เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563 เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

อ่านเพิ่มเติม»

การถึงแก่มรณกรรมของเอกอัครราชทูตจอห์น กุนเธอร์ ดีน

เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยร่วมรำลึกถึงเอกอัครราชทูตจอห์น กุนเธอร์ ดีน ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 สิริอายุได้ 93 ปี เอกอัครราชทูตดีนดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ. 2524-2528 เอกอัครราชทูตดีนได้อุทิศชีวิตและการทำงานของท่านเพื่อสาธารณชน โดยประจำการในกองทัพระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และในเวลาต่อมาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานฟื้นฟูบูรณะหลังสงครามทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย ก่อนที่จะเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตของสำนักงานบริการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย เอกอัครราชทูตดีนได้สร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อสัมพันธภาพระหว่างสหรัฐฯ และไทย ในด้านความมั่นคง การแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา และการพัฒนา เอกอัครราชทูตดีนเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในปี 2499 โดยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศต่างๆ รวม 5 วาระตลอดชีวิตการทำงานอันยาวนานและโดดเด่นของท่าน เอกอัครราชทูตดีนจากไปโดยทิ้งภรรยา นางมาร์ทีน บุตรสาว นางแคเธอรีน เคอร์ทิส บุตรชายสองคนคือ นายพอลและนายโจเซฟ รวมทั้งหลานอีกเจ็ดคน ไว้เบื้องหลัง

อ่านเพิ่มเติม»

ประวัติทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

หากจะซาบซึ้งถึงคุณค่าของทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เราต้องเข้าใจถึงบุคคลและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่แปลงเปลี่ยนท้องนาห่างไกลพระนครมาเป็นบ้านพักที่ร่มรื่นในปัจจุบัน พื้นที่ที่ยังไม่พัฒนาด้านตะวันออกของพระนคร ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 คริสตศก พื้นที่ทางตะวันออกของรัตนโกสินทร์เต็มไปด้วยทุ่งนาเขียวขจี มีลำคลองน้อยใหญ่ลัดเลี้ยวและสวนผักขนาดเล็กกระจายโดยทั่วไป นาย Franklin Hurst ชาวอังกฤษยื่นหนังสือต่อราชสำนักสยามเสนอให้จัดสร้างสนามม้าแข่งและสนามกีฬาในพื้นที่ชนบทนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างสโมสรขึ้นในปี พ.ศ. 2444 ภายใต้ชื่อ Royal Sports Club (รอยัลสปอร์ตคลับ) ในขณะนั้น นายเลิศ เศรษฐบุตร นักธุรกิจเชื้อสายไทย-จีน มีวิสัยทัศน์ว่า บริเวณทุ่งนากว้างใหญ่นี้น่าจะเป็นถิ่นบ้านพักอาศัย และเพื่อสร้างบรรยากาศละแวกนี้ให้ร่มรื่นมีเสน่ห์ นายเลิศจึงนำเข้าต้นจามจุรีจากบราซิลมาหลายร้อยต้น ทำให้พื้นที่แถบนี้มีทัศนียภาพแตกต่างจากมุมอื่นๆ ของพระนคร นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสซึ่งทำหน้าที่เป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนักพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความเห็นเหมือนกับนายเลิศ จึงสร้างบ้านโอ่โถงบนพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งปัจจุบันคือ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ การเติบโตของพระนครจะเห็นได้จากประวัติของนายโฮเรชีโอ วิกเตอร์ เบลีย์ (Horatio Victor Bailey) วิศวกรชาวอังกฤษ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2456 นายเบลีย์ก็กลายเป็นชาวพระนครที่รู้จักคนกว้างขวางด้วยทำงานให้กับบริษัท Bangkok Dock Company และภายหลังก็เป็นวิศวกรใหญ่ของสำนักกษาปณ์ ต่อมา นายเบลีย์ได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและบริษัทนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ในฐานะผู้จัดการดูแลทรัพย์สินของรอยัลสปอร์ตคลับและชื่นชอบการขี่ม้า นายเบลีย์รู้สึกติดใจภูมิทัศน์ของบริเวณรอบๆ …

อ่านเพิ่มเติม»
แสดงมากขึ้น ∨