ์รักษาวัฒนธรรมตลอดจนสิ่งแวดล้อมอันอุดมของท่าน เรายึดถือเป้าหมายเหล่านี้ร่วมกันกับมิตรสหายและหุ้นส่วนมากมายในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Friends of the Lower Mekong) ที่วันนี้เพิ่งออกถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีเน้นย้ำแนวทางร่วมกันและแนวทางตามหลักการของเรา ทว่า ช่วงที่ผ่านมานี้ ผมเสียใจที่ต้องรายงานว่า เราพบแนวโน้มที่น่ากังวลบางประการ เราเห็นการก่อสร้างเขื่อนต้นน้ำหลายแห่งที่กระจุกการควบคุมกระแสน้ำที่ไหลมายังปลายน้ำ ระดับน้ำแม่น้ำโขงอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบทศวรรษ …

อ่านเพิ่มเติม»

คำกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐเกาหลี แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ในการหารือแบบตัวต่อตัว

สำนักงานเลขานุการฝ่ายสื่อมวลชน สำหรับเผยแพร่ทันที วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คำกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐเกาหลี แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ในการหารือแบบตัวต่อตัว ณ โรงแรมโซฟิเทล เลเจนด์ เมโทรโพล ฮานอย กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เวลา 18.33 น. เวลาอินโดจีน ประธานคิม: (ตามที่ล่ามแปล) เป็นเวลา 261 วันพอดีนับตั้งแต่เราได้พบกันครั้งสุดท้ายที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์: ใช่ครับ ประธานคิม: (ตามที่ล่ามแปล) และผมเชื่อว่า การประชุมของเราในวันนี้ซึ่งมีความสำคัญและประสบความสำเร็จยิ่งเป็นผลจากการตัดสินใจที่ห้าวหาญ — การตัดสินใจทางการเมืองของคณะทำงานของท่าน ท่านประธานาธิบดี ในช่วงเวลา 261 วันนับตั้งแต่เราพบกันครั้งก่อน มีความเข้าใจผิดบางประการเกิดขึ้น มีสายตาหลายคู่จากทั่วโลกที่เข้าใจสถานการณ์นี้ผิดไป แต่ — อีกทั้ง ยังมีความเป็นปรปักษ์จากภายนอกอันสืบเนื่องจากช่วงเวลาในอดีตอันไกลโพ้นหลงเหลืออยู่บ้าง ประธานาธิบดีทรัมป์: ถูกต้องครับ ประธานคิม: (ตามที่ล่ามแปล) อย่างไรก็ดี เราผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายเหล่านั้นมาได้ …

อ่านเพิ่มเติม»

คำแถลงการณ์ร่วมของประธานาธิบดีทรัมป์และประธานคิม จอง อึน ณ การประชุมสุดยอดที่ประเทศสิงคโปร์

คำแถลงการณ์ร่วมของประธานาธิบดีโดนัลด์ เจ. ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา และ นาย คิม จอง อึน ประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐเกาหลีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ณ การประชุมสุดยอดที่ประเทศสิงคโปร์ ประธานาธิบดีโดนัลด์ เจ. ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกาและนาย คิม จอง อึน ประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐเกาหลีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People’s Republic of Korea หรือ DPRK) ได้จัดการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ. ศ. 2561 ประธานาธิบดีทรัมป์และประธานคิม จอง อึนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างครอบคลุม ละเอียดและตรงไปตรงมาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสถาปนาความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนเกาหลีและการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งในคาบสมุทรเกาหลี ประธานาธิบดีทรัมป์ให้สัญญาว่าจะรับประกันความมั่นคงต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และประธานคิมจอง อึนได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่แน่วแน่และไม่เปลี่ยนแปลงในการที่จะทำให้คาบสมุทรเกาหลีปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยความเชื่อที่ว่าการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนเกาหลีจะก่อให้เกิดสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในคาบสมุทรเกาหลีและทั่วโลก และการตระหนักถึงการสร้างความเชื่อมั่นที่มีร่วมกันจะสามารถส่งเสริมให้คาบสมุทรเกาหลีปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ประธานาธิบดีทรัมป์และประธาน คิม จอง อึนจึงได้แถลงการณ์ดังต่อไปนี้: สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนเกาหลีมุ่งมั่นที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนเกาหลีขึ้นใหม่ตามความปรารถนาของประชาชนของทั้งสองประเทศเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนเกาหลีจะร่วมกันดำเนินการเพื่อสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและมั่นคงบนคาบสมุทรเกาหลี เพื่อเป็นการย้ำจุดยืนตามปฏิญญาปันมุนจอมที่ลงนามไว้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนเกาหลีมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อทำให้คาบสมุทรเกาหลีปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนเกาหลีมุ่งมั่นที่จะค้นหาศพของเชลยศึกและชาวอเมริกันที่สูญหายในสงคราม …

อ่านเพิ่มเติม»

โครงการ East Asia Teaching Excellence and Achievement (TEA) Alumni Workshop

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา อุปทูตปีเตอร์ เฮย์มอนด์ ให้การต้อนรับศิษย์เก่าในโครงการ East Asia Teaching Excellence and Achievement (TEA) Alumni Workshop จำนวน 63 คนสู่กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมโครงการมีทั้งครูจากประเทศกัมพูชา ลาว มองโกเลีย ไทย และเวียดนาม ตลอดระยะเวลา 2 วัน ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมแบ่งปันความสำเร็จตั้งแต่ได้เข้าร่วมโครงการมา และยังได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม»

การประชุม Regional Consultation Toward a Southeast Asia Framework for Zika Virus Preparedness and Response

รักษาการอัครราชทูตที่ปรึกษาเฮนรี่ จาร์ดีนได้กล่าวเปิดการประชุมเรื่องไวรัสซิก้าที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม โดยเป็นการประชุมระดับภูมิภาคครั้งแรกที่จัดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องไวรัสซิก้า ซึ่งเป็นสาเหตุของความผิดปกติบางประการในเด็กแรกเกิดหากแม่ติดเชื้อดังกล่าวในระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนการจัดประชุมนี้ผ่านทางองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) ร่วมกับรัฐบาลไทย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเฝ้าระวังและรับมือกับไวรัสซิก้า

อ่านเพิ่มเติม»

งาน Connecting Asia: A Regional Consultation on ICT, HIV, MSM and Getting to the 90-90-90 Targets

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์เปิดงานประชุมเพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสตรีข้ามเพศเกี่ยวกับบริการป้องกัน การตรวจหาและการรักษาโรคเอดส์/เชื้อเอชไอวี การประชุมครั้งนี้มีระยะเวลาสามวันและได้รับการสนับสนุนจากแผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (PEPFAR) องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) โดยมีผู้ร่วมประชุมกว่า 150 คนจาก 22 ประเทศในเอเชีย ผู้เข้าร่วมประชุมอภิปรายถึงเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและแสวงหาหนทางสร้างสรรค์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อลดการตีตราและขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านเอชไอวีสำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและชุมชนคนข้ามเพศในเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูง ในโอกาสนี้ ผู้ร่วมประชุมได้หารือแนวทางที่เทคโนโลยีสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมาย 90-90-90 ของ UNAIDS ภายในปี พ.ศ. 2563 กล่าวคือ ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง ร้อยละ 90 ของผู้ที่ทราบว่าตนติดเชื้อเอชไอวีได้เข้ารับการรักษา และร้อยละ 90 ของผู้ที่เข้ารับการรักษามีระดับเชื้อเอชไอวีต่ำลงจนตรวจไม่พบ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ

อ่านเพิ่มเติม»

เอกอัครราชทูตเดวีส์ขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรม TechCamp Thailand

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม เอกอัครราชทูตเดวีส์ขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรม TechCamp Thailand ทั้ง 60 คนจากประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลอดสองวันที่ผ่านมา ผู้ร่วมอบรมได้มีโอกาสเรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและระดับภูมิภาคกว่า 15 คนว่าด้วยแนวทางการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพและการสานเสวนาในชุมชนท้องถิ่น สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาจะคัดเลือกและมอบเงินลงทุนระยะเริ่มต้นแก่โครงการเทคโนโลยีของผู้ร่วมอบรมทั่วภูมิภาคต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม»

พิธีเปิดงาน “TechCamp Thailand”

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ กล่าวเปิดงาน “TechCamp Thailand” ภายใต้หัวข้อ “Promoting Peace and Dialogue through Technology” ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยให้การสนับสนุน โดยการอบรมครั้งนี้ มีวิทยากรจากทั่วโลกมาแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น การศึกษาออนไลน์ แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมออนไลน์ ตลอดจนการนำเสนอข่าวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หลังจากกล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรมจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อัครราชทูตเฮย์มอนด์ได้ร่วมชมกิจกรรม “speed geeking”

อ่านเพิ่มเติม»

พิธีปิดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ 2017

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ และพลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ 2017 ซึ่งเป็นการฝึกร่วม/ผสมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชีย ในพิธีดังกล่าวยังมีพลเรือโท David Berger ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก มาร่วมงานพร้อมทั้งหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการฝึกครั้งนี้ คอบร้าโกลด์ 2017 เป็นการฝึกครั้งที่ 36 และประสบความสำเร็จยิ่งในการเสริมสร้างมิตรภาพและความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง 29 ประเทศที่ร่วมการฝึก ความสัมพันธ์อันดีที่เกิดขึ้นระหว่างการร่วมฝึกคอบร้าโกลด์และเทคนิคระดับพหุภาคีต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความแข็งแกร่งให้แก่ความร่วมมือในภูมิภาคนี้ โดยเพิ่มพูนสมรรถภาพของประเทศต่างๆ ที่ร่วมฝึกในการดำเนินงานปฏิบัติการร่วมกันอันเกี่ยวกับข้อกังวลด้านความมั่นคงที่มีร่วมกัน

อ่านเพิ่มเติม»

พิธีส่งมอบอาคารอเนกประสงค์ในโครงการช่วยเหลือประชาชน การฝึกคอบร้าโกลด์ 2017

เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ ร่วมกับพลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ เสนาธิการทหาร ร่วมเป็นประธานในพิธีส่งมอบอาคารอเนกประสงค์ในโครงการช่วยเหลือประชาชน การฝึกคอบร้าโกลด์ ๑๗ ณ โรงเรียนบ้านโนนเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา โดยการฝึกคอบร้าโกลด์ปีนี้มีโครงการก่อสร้างจำนวน ๖ โครงการ ในพื้นที่ ๖ จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ จันทบุรี และระยอง อาคารอเนกประสงค์ ณ โรงเรียนบ้านโนนเหลื่อมแห่งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา เป็นห้องสมุดของโรงเรียน ตลอดจนเป็นศูนย์สันทนาการสำหรับประชาชนในห้าหมู่บ้านรอบโรงเรียน โดยการก่อสร้างครั้งนี้เป็นผลงานของกำลังพลทหารช่างจากกองทัพไทย กองทัพสหรัฐ กองทัพจีน และกองทัพอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงแง่มุมการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนพลเรือนไทยอันเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกซ้อมทางทหารรหัส “คอบร้าโกลด์” ความสัมพันธ์อันดีที่เกิดขึ้นระหว่างทหารชาติต่างๆ ที่มาร่วมฝึกคอบร้าโกลด์เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคนี้

อ่านเพิ่มเติม»

พิธีเปิดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ 2017

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ พลเรือเอกแฮร์รี บี. แฮร์ริส จูเนียร์ ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก และพลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ 2017 คอบร้าโกลด์เป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียที่ไทยและสหรัฐอเมริการ่วมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น การฝึกซ้อมประจำปี พ.ศ. 2560 เป็นการฝึกครั้งที่ 36 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมกว่า 25 ประเทศ เน้นการรับมือปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคและทั่วโลก ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีเป้าหมายเสริมสร้างประสิทธิภาพความร่วมมือและประสานงานในภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศที่ร่วมการฝึกในการทำงานร่วมกันในปฏิบัติการระดับพหุภาคีที่ซับซ้อน เช่น การสร้างเสริมเสถียรภาพทางทะเล การป้องกันและบรรเทาภัยด้านสาธารณสุขที่อุบัติใหม่ และการดำเนินการตอบสนองภัยพิบัติทางธรรมชาติที่กินขอบเขตกว้าง พร้อมทั้งพัฒนาสมรรถนะของประเทศที่ร่วมการฝึกในการวางแผนและดำเนินงานปฏิบัติการร่วม/ผสม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ ตลอดทั่วภูมิภาค และเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันด้านความมั่นคงที่หลากหลาย การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์แสดงถึงพันธมิตรที่ยืนยงระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งพันธกรณีที่มีร่วมกันในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อ่านเพิ่มเติม»

การประชุมประจำปีของ Intellectual Property Criminal Enforcement Network (IPCEN)

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ กล่าวในการประชุมประจำปีของ Intellectual Property Criminal Enforcement Network (IPCEN) ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 IPCEN เป็นหนึ่งในโครงการที่มีความสำคัญสำหรับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริการวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศกลุ่มอาเซียนและเอเชียเหนือมาประชุมร่วมกันภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามอาชญากรรมขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา อัครราชทูตที่ปรึกษาเฮย์มอนด์กล่าวว่า “อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเป็นภัยคุกคามเรื้อรังที่กำลังก่อขยายตัวขึ้น ไม่ใช่เฉพาะต่อภูมิภาคนี้ แต่เป็นโลกใบนี้… อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาส่งผลโดยตรงต่อประเทศในภูมิภาคนี้ โดยบั่นทอนการคิดค้นนวัตกรรม ลดจำนวนรายได้ สร้างความเสียหายทางการเงินโดยตรงต่อธุรกิจและปัจเจกบุคคล ด้วยการปลอมแปลง การละเมิดลิขสิทธิ์ การฉ้อโกง และการขโมยความลับทางการค้า ทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค”

อ่านเพิ่มเติม»

งานสัมมนา The Empowering Ideas Forum

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา The Empowering Ideas Forum ที่กรุงเทพมหาคร ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้ให้การสนับสนุน งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผู้บริหารและนักคิดนักวิจัยระดับคลังสมองกว่า 100 คนจาก 19 ประเทศมาร่วมอภิปรายถึงศักยภาพของผู้มีความสามารถดีเด่นของภูมิภาคนี้ในฐานะที่เป็นกลไกเพื่อสันติภาพและการพัฒนา ตลอดจนสัมมนานโยบายต่างประเทศสำคัญที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยในงาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อผู้ร่วมสัมมนาด้วย อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ กล่าวว่า “กลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในสังคมและปกติจะมีอิทธิพลมากต่อกระบวนการกำหนดนโยบาย… บุคคลที่เป็นคลังสมองจะทำหน้าที่ชี้ประเด็นสำคัญและเสนอนโยบายต่างๆ ตลอดจนเป็นแหล่งความรู้ความเชี่ยวชาญหรือบุคลากรที่มีคุณค่าของรัฐบาล และให้ความรู้ต่างๆ แก่สาธารณชน”

อ่านเพิ่มเติม»

การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่สอง

(7 กุมภาพันธ์ 2560) เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ กล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสำนักงานกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฏหมายระหว่างประเทศ (INL) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และสำนักงานศาลยุติธรรมของไทยจัดขึ้น ครั้งนี้มีผู้พิพากษาจากกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า บรูไน ภูฏาน สิงคโปร์ และไทย มาร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ควรพิจารณาเมื่อวินิจฉัยคดีที่มีความซับซ้อนประเภทนี้ เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวว่า “อาชญากรรมไซเบอร์เป็นภัยคุกคามที่กำลังขยายตัวขึ้น ไม่ใช่เฉพาะต่อภูมิภาคนี้ แต่เป็นโลกใบนี้… สหรัฐอเมริกามุ่งมั่นร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศตลอดจนบทเรียนเกี่ยวกับการต่อสู้กับภัยคุกคามระดับโลกอย่างอาชญากรรมไซเบอร์”

อ่านเพิ่มเติม»

งานเลี้ยงรับรอง YSEALI Alumni Thematic International Exchange Seminar

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรอง ณ บ้านพัก เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำเยาวชนอาเซียน 40 คนที่เข้าร่วมสัมมนา YSEALI Alumni Thematic International Exchange Seminar (TIES) งานสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมกัน ตลอดจนแสวงหาแนวทางสร้างแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การดำเนินการเชิงบวกในชุมชน การอาสาสมัคร และการขับเคลื่อนระดับรากหญ้าในชุมชนท้องถิ่นทั่วอาเซียน

อ่านเพิ่มเติม»
แสดงมากขึ้น ∨